วันอังคารที่ 29 มิถุนายน พ.ศ. 2564

 

ตำนานพญานาค สร้างแม่น้ำโขง




            ก่อนที่จะถึงยุค "โยนกนาคพันธุ์สิงหนวัติ"  มีตำนานเก่าแก่ ได้กล่าวถึงดินแดนอันเป็นที่ตั้งของนครโบราณ อันเป็นปฐมบท มูลเหตุประเทศในเขตแดนล้านนา และลุ่มแม่น้ำโขงแห่งนี้  มีความว่า.... เมื่อคราวที่น้ำท่วมโลก ในโบราณกัป แล้วภัทรกัปก็เกิด ตั้งขึ้นใหม่ กาลต่อมา น้ำก็ได้ลดน้อยถอยลงไปเรื่อย ๆ พื้นดินโลก ก็แห้งลงตามลำดับ  ที่ดอนเขินก็ผุดขึ้นเป็นภูเขา ที่ราบลุ่มก็ยังเป็นห้วง บ่อน้ำน้อยใหญ่เป็นแห่ง ๆ  ในกาละนั้นในประเทศหนบูรพานี้

            มีห้วงน้ำใหญ่อยู่ในแคว้นมิถิลา ห้วงหนึ่งมีปริมณฑลได้ 14 โยชน์ ถัดนั้นลงมาทิศทักษิณ ระยะทางคนเดิน 1 เดือน ก็มีห้วงน้ำใหญ่ มีปริมณฑลกว้างได้ 5 โยชน์ ถัดนั้นมา ห้วงน้ำก็กว้างขึ้น ระยะคนเดินทางสองเดือนครึ่ง มีห้วงน้ำใหญ่ กว้างกึ่งโยชน์ ยาวหนึ่งโยชน์

            มณฑล ดินแดนถิ่นนี้ ยังมีนาคราช 2 ตัว ชื่อว่า ศรีสัตนาคะ ตัวหนึ่ง มีอำนาจ มีบริวาร 7 โกฏ และ อีกตัวหนึ่ง มีนามว่า นหุตนาคะ สองนาคานี้ ล้วนแต่ เป็นใหญ่ใน นครหนองกระแส  นาคราชทั้งสองนี้ เป็นสหายกัน ได้พากันขุดควัก ช่องน้ำเป็นลำคลองมา ตั้งแต่ ปัญจมหานทีที่ 4 คือว่าแม่น้ำมหิ ให้น้ำไหลถั่งมาเป็นกระแสลงมา ถึงห้วงน้ำใหญ่แห่งหนึ่ง จึงมีนามว่า หนองกระแสหลวง (เมืองหนองแส ฮุนหนำ) ห้วงน้ำที่สองว่า หนองกระแสน้อย  น้ำในหนองกระแสหลวง นั้นแตกเป็นแม่น้ำใหญ่ไหลลงอาคเนย์ ไปต่อนน้ำมหาสมุทรหลวง น้ำนั้นจึงชื่อว่า น้ำแม่แตกหลวง

            ส่วนน้ำในกระแสน้อย ก็ไหลไปต่อน้ำแม่แตกน้อย  ภายหลังเมื่อตั้งเป็นนิคมขึ้น จึงได้ชื่อว่าจุฬนีนคร ยังห้วงน้ำที่สาม อยู่หนอาคเนย์เฉียงทักษิณ มีห้วยน้ำใหญ่ไหลมาแต่ทิศประจิม ปลายห้วยนั้นมีแผ่นศิลาดาดสัญฐาน ดังสาดกะลา เหตุนั้นจึงเรียกว่าแม่น้ำสาด น้ำนั้นไหลมาหลายทาง ไหลมาลงที่หนองใหญ่ในทิศหรดี

            เหตุที่แม่น้ำใหญ่ ไหลมารวมกัน กับห้วยน้อย นั้นจึงชื่อว่า "กุกนัทธี" หมาย คือแม่น้ำกกอันเป็นที่ตั้งเมืองเชียงราย  ถัดไปด้านเหนือน้ำกก มีแม่น้ำ สายหนึ่งไหลออกจากถ้ำ มีรูปสิงห์ทองคำตัวหนึ่ง จึงได้ชื่อว่า "ห้วยแม่คำ" เหนือห้วยแม่คำขึ้นไป ก็มีน้ำห้วยหนึ่งไหลออกจากผา มีรูปเหมือนพลวงช้าง จึงมีชื่อว่า "น้ำห้วยพลวง"  และถัดนั้นมีสระหนองน้อยอยู่หนอิสาน มีทางเงือก หรือจระเข้ ขุดควักมาแต่ภูเขา มาทะลุหนองนั้น ชื่อว่า "ห้วยรี "

            ถัดนั้นไป มีหนองน้อยอีก หนองนึ่ง มีทางเงือกขุดควักมา แต่ผาแตกกึ่งมาบรรจบหนองน้อยจึงชื่อว่า "ห้วยผากึ่ง" จากหนองนั้นไปทิศประจิม 50 วา มีถ้ำอันหนึ่งชื่อว่า "ถ้ำกุมภ์" เหตุว่ามีหม้อทิพย์อยู่ 4 หม้อ อันเทพดาเนรมิตไว้ ภายในถ้ำนั้น ไว้เป็นน้ำฉันสำหรับพระพุทธเจ้าทั้ง 5 พระองค์ อันจะมาอุบัติในภัทรกัปนี้   

            เมื่อครั้ง พระพุทธเจ้า กกุสันโธ เสด็จมาฉันน้ำในถ้ำนี้ ได้พยากรณ์ว่า กาลเมื่อภัทรกัปตั้งได้ 7 อสงไขย เศษแสนปี  จักมีพระยาศรีสัตนานาคราช อยู่หนองกระแสหลวงมาขุดควักหนองนี้เป็นแม่น้ำใหญ่ ไหลล่องไปถึงมหาสมุทร ภายหน้าจักมีพระยาต๋นหนึ่ง มีบุญญาธิการยิ่งนัก หากได้มาตั้งมหานครที่ตำบลหนองนี้

            เมื่อพระพุทธเจ้า กกุสันโธ พยากรณ์ไว้ฉะนี้ ล่วงกาละมา พระยานาคราชทั้งสองคือ ศรีสัตนานาคราช และนหุตนาคราช  ได้เกิดทะเลาะวิวาทกันด้วยเหตุ  วันหนึ่งพระยาศรีสัตนาคราชได้ กุญชร (ช้าง) มาเป็นอาหาร ก็ได้แบ่งเนื้อกุญชรให้นหุตนาคราช สองเพื่อนรัก ก็ยังรักกันดี

            ต่อมา ฝ่าย นหุตนาคราช ก็ได้เม่น มาเป็นอาหาร  ก็จึงได้แบ่งเนื้อเม่นและหนังเม่นแก่ศรีสัตนาคราช เช่นกัน  ฝ่ายพระยาศรีสัตนาคราชได้เห็นชิ้นเนื้อ ของเม่น แล้วว่ามีน้อย มีแต่หนัง และขนก็แข็ง เป็นขวากหนาม ไม่สมควรบริโภค จึงโกรธแค้นสหาย

            ด้วยความไม่พอใจนี้ จึงได้ยกพลบริวารกระทำยุทธนาการกัน ปรากฏว่า นหุตนาคราชเป็นฝ่ายชนะ ฝ่าย พระยาศรีสัตนาคราช จึงได้พาบริวาร หลบหนีจากหนองกระแสใหญ่ ขุดควัก แผ่นดิน มาถึงหนองสามโยชน์ ที่นี้เป็นที่คับแคบ จึงขุดดิน ต่อไปอีก 7 วัน จึงลุถึงแม่น้ำใหญ่ ไหลผ่านมีน้ำมากไหลอู้มา จึงได้ชื่อว่า "น้ำแม่อู"  

            ในพื้นที่ ที่ใกล้กับ แม่น้ำอู ทางตะวันออก มีหนองน้ำลึกสีเขียวงาม นาคทั้งหลายพากันขุดควักน้ำแม่อูมาบรรจบหนองน้ำนั้น เป็นที่หยุดพักคราวหนึ่ง จึงได้ชื่อว่า น้ำข้างอ่างหลง ลำดับน้ำพระยาศรีสัตนาคราช จึงพาบริวารขุดควัก เป็นทางอีก 14 ราตรีก็ บรรลุแว่นแคว้นโพธิสารหลวง (เมืองเขมร) คือ "อินทปัตถ์มหานคร"  น้ำในหนองสามโยชน์และหนองทั้งหลายก็ไหลลุมาตามรอยพระยานาค ที่ขุดควักไปนั้นจึงกลาย เป็นมหานทีใหญ่ ไหลลงมหาสมุทร จึงได้ชื่อว่า "แม่น้ำขละนที" คือแม่น้ำโขง

            ต่อมา ก็ได้เกิดมีชุมชน ตั้งขึ้นริมฝั่งแม่น้ำขละนที หรือ แม่น้ำโขง มีชาติขอมหลวง มาตั้งแว่นแคว้นโพธิสารหลวง ครั้งนั้นมีนายพราน ชื่อ วเนจร  ได้เดินทาง มาจากเมืองโพธิสารหลวง ได้พาบริวารของตนขึ้นมาตาม ลำน้ำแม่ขละนที  มาตั้งพักอยู่ที่ป่า ตำบลหนองสามโยชน์  ก็ไปถึงถ้ำกุมภ์คูหา อันเป็นที่ตั้งหม้อน้ำทิพย์ พรานวเนจร ได้เห็นหม้อน้ำทั้ง 4 จึงให้บริวารยกไปไว้ที่พักของตน

            ต่อมา รุ่งเช้าหม้อน้ำทั้ง 4 ก็หายไป พรานจึงเที่ยวตามหา จนมาถึงถ้ำกุมภ์ ก็พบหม้อน้ำทั้ง 4 มาตั้งอยู่ที่เดิม พรานจึงคิดว่า ของสิ่งนี้ คงเป็นของเทพดา  ที่ท่านรักษาไว้ จึงไม่อาจนำออกไปได้

            ต่อมา ในช่วงปลายศาสนา ของพระพุทธเจ้า โกนาคมนั้น ก็ได้เกิดโรคระบาด ราชบุตรแห่งเมืองปาตลีบุตร จึงหนีโรคระบาด จึงพาครอบครัว ภริยา และบริวารอพยพไปตั้งอยู่ในป่า เขตเมืองโพธิสารหลวง ต่อมาภริยา ได้คลอดบุตรชาย ราชบุตรชื่อตั้งชื่อกุมารนั้นว่า กุรุวงษากุมาร

            เมื่อกุรุวงษา กุมาร อายุได้ 6 ขวบ บิดาก็ถึงมรณกรรม ยังแต่นางผู้เป็นมารดาเลี้ยงดูกุมารนั้น พออายุได้ 7 ขวบ มารดาก็ถึงกาลกิริยา ตายตามสามีไปอีก กุรุวงษา กุมาร อายุได้ 13 ปี มีรูปลักษณะงามบริบูรณ์ มีเสียงไพเราะมีกำลังมาก ได้เป็นหัวหน้าชาวป่าเขา มีบริวารเป็นอันมาก จึงให้ขนหินศิลา มาก่อล้อมสถานที่อยู่แห่งตน ตั้งเป็นปราการเมือง แล้วตั้งมั่นเป็นเอกเทศอยู่ในตำบลนั้น ไม่อยู่ในการปกครองของใคร

            กิตติศักดิ์อันนี้ ทราบไปถึง เจ้าเมือง พระยาโพธิสารหลวง  จึงให้อำมาตย์คุมพลนิกายไปแวดล้อม เพื่อจับตัวกุมารนั้น ฝ่ายกุมารและบริวารก็ ออกต่อสู้สัปยุทธนาการ  ฝ่ายทหารของเมืองโพธิสารก็ปราชัยกลับไป

            ในที่สุดพระยาโพธิสาร ก็ต้องยกทัพมาปราบด้วยตัวเอง ก็เสียท่า พลาดแก่กุมาร  ถูกจับตัวได้ จนพระยาโพธิสาร ต้องยอมยกราชสมบัติ ให้แก่ กุรุวงษากุมาร  

            ครั้นเจ้ากุรุวงษา ได้เป็นใหญ่ ในแคว้นนี้แล้ว จึงได้เรียกชื่อ แว่นแคว้นนี้ว่า "กุรุรัฐ" และเรียกประชาชนแคว้นนี้ว่า "ชาวกล๋อม" ตามมูลเหตุที่เอาศิลามาก่อล้อมเป็นปราการ ต่อมา ยังมีนางกุมารีผู้หนึ่ง ซึ่งเป็นธิดากษัตริย์ วงศ์สมันตราช ได้อพยพหนีโรคร้ายไปอยู่ในป่า และพาบริวารปลูกข้าวอยู่ที่ขอบหนองแห่งหนึ่ง มีหมู่ผีเสื้อทั้งหลาย ได้กินข้าวที่นางปลูกนั้น หมู่ผีเสื้อ จึงนิยมรักใคร่ในตัวนาง ก็พากันมาเป็นบริวารของนาง แล้ว ก็พากัน ขนศิลามาก่อล้อมที่อยู่แห่งนาง พิทักษ์นางไว้ด้วยดี สถานที่ก่อปราการนั้น ต่อมาได้ ชื่อว่า "อินทปฐาน"

            ต่อมา เจ้ากุรุวงษากุมาร ก็ได้นางนั้นเป็นมเหสี จึงรวมแว่นแคว้นทั้งสองนี้ เข้าด้วยกันให้ชื่อว่า "กุรุรัฐและอินทปัตถ์มหานคร"  นครแห่งนี้ เจริญรุ่งเรืองมาตามลำดับ

            ด้วยคุณงามความดี และบุญญาธิการที่ผู้นำสร้างมาดี เมืองโพธิสารหลวง ก็มีกษัตริย์สืบสันติวงศ์ ติดต่อกันมาก ถึง 44,800 องค์ จนมาถึง สมัยพระยาศรีวงษาได้ครอง เมืองโพธิสารหลวง พระองค์มีโอรสสององค์คือ "องค์อินทรวงษา" และองค์น้องชื่อ"ไอยะกุมาร" ครั้นพระยาศรีวงษาทิวงคตแล้ว อินทรวงษาก็ได้ขึ้นครองเมือง สืบจากพระบิดาและตั้งให้ไอยกุมารเป็นอุปราช

            ต่อมาพระยาอินทรวงษามีโอรสชื่อ อินทรปฐม ได้อภิเษกกับธิดาของไอยอุปราช  ที่ชื่อว่า "นางอุรสา" พระนางมีโอรส 6 องค์ มีนามว่า "องค์เทวินทร์บวร" แต่อีก 5 นั้นในตำนานเดิมไม่ปรากฏชื่อ เมื่อพระยาอินทร์วงษาทิวงคตล่วงไป พระอินทรปฐม ก็ได้ครองราชย์ สืบต่อมา

            ต่อมาไอยอุปราชได้ลาจาก ตำแหน่งอุปราช และพาบริวารลงเรือขึ้นไปแม่น้ำขละนที หรือแม่น้ำโขงจนไปถึงเขตดอนทรายกลาง แม่น้ำขละนที เยื้องปากน้ำแม่กก จึงตั้งเป็นนิคมเมืองอยู่ในที่นั้นมีเรือนอยู่ 3000 เมืองนี้ ตั้งอยู่ทิศอาคเนย์ของอุทกะคูหา หรือถ้ำกุมภ์ อันเป็นที่ตั้ง ของหม้อน้ำทิพย์ ไว้สำหรับพระพุทธเจ้า 5 พระองค์

            ตัดฉาก กลับมาถึงเมืองโพธิสารหลวง กุรุรัฐอินทปัตถ์ นคร ภายหลังเมือไอยะอุราชลาออกไปแล้ว พระยาอินทร์ปฐมได้แต่งตั้งพราหมณ์ปุโรหิตผู้หนึ่งชื่อว่า พาหิรพราหม์ ไว้เป็นที่ราชครูและอัครเสนาบดี พราหมณ์ผู้นี้ เป็นเชื้อชาติขอมเก่า แห่งเมืองโพธิสารหลวง

            ครั้นต่อมาพระนางอุรสาราชเทวี ทรงครรภ์เป็นครั้งที่ 7  ได้คลอดราชบุตร ออกมาทางปากจึงตั้งชื่อว่า "องค์สุวรรณมุขทวาร" การคลอดลูกทางปากนี้ สัณนิฐานว่า นางน่าจะมีเชื้อเผ่าพันธุ์พญานาค

            ครั้นกุมารนั้น เจริญวัย อายุได้ 7 เดือน ก็มีอภินิหารแรงกล้า จนเป็นที่หวั่นไหวแก่พระราชบิดา ครานั้น พาหิรพราหมณ์ปุโรหิต จึงเข้าไปทูลยุยงให้องค์อินทรปฐมว่า พระโอรสนี้เป็นอุบาทว์ อาจทำลายพระนคร และประชาราษฎรให้พินาศอันตราย จะละไว้มิได้ให้ นำไปลอยแพเสีย

            ส่วนพระยาอินทรปฐมได้ฟัง ก็ตกใจ แต่ก็ทรงเสน่หาอาลัยในพระโอรส แต่ก็จำใจอนุญาต สุดแล้วแต่พราหมณ์ราชครู จะจัดการ พราหมณ์พาหิร จึงเชิญเสด็จพระนางอุรสา และสุวรรณมุขทวารกุมาร ลงในเรือขนาน ปล่อยให้ลอยไปตามแม่น้ำขละนที

             ฝ่ายไอยะมหาอุปราช เมื่อลาออกจากเมือง มาก็มาตั้งบ้านเรือน อยู่ดอนทรายฝ่ายเหนือ เมื่อทราบว่าธิดาประสูติราชกุมาร จึงลงมายังเมืองโพธิสารหลวง ครั้นทราบเหตุการณ์ที่พระนางและราชกุมารถูกลอยแพก็เสียใจ ก็รีบกลับเมืองแล้ว จึงทำพิธีบวงสรวงนาคา และปักเสาประทีปโคมทองทุกท่าน้ำ

            ครั้งนั้น พระยานาค ตนหนึ่ง มีนามว่า  พระยาศรีสัตตนาคราช ทราบเรื่องว่า มีผู้ขอความช่วยเหลือ ในเรื่องนี้ พระยาศรีสัตตนาคราช ผู้ปราณี จึงสั่งการไปยังเสนานาคทั้งปวง พระองค์ จึงพาบริวาร ของตน ขนหินไปทำฝายกั้นน้ำ  ปิดทางต้นน้ำแม่โขงไว้ ไม่ให้เรือ นั้นไหลลงสู่สมุทรได้ จนมาถึงทุกวันนี้ ชาวบ้าน จึงเรียก เขื่อนกั้นน้ำนี้ ว่าฝายนาค หรือ ลี่ผี นั้นเอง

           

            เมื่อพระยาศรีสัตนานาคราช ได้ถมหิน ปิดกั้น สายน้ำ ในแม่น้ำขละนที หรือแม่น้ำโขงแล้ว ต่อมา สายน้ำ ในแม่น้ำขละนที แม่น้ำโขงบริเวณนี้ กระแสน้ำจึงเปลี่ยนทิศ น้ำจึงไหลขึ้นท่วมท้นขึ้นเต็มฝั่ง ทั้งไหลวน  ทั้งครานั้น พระยาศรีสัตนานาคราช จึงบันดาล ให้เกิดมหาวาตะพายุพัดขึ้นมา  จึงทำให้ เรือของพระราชเทวี และพระกุมาร ลอยทวนกระแส ขึ้นไป ด้านบนตามกระแส แม่น้ำขละนที (แม่น้ำโขง) จนเรือ นั้นลอยไปถึงท่าโคมฅำ ในวันจันทร์ เพ็ญเดือน 9

            และในเวลาเช้า ไอยะมหาอุปราช จึงได้พบ พระธิดาและพระนัดดา ยังความชื่นชมยินดียิ่งนัก  พระองค์ จึงจัดสมโภช ทำขวัญ 7 ราตรี  ต่อมาก็ให้สร้างเป็นเมือง บริเวณนั้น ขนานนามว่า "เมืองสุวรรณโคมฅำ"  ฝ่ายเมืองโพธิสารหลวง เมื่อเนรเทศ ลอยแพพระกุมาร และพระเทวีไปแล้ว ก็เกิดอาเพศโรคระบาด ฝนฟ้าไม่ตก ตามฤดูกาล  ข้าวยากหมากแพง  ประชาชนอดยากมาก จึงพากันหนี ออกจากเมืองไปอยู่ กับเมืองสุวรรณโคมฅำ เป็นจำนวนอันมาก

            ต่อมา พระอินทร์จอมเทพ ต้องการให้พระราชบิดา และราชกุมารได้พบกัน จึงบันดาลปล่อยม้าอัศดร ไปยังเมืองโพธิสารหลวง  และไม่มีใคร สามารถจับม้าตัวนั้นได้  นอกจากราชกุมาร ชื่อเทวินทรบวร เมื่อองค์เทวินทร์บวร ประทับบนหลังม้าอัสดรได้ แล้ว ม้าตัวนั้นก็วิ่ง พาไปที่เมืองสุวรรณโคมฅำทันที 

            องค์เทวินทร์บวร กุมาร ได้พบกับพระเจ้าตา พระชนนีและพระอนุชา ก็มีความชื่นชมโสมนัสยิ่งนัก จึงขึ้นม้ากลับมาเมืองโพธิสารหลวง กราบทูลให้พระบิดารู้เรื่อง เมื่อพระบิดาได้รู้เหตุการณ์แล้วก็เสด็จไปเชิญให้พระเทวีและพระโอรสกลับเมือง

            แต่พระนางอุรสาไม่ยอมกลับ พระยาอินทรปฐม และไอยะอุปราชจึงอภิเษก "เจ้าสุวรรณมุกขทวารราชกุมาร" ขึ้นเป็นพญาครองเมืองสุวรรณโคมฅำ เมื่อสิ้นรัชกาลองค์อินทรปฐม องค์เทวินทร์บวรราชกุมารจึงได้ครองราชสมบัติในเมืองโพธิสารหลวง  

            ทั้งยังได้ เนรเทศ ผู้เป็นต้นเหตุความวุ่นวาย คือ พาหิรพราหมณ์ ให้ออกจากเมือง ส่วนพาหิรพราหมณ์ จึงพาบริวารไปขออาศัยในแว่นแคว้น เจ้าสุวรรณมุขทวาร เจ้าจึงให้พาหิรพราหมณ์ไปตั้งอยู่ที่เชิงเขา ปลายแม่น้ำกกเบื้องตะวันตก ไกลจากเมืองสุวรรณโคมฅำ ระยะ 3 คืน เนื่องจากที่อยู่นั้นเป็นถ้ำใหญ่ ต่อมาจึงตั้งชื่อว่าเมือง "ว่า อุมงคเสลานครขอมเขต" (คือเมืองตุม)

            กาลต่อมา กษัตริย์ในเมืองสุวรณโคมฅำ ได้สืบต่อ จากพญาสุวรรณมุกขทวาร  นั้นมีมากถึง 84550 องค์  นานมาก จนราชวงศ์นี้สิ้นสุดลง จนหมดสิ้นไม่มีผู้ใดสืบต่อ

            ยังเหลือแต่เชื้อสาย ฝ่ายพาหิรพราหมณ์  ที่เมืองอุมงคเสลานคร ก็กลับมายึดเมือง และได้มาเป็นใหญ่ในเมืองสุวรรณโคมฅำ และได้ข่มเหงไพร่พลเมือง ให้ได้รับความเดือดร้อนเป็นอันมาก

            กาลต่อมา ยังมีชายยากจน คนหนึ่ง ทำไร่อยู่ริมแม่น้ำขละนที หรือแม่น้ำโขง ระหว่างเมืองสุวรรณโคมฅำ และเมืองโพธิสารหลวง แม่น้ำนั้นมีดอนทรายอ่อนละเอียด และวังผา เป็นสถานที่ ที่ซึ่งพระราชธิดาทั้ง 3 ของพระยาศรีสัตนาคะราช มาประพาสเล่นน้ำอยู่เป็นประจำ

            วันหนึ่ง ธิดาทั้ง 3 นาง ของ พระยาศรีสัตนาคะราช มาเล่นน้ำ แล้วรู้สึกหิว  จึงพากันไปขโมยกินข้าวในไร่ ของชายเข็ญใจผู้นั้น  เมื่อ ธิดานั้น กลับไปบาดาลแล้วก็แจ้งแก่พระยานาคผู้เป็นบิดาให้ทราบ เมื่อพญาศรีสัตตนาค ทราบว่า ธิดาของตนไปขโมยกินข้าว ในไร่ของชายเข็ญใจ โดยเจ้าของมิได้อนุญาต

            จึงกล่าวว่า ธิดาของตนนั้นเป็นบาป  จึงปรับโทษเป็นอทินนาทาน สาปให้นางนาคธิดาทั้ง 3 ไปใช้เวร แก่มานพนั้น ธิดานาคทั้งสามจึงแปลงเป็นคน มาเป็นคนรับใช้ ไปรับใช้มาณพ นั้น

            ฝ่าย นางธิดานาคทั้งสาม ได้แนะนำให้มาณพนั้น ไปค้าขายที่เมืองสุวรรณโคมฅำ นางก็เนรมิตเรือและสินค้าให้มาณพขึ้น ให้ไปค้าขายที่เมืองสุวรรณโคมคำ  แต่ก็ถูกพวกขอมเมืองสุวรรณโคมคำทำอุบายใส่ความเอาโทษ ปรับริบเอาสินค้าของมาณพนั้น ไปหลายครั้ง 

            ภายหลังนางนาคธิดาจึงไปกับเรือสินค้านั้นด้วย ไปพักอยู่ที่ท่านาค พระยาขอมในเมืองนั้นก็แต่งอุบายมาล่อลวงพนันขันต่อ เพื่อจะริบเอาสินค้าอีกครั้ง นางนาคธิดาก็บันดาลให้พระยาขอมแพ้พนัน มาณพริบเอาสมบัติพระยาขอมบ้าง เมื่อพระยาขอม แพ้พนัน

            แต่พระยาขอม ไม่ยอมให้ริบสมบัติ ตามสัญญาและยังหาเหตุไล่มาณพ ออกจากเมืองด้วย นางนาคธิดาทั้ง 3 ก็โกรธพระยาขอม ว่าหาสัจจะมิได้  นางจึงกลับไปทูลความ แก่พระยาศรีสัตนาคราช ผู้เป็นบิดา

            ดังนั้น พญานาค จึงพาบริวารไปขุดฝั่งน้ำ"ขลนที " เพื่อ พังเมืองสุวรรณโคมคำ ให้ล่มทลายลงในแม่น้ำขละนที ในเวลาราตรี  จนพระยาขอม เจ้าเมืองสุวรณโคมตำ และชาวเมืองจมน้ำตายเป็นจำนวนมาก ที่เหลือก็กระจัดกระจายไป และมีจำนวนหนึ่ง ที่หนีไปสมทบอยู่กับชายเข็ญใจพ่อค้าผู้นั้น จนกลายเป็นเมืองใหญ่ขึ้นมา เมืองสุวรรณโคมฅำก็ร้างกลาย  จนเป็นท่าหลวงไป ชื่อว่า "ท่าโคมฅำ" แต่บัดนั้นมา

            ครั้นพวกขอม เมืองสุวรรณโคมคำ กระจัดกระจายไปแล้ว ก็มีแต่ พวก มิลักขะชน อยู่ตามซอกห้วยราวเขา มีปู่เจ้ากุบคำ (หมวกทอง) เป็นหัวหน้าชาวลั๊วะ ตั้งบ้านอยู่ บนดอยหลวงเขาตายะทิศ คือดอยสามเส้า

            ตัดฉากย้อนไป กาลก่อน เมื่อพระกัสสปะพุทธเจ้า อุบัติขึ้นในโลก พระองค์ เคยเสด็จมาฉันน้ำทิพย์ ณ ถ้ำกุมภ์ ในแว่นแคว้นสุวรรณโคมคำ แห่งนี้  ครั้งนั้น พระองค์ องค์พุทธธะกัสสปะ ก็ได้พยากรณ์ ว่า ภายภาคหน้า จะมีขัติยะวงศา พระเจ้าสมมัติราช มาแต่ราชคฤห์ นครหลวงไทยเทศ ทิศพายัพ

            จะมาตั้งแว่นแคว้น เมืองเจริญขึ้น เป็นมหาประเทศราชธานี จักได้บำรุงศาสนาพระโคตมะพุทธเจ้า ในอนาคตกาล ก็มีดังนี้แล

          เมื่อเราทราบว่า องค์พุทธะกัสสปะ ได้เคยกล่าวไว้เช่นนี้ ว่าดินแดนถิ่น แม่น้ำขละนที หรือแม่น้ำโขง จะเป็นถิ่นเจริญ รุ่งเรื่อง เป็นดินแดนแผ่นดินธรรม แผ่นดินทอง มีผู้นำแผ่นดิน ที่ตั้งอยู่ในทศพิศราชธรรม ตั้งมั่นพุทธศาสนิกชน มีผู้ศรัทธา พุทธศาสนา จะมาตั้งแว่นแคว้น เมืองเจริญขึ้น เป็นมหาประเทศราชธานี จักได้บำรุงศาสนาพระโคตมะ พุทธเจ้า ต่อไป 

            ในอนาคต เราจึงเชื่อได้ว่า แม้โลกจะพบกับความวิบัติ มนุษย์จะผจญ กับเรื่องเลวร้าย เพียงใด แต่ดินแดนลุ่มน้ำโขง แห่งนี้ ล้วนอุดมไปด้วยสิ่งอันเป็นมงคล อัดแน่น ด้วยคุณงามความดีอันอุดม องค์พุทธะ ได้ปักธงชัยไว้แล้ว แม้ปัจจุบันดินแดนแห่งนี้ ยังไม่อาจทราบได้ ว่าเป็นจริง แต่คำกล่าวขององค์พุทธะ  ทุกพระองค์ ท่าน ล้วนแต่เป็นผู้แจ้งโลก ทั่วจักรวาล ย่อมไม่พลาด และเป็นจริงเสมอ แล้วเราและท่าน จะเลือกทำสิ่งใด ในปัจจุบัน และในอนาคต ก็จงเป็นสิทธิ์ของท่านเถิด  สบายดี

------------------------------------------------

วันพฤหัสบดีที่ 24 มิถุนายน พ.ศ. 2564

 

โสเภณียุค 3,000 ปี ก่อนพุทธกาล




            เทวทาสี" นางต้องห้าม อาชีพ ที่ทรงเกียรติของสตรีอินเดีย เมื่อกาลเวลาเปลี่ยน โลกเปลี่ยน กลับกลายมาเป็นโสเภณีชั้นต่ำ

            แต่เดิมวัฒนธรรม อันเก่านาน ตั้งแต่โบราณกาลมา ในภาคใต้ของอินเดีย เทวทาสี หรือ นางต้องห้าม นั้น คือผู้หญิงที่อุทิศตน เพื่อบูชาและรับใช้เทพเจ้า ในวัดหรือวิหาร ซึ่งพวกเธอเหล่านั้น จะอยู่ที่วิหาร นั้น ไปตลอดชีวิตโดยไม่แต่งงานกับชายใด ๆ

             โดยการ เข้าพิธี Pottukattu ที่ค่อนข้างคล้ายกับ พิธีแต่งงานทั่วไป เมื่อเข้าพิธีนี้แล้ว เหล่าเทวทาสีพวกเธอ คือเจ้าสาวของเทพเจ้า  ต่อมา งานของพวกเธอ นอกเหนือจากการดูแลวัด และการทำพิธีกรรมบูชาเทพเจ้าแล้ว ผู้หญิงเหล่านี้ ยังได้เรียนรู้ ฝึกฝนประเพณี ศิลปะชั้นสูง เช่น ภะรัตนาฏรยัม, คูชิบูดี และการรำ Odissi โอดิสสี  

            ทั้งสถานภาพ ทางสังคมของพวกเธอจัดอยู่ในระดับสูง เนื่องจากการรำนาฏศิลป์และเล่นดนตรีเป็นส่วนหนึ่งของการบูชาเทพเจ้า และทุกครั้งที่พวกเธอร่ายรำ อย่างสวยงาม เชื่อกันว่ามันเกิดมาจากการเข้าทรง ที่ติดต่อ จากเทพเจ้า

            กฎเหล็ก นั้น เทวทาสีจะไม่สามารถแต่งงานกับมนุษย์ผู้ชายได้ เพราะพวกเธอเป็นเจ้าสาวของทวยเทพในศาสนาฮินดู ที่จะมีหน้าที่คล้ายกับ นางโยคีนี ที่ปฏิบัติศาสนากิจ

            แต่ประหลาดมาก ที่พวกเธอกลับ สามารถที่จะมีเพศสัมพันธ์กับชายใดก็ได้ที่ พวกเธอถูกใจ ไม่ว่าชายคนนั้น เขาคนนั้นจะมีภรรยาหรือไม่  นอกจากนั้น เทวทาสีจะมีอภิสิทธิ์เหนือผู้ชายธรรมดา ต่างจากหญิงอินเดียทั่วไป ที่ต้องคอยปรนนิบัติสามี ประดุจสาวใช้ 

            แต่ คุณเชื่อไหมว่า เทวทาสี สามารถเลือกชายใดที่เธอถูกใจ เพื่อมามีความสัมพันธ์ได้ ตามที่ตนต้องการ โดยที่ไม่ต้องผูกมัด หรือแต่งงานด้วย และในขณะเดียวกัน เทวทาสีหรือนางต้องห้าม บางคนก็สามารถเลือกที่จะอยู่เป็นสาวพรหมจรรย์ตลอดชีวิตได้เช่นกัน ด้วยความเป็นอิสระแบบนี้ จึงทำให้อาชีพนี้เป็นอีกทางเลือกที่สตรีอินเดียโบราณ และขอมโบราณใฝ่ฝัน มากที่สุด

            ด้วยเหตุว่า หญิงทั่วไปที่อยู่ในสังคมแบบล้าหลัง และโบราณมาก ๆ แบบนี้ พวกเธอล้วนแต่ไม่มีอิสระ และชีวิตทุกอย่าง ของพวกเธอ จะอยู่ภายใต้กฎเหล็กของเพศชายทั้งสิ้น

            ซึ่งเรื่องนี้ ก็ยังมีนักประวัติศาสตร์ ชาวตะวันตก สาขาอินเดียโบราณ ให้ข้อคิดเห็นว่า เขาเชื่อว่าประเพณี นางต้องห้าม หรือเทวทาสีนั้น น่าจะวิวัฒนาการมาจาก ตำแหน่ง นครวาดู Nagar vadhu ซึ่งมีมานานมากแล้ว ก่อนสมัยพุทธกาลจนถึงยุคพุทธกาล

            ดังได้ปรากฏนามก่อน ที่เจ้าชายสิทธัตถะจะประสูติ แล้ว  จนเริ่มต้น เรื่องนี้ เริมจาก เจ้าหญิงของนคร  คือ พระนางอมราปาลี หรือ อัมพาปาลี  ได้รับตำแหน่งนี้มาก่อนใคร  ดังนั้น คำว่า วาดู นั้น แปลว่า เจ้าสาว ของนคร มันคือตำแหน่งเรียก ในความหมายว่านางงามเมือง ในยุคโลกโบราณ นั้นเอง 

            นับว่าเป็นตำแหน่ง ที่หญิงสาวทุกคน ในวัฒนธรรมอินเดีย โบราณ ในยุครั้น หญิงทั่วไป ต่างก็ใฝ่ฝัน และเข้าแข่งขันเพื่อจะได้เข้ามาดำรงตำแหน่งนี้  ซึ่งเวทีนี้คือ นครเวดู  หญิงที่ถูกคัดเลือกเข้ามา จะต้องเป็นหญิงสาว หน้าตาดี ทั้งยังมีความสามารถ ในด้านศิลปะ  เช่น ดนตรี  การร่ายรำ  และหญิงเหล่านั้น จะต้องเป็นลูกสาวของคหบดี ผู้มีฐานะดี เช่นเดียวกับ เรื่องของ นางอมราปาลี

            กล่าวกันว่า  ในยุคนั้น เนื่องจาก ตำแหน่งนี้ ต่างเป็นผู้หญิงที่รูปงามมาก จนบรรดาขุนนางทั้งหลายต่างก็อยาก จะแต่งงานกับสตรีที่น่าตาดีเหล่านั้น และบางนางก็มีคู่หมั้นอยู่แล้ว  จึงเกิดปัญหายุ่งมากมาย

            ซึ่ง ประวัติศาสตร์ ได้บันทึกไว้ว่า พระเจ้ามนุเทพ แห่งกรุงเวสาลี ได้สังหาร บุษบากุมาร ซึ่งเป็นคู่หมั้นของ นางอมราปาลี  และแต่งตั้งนางให้เป็น นางนครวาดู ของเมือง ในวันถัดมา ตำแหน่งนครวาดู นี้จะมีหน้าที่ถวายการรำ ต่อหน้าพระมหากษัตริย์ และใครก็ตามที่จ้างนางให้รำ ซึ่งค่าตัวการรำของสตรี ในตำแหน่งนี้จะสูงมาก ซึ่งด้วยราคา ค่าตัวที่สูงมากนี้ จึงไม่มีใครสามารถจ้างนางได้ นอกจากพระมหากษัตริย์, เจ้าชาย และ เจ้าเมืองต่าง ๆ เท่านั่น

            นางนครวาดู หรือหญิงงามแห่งพระนคร เป็นอาชีพที่ได้รับเกียรติมากในสมัยนั้น ไม่มีใครมองว่ามีเป็นสิ่งที่ไม่ดี เหมือนกับหญิงงามเมืองในยุคใหม่ แต่ในโลกโบราณ แห่งนครวาดู เปรียบเสมือนเทวีที่เลอโฉม ผู้คนต่างเคารพบูชา  เพราะมีภารกิจ ที่สูงส่งนั้น นอกจากหน้าที่ บูชาเทพเจ้า แล้ว พวกเธอจะถวายตัวเพื่อ บำรุง บำเรอให้แก่ผู้มีอำนาจในแผ่นดิน เท่านั้น

            หลังพระพุทธศาสนาเข้ามามีอิทธิพล ในศาสนาพราหมณ์ ฮินดูในอินเดียมากขึ้น แล้ว ศาสนาพุทธก็เจริญรุ่งเรืองในดินแดนแห่งนี้ เป็นลำดับ ต่อมาหญิงงามเมือง ก็ตื่นตัวมากมาย ในการศึกษาพระธรรมขององค์ พุทธะ อย่าง พระนางอมราปาลี เกิดความทุกข์มากขึ้นจนสุกงอม ในที่สุดนางทุกข์ทรมานมากจน ไร้ที่พึ่ง จึงออกบวช และจนถึงที่สุดนางก็ สามารถบรรลุธรรม เข้าถึงพระอรหันต์ ได้ในที่สุด

            เหมือนดูว่า ในยุคนั้นคนที่นับถือ ศาสนาฮินดูในอินเดีย เริ่มมีการให้ความสำคัญกับ ศีลธรรมจรรยามารยาท ความสำรวม และ การลดละกิเลส ตัญหา ตามแบบอย่างพุทธศาสนา มากยิ่งขึ้น  

            ดังนั้น อาชีพ นางงามเมือง  นางนครวาดู ที่คัดเลือกหญิงงาม และเก่งในเรื่องศิลปะ และการร่ายรำที่ถือว่า เป็นไอคอนของสตรี ในยุคนั้น เริ่มจะไม่เป็นที่ นิยม และได้หายสาบสูญไปในช่วงนั้น แต่ปรากฏว่ามีอาชีพใหม่ เกิดขึ้น คือ เหล่าเทวทาสี เริ่มเข้ามาสู่พุทธะมากขึ้น มาขอบวช เป็นนางภิกษุณี ที่ประพฤติพรหมจรรย์ ได้ตั้งสัตย์ปฏิญาณ ที่จะครองพรหมจรรย์ ละทิ้งหน้าที่ร่ายรำ และทำพิธีบูชาเทพเจ้าในวิหาร จนหมดสิ้น

            แต่ใช่ว่า ลัทธิเทวทาสี นี้ จะหมดสิ้นไปหมด แต่ก็ยังมี จักรวรรดิของแคว้นโจลละ ยังให้สนับสนุนระบบ เทวทาวี  ซึ่งในภาษาทมิฬ เป็นที่รู้จักในนามว่า เทวาอธิการ Devar Adigalar หมายถึง ผู้รับใช้ของพระเจ้า จะมีทั้งเทวทาส และเทวทาสี ชายและหญิง ที่อุทิศตนเพื่อรับใช้วิหารและเทวรูป ทั้งยังมีการพัฒนาเครื่องดนตรีและการร่ายรำที่ใช้ในช่วงเทศกาลของวัด 

            คำจารึกระบุว่ามีนักเต้น 400 คนพร้อมด้วยอาจารย์และเครีองดลตรีในวิหาร ซึ่งได้เงินบริจาคสำหรับค่าใช้จ่ายประจำวัน ของพิธีกรรม  เช่น ค่าน้ำมัน ขมิ้น ใบพลู และถั่ว  นอกจากนี้เทวทาสีชายชื่อดังของวิหารนามว่า นันฑุวนาร  ยังได้สอน พระธิดาของกษัตริย์โจลละ ในการรำนาฏศิลป์ อีกด้วย

            เมื่ออาณาจักรโจลละ แผ่อำนาจ มากขึ้น จำนวนของวัดที่มีเทวทาสี ก็เพิ่มขึ้นทั่วดินแดน ในไม่ช้าจักรวรรดิอื่น ๆ ก็เริ่มเลียนแบบ อาณาจักรโจลละ และมีเทวทาสี เช่นกัน

            ถึงอย่างไรก็ตาม เมื่อมีรุ่งเรื่อง ก็ต้องมีวันตกต่ำ เช่นกัน  ประเพณีเทวทาสี ก็เริ่มเสื่อมถอย ลงสู่ความตกต่ำ เมื่อถึงยุคที่อังกฤษเข้ามาปกครองอินเดีย ผู้มีอำนาจ เจ้าเมือง คหบดีฯ ที่เป็นโยมอุปัฏฐากโบสถ์วิหารที่ มีเทวทาสี นั้นต่างก็สูญเสียอำนาจ  

            พวกอังกฤษไม่เข้าใจว่า เทวทาสี คืออะไร และมองว่าอาชีพเทวทาสี หรือนางต้องห้ามนี้ ก็เป็นเพียงแค่นักแสดงละครเร่ เท่านั้น ฝ่ายปกครองอังกฤษ ในยุคนั้น จึงได้ออกกฎหมายห้ามประเพณี และวัฒนธรรมอินเดียโบราณหลายอย่าง  ทั้งยังเปิดซ่องโสเภณี มากมายทั่วเมืองหลวง โดยซ่องส่วนใหญ่เป็นของทหารชาวอังกฤษ  จนทำให้เกิดโรคหนองใน ระบาดอย่างหนักในเวลาต่อมา

            ดังนั้น ความพยายามที่จะควบคุมการแพร่กระจาย ของกามโรค รัฐบาลอังกฤษจึงได้ออกคำสั่งว่าโสเภณีทุกคน ต้องลงทะเบียนตัวเอง และเทวทาสี ก็เป็นหนึ่งในกลุ่มที่ ถูกบังคับให้ลงทะเบียนด้วย เนื่องจากพวกอังกฤษคิดว่าพวกเธอเป็นโสเภณีประเภทหนึ่ง

            เหตุการณ์นี้ อันเป็นผล เนื่องมาจากการเสื่อมถอยของโยมอุปฏาก ของวัดที่ มีเทวทาสี  เด็กสาวหน้าตาดี มากมาย ที่ทำหน้าที่เป็นนางต้องห้ามต่าง ก็ไร้ที่พึ่ง ไม่มีเสาหลัก พวกเธอเริ่มถูกลวนลามทางเพศและล่อลวง จนพวกเธอ ถูกกลืนจนกลายเป็นโสเภณี เต็มตัวรองรับ บำบัด ความหิว กระหาย ของชายอินเดียเอง และทหารอังกฤษ 

            และในที่สุด เทวทาสี ก็ค่อย ๆ เริ่มจางหายไปจากวัฒนธรรมอินเดีย  แต่ปรากฏว่า เมื่อ ปี1988 พบว่า ความจริง เทวทาสี ไม่ได้หายไปจากอินเดีย  เพราะ ปรากฏว่า ในรัฐทางภาคตะวันตกเฉียงใต้ และภาคกลางตอนล่าง ก็ยังมีวัดฮินดู มากมาย ที่มีประเพณีคล้าย ๆ กัน แต่ อยู่ในบริบทที่แย่กว่าเดิม ในชนชั้นล่าง เช่น วัณณะจัณฑาล   วัณณะจัณฑาล นี้ก็มีเทพเจ้า ในคัมภีร์ ภัควะคีตา ถือว่า เป็นหนึ่ง ในเทวีในศาสนาฮินดู ที่พวกวรรณะ ล่าง ๆ นับถือ นั้นก็คือ พระแม่เยลลัมม่า ซึ่งจะถูกนับถือในหมู่ชนชั้นล่าง และสาวประเภทสอง และผู้หญิงหากิน

            ตามตำนาน ในศาสนา เล่าว่า พระแม่เยลลัมมา นั้นเมื่อครั้งจุติเป็นมนุษย์เป็นลูกสาววรรณะพราหมณ์ เธอมีนามว่า เรณุกา  ซึ่งถูกจับให้แต่งงานกับนักปราชญ์ผู้หนึ่ง ซึ่งเรณุกาก็เฝ้าปรนนิบัตรับใช้สามีอย่างดีมาตลอด  ด้วยการไปตักน้ำจากแม่น้ำมาให้สามีในการบูชาเทพ

             แต่มีอยู่วันหนึ่ง ขณะที่เธอไปตักน้ำที่แม่น้ำ มีพวกเด็กกำลังเล่นน้ำอยู่จำนวนมาก จนทำให้น้ำขุ่นเธอจึงตักมาช้า สามีจึงโกรธคิดว่าเธอนอกใจ จึงสั่งให้ลูกชายตัดศีรษะผู้เป็นแม่เสีย แต่ไม่ว่าเขาจะสั่งลูกชายถึงสี่คนก็ไม่มีใครยอมทำตาม  ปราชญ์ผู้เป็นสามี จึงสาปแช่งให้ลูกชายทั้งสี่คนกลายเป็นขันที เหลือแต่ลูกชายตัวร้ายคนที่ 5  ที่ยอมจะทำตาม

            ครั้น ลูกชายคนที่ 5  ตัดหัวแม่ของตัวเอง ด้วยความดีในความเพียรบูชาเทพของนาง  จึงทำให้ศีรษะของเรณุกา งอกออกมา ทุกทิศทุกทาง จนไม่สามารถตัดได้หมด หลังจากนั้นนางก็กลายเป็นพระแม่เยลลัมมา  มาตั้งแต่นั้นบัดนั้น  นางจึงมีบริวาณ คือลูกชายทั่งสี่ ที่กลายเป็นกระเทย หรือขันที

ดังนั้น พระแม่เยลลัมมา จึงกลายเป็นเทพฝ่ายหญิงที่มีไว้ ให้สำหรับคนชั้นล่าง เช่น จัณฑาลและกระเทย เพศที่สาม และ โสเภณี ชนชั้นเหล่านี้ ต่างก็บูชานาง เพราะนางเป็นเทพที่ประทานพรให้แก่คนวรรณะล่าง ให้ได้มีสิทธิกลับชาติ มาเกิดในวรรณะที่สูงขึ้น

            ส่วนที่วิหารของ พระแม่เยลลัมมา เทวทาสีของนางไม่ได้สูญหายไปแต่อย่างใด แต่ยังเป็น เทวทาสีสำหรับวิหารเทพที่ไว้ให้ชนชั้นล่าง ได้บูชา กลายเป็นพิธีกรรมที่น่าเกลียด ที่ต่างจากเทวทาสีในวิหารเทพของชนชั้นสูง

            เพราะพราหมณ์หรือพระที่ประกอบพิธีกรรมนั้น ต่างก็เอาเปรียบวรรณะล่าง ๆ จนทุกวันนี้ เทวทาสีเป็นประเพณีที่ถูกจัดว่า ผิดกฎหมายโดยรัฐบาลอินเดีย แต่ในทางปฏิบัติกลับยังปฏิบัติกันอยู่ไม่ต่างจากระบบวรรณะทั่วไป

            ศาสนาฮินดู บางเรื่อง เชื่อว่า หากหญิงจัณฑาล ชาติหน้า ถ้าอยากกลับมาเกิดในวรรณะที่สูง สาวประเภทสองที่อยากเกิดเป็นหญิง ก็ให้มาเป็นเทวทาสีที่วิหารเจ้าแม่เยลลัมมา  ในวรรณะล่าง ๆ การมีลูกสาวคือภาระ เพราะต้องเก็บเงินไว้ เพื่อไปสู่ขอผู้ชายมาแต่งงาน

            เพราะตามประเพณีฮินดูมองว่าชายเริ่มเกี้ยวพาหญิงเป็นเรื่องต่ำ และผิดประเวณี พ่อแม่หญิงต้องเป็นฝ่ายหาคู่ให้ลูกสาว โดยการไปทาบทามขอผู้ชายดี ๆ มาให้แต่งงานโดยต้องมีสินสอดให้พ่อแม่ฝ่ายชาย ครั้นเมื่อแต่งงานไปแล้ว ลูกสาวก็กลายเป็นสมบัติของครอบครัวฝ่ายชาย

            ดังนั้น ในวรรณะที่สูง ๆ จะมีการจัดหาคู่ให้ ลูกสาว ลูกชายผ่านทางพราหมณ์ของวัด ในชุมชนที่จะจับคู่ให้ตามวรรณะ และวันเดือนปีเกิดที่เหมาะกัน

            ในยุคปัจจุบันประเพณี การนำสินสอดไปสู่ขอ หรือการคลุมถุงชน นั้น ถูกจัดว่า ผิดกฎหมายของอินเดีย ในระบบวรรณะของอินเดียสาเหตุที่พ่อแม่ฝ่ายหญิง ต้องไปสู่ขอฝ่ายชายเพราะผู้ชายวรรณะสูงสามารถมีภรรยาวรรณะต่ำกว่าได้ และมีลูกที่มีวรรณะให้และเพื่อเป็นของขวัญขอบคุณที่ผู้ชายจะมาดูแลลูกสาวให้ตลอดชีวิต

             แต่ในทางกลับกัน ศาสนานั้น ยังห้ามหญิงที่มีวรรณะสูง ระดับวรรณะไวศยะขึ้นไปแต่งงานกับชายที่มีวรรณะต่ำกว่า ระดับวรรณะไวศยะ เพราะลูกที่เกิดมาจะเป็นจัณฑาล

            แต่ในยุคนี้ ทางรัฐบาล ได้ประกาศยกเลิก การใช้สินสอดสู่ขอแล้ว เพราะนำไปสู่ปัญหาการหลอกลวง เพราะที่ผ่านมา มีหลายครั้งที่พ่อแม่ ของหญิงวรรณะต่ำ หรือจัณฑาลเก็บเงินตลอดทั้งชีวิต เพื่อไปสู่ขอผู้ชายวรรณะสูงให้ลูกสาว เพื่อที่จะได้เป็นการยกระดับวรรณะตนให้สูงขึ้นในรุ่นหลาน

             แต่พ่อแม่ของชาย ที่วรรณะสูงกว่า รับเงินไว้แล้ว แต่ไม่ยอมทำตามสัญญา นอกเหนือจากกรณีที่ชายวรรณะสูงเกิดมาชอบพอหญิงวรรณะต่ำด้วยตัวเอง  เท่านั้น นางจึงมีสิทธิเข้าบ้านเป็นภรรยาได้โดยไม่ผิดกฎวรรณะ และลูกของหญิงวรรณะต่ำ กว่าจะมีวรรณะที่สูงขึ้นทันที

            แต่ประเพณีสินสอด  ยังมีคนแอบทำจนทุกวันนี้ แม้จะมีกฎหมายห้าม เพราะครอบครัววรรณะต่ำต้องการจะยกระดับฐานะให้ลูกสาวของตน นั้นเอง

            ตักฉาก กลับเข้าเรื่องเทวทาสีในชนชั้นจัณฑาล อีกครั้ง  พ่อกับแม่จะส่งลูกสาวของตนที่อายุ11-12เข้าเป็นเทวทาสี ในวิหาร เพราะไม่มีเงินจะแต่งลูกสาวให้ชายวรรณะสูงกว่า ดังที่ได้กล่าวมา

             พวกเธอจะต้องอาบน้ำ ที่บ่อหน้าวิหาร และทาขมิ้นที่หน้าผาก แต่งตัวสวยๆ มีมาลัยคล้องคอหลังจากการเป็น เทวทาสีแล้ว เด็กหญิงเหล่านี้เมื่ออายุครบ13 -14 ปี จะต้องเสียพรหมจรรย์ โดยการร่วมหลับนอนกับพราหมณ์จากวรรณะสูง ก่อน

             ต่อมา พราหมณ์นั้น จะส่งพวกเธอต่อไปให้กับปัณทาส  ซึ่งปัณทาสนี้ ก็มีหน้าที่ทำพิธีถวายพวกเธอ ให้เป็นเครื่องบูชาเทพ และพวกเธอจะต้องร่วมหลับนอนกับปัณทาส อีกจนปัณทาส พอใจ นี้คือความไม่เป็นธรรม หรือความโหดร้าย ของลัทธิไร้เหตุผลนี้

            พวกเธอจะบำเรอกาม ชายที่เชื่อว่า เป็นตัวแทนเทพเจ้านั้น ในวิหารแห่งนี้หลายปี  แต่เมื่อวันเวลาผ่านไป นางใดหมดความสาว หมดความสวย ร่างกายเสื่อมสภาพ พวกเธอจะถูกขับออกจากวิหาร พร้อมกับเงิน จากการเป็นเทวทาสี  ให้กลับไปหาพ่อแม่ เอาเงินให้ลูกชาย เลี้ยงดูพ่อแม่ต่อไป

             นับต่อจากนั้นไป จะไม่มีชายใด มาแต่งงานกับพวกเธออีกเลย เพราะพวกเธอไม่ใช่สาวพรหมจรรย์ ทั้งไม่มีอาชีพใด ๆ  พวกเธอมีอาชีพเดียวที่ทำได้ คือการเป็น โสเภณีชั้นต่ำ ในชุมชนโสเภณี ซึ่งค่าตัวของพวกเธอ จะต่ำมากเพียงแค่ 20 - 40 รูปี ซึ่ง คิดเป็นเงินดอลล่า เพียง 7 ดอลล่า เท่านั้น

             สาวบางคนอาจเก็บเงิน จนตั้งตัวจนเป็นแม่เล้าได้ และเปิดห้องให้บรรดาโสเภณีที่เคยเป็นอดีตเทวทาสี มาเช่าห้องเล็ก ๆเหล่านี้ เพื่อบริการลูกค้า ซึ่งจะมีสาวประเภทสอง หรือกระเทยที่เป็นอดีตเทวทาสีรวมอยู่ ในอาชีพนี้ด้วย

            แต่วิหารเจ้าแม่ เยลลัมมาในแต่ละท้องถิ่น นั้น ก็ไม่ได้มีข้อปฏิบัติเหมือน ๆ กัน บางวิหารเด็กสาวที่โดนพ่อแม่ส่งมาเป็นเทวทาสี อาจไม่ต้อง พลีกายหลับนอน กับพราหมณ์ เพื่อเป็นเครื่องบูชา แลกกับการจะกลับชาติมาเกิดในวรรณะที่สูงในชาติหน้า ก็ได้  แต่บางวิหารเด็กสาวที่มาเป็นเทวทาสี นั้นจะต้องทำหน้าที่เป็นโสเภณีร่วมหลับนอน กับผู้ชาย แบบฟรี ๆ เพื่อเป็นการทำทาน ให้ตัวเองกลับชาติมาเกิดในวรรณะสูง

            สำหรับคืนแรก ของการเป็นเทวทาสี ในวิหารประเภทนี้ เด็กสาวจะถูกจับแต่งกายด้วยชุดสวยงามและมีพราหมณ์ มาทำพิธีให้ และมีการประมูลว่า ชายใดยอมจ่ายเงินค่าเปิดบริสุทธิ์สูงสุดให้แก่วัด ก็จะได้หลับนอนกับเทวทาสีคนใหม่ ที่เป็นสาวพรหมจรรย์ คนที่มาใหม่นี้

             เรื่องนี้ก็มี หลายครั้ง ที่บุตรชายจากครอบครัวที่วรรณะสูง ซึ่งพ่อแม่อยากให้มีประสบการณ์การครองเรือน ก่อนการแต่งงานจริง ก็จะส่งลูกชายของตนมาประมูล เพื่อเปิดบริสุทธิ์กับเด็กสาวเทวทาสี ซึ่งหลายครั้ง ได้สร้างความทรมาน ให้แก่เด็กสาวเหล่านี้เป็นอย่างยิ่ง ไม่ต่างจากการโดนข่มขืน เพราะพวกเธออายุ ยังน้อยมาก

            หลังจากการเปิดบริสุทธิ์แล้ว พวกเธอจะยังคงอยู่ที่วัดและทำหน้าที่เทวทาสีโดยการร่วมหลับนอนกลับชายแปลกหน้า ที่ไม่มีเงินจะไปเที่ยวผู้หญิง เพื่อเป็นการทำทาน เช่น คนขับรถบรรทุก ชายจัณฑาลเก็บอุจจาระ คนทำความสะอาดส้วม และชายชั้นต่ำอื่น ๆ  เพื่อเป็นทานให้ได้กลับชาติมาเกิดในวรรณะสูงกว่าเดิม  ซึ่งโดยคุณสมบัติแล้ว เทวทาสี นี้ จะเป็นเด็กหญิงสาว วัยรุ่นเท่านั่น และหากพวกเธออายุมากขึ้น ย่าง ถึง30 ปี เมื่อไหร่ ก็จะต้องออกจากวัดไป  

หลังจากนั้นพวกเธอ จะไม่มีคนแต่งงานด้วย และในที่สุด ก็ลงเอยเป็นโสเภณี  เรื่องนี้ ก็นักสิทธิมนุษยชนในอินเดีย ได้กล่าวว่าในแต่ละปีมีเด็กหญิงและเด็กสาวถูกครอบครัวส่งเข้ามาเป็น เทวทาสีในวัดต่าง ๆ รวมกันสูง ถึง 6,000 คน พวกเธอถูกใช้เป็นแรงงานทาสทางเพศอย่างหนัก และลงเอยด้วยการติดกามโรคและโรคเอดส์ตาย

            นี้คือ กฎแห่งชีวิต บางตอนของมนุษย์  ตามหลักพุทธศาสนา ได้สอน เราว่า ชีวิต ทุกชีวิต มีส่วนที่เป็นเหตุ เป็นผล อาศัยกันและกัน สืบต่อเนื่องกันไปอย่าง ไม่มีทางขาดสาย เมื่อสิ่งหนึ่งเกิดขึ้น ก็เป็นเหตุให้อีกสิ่งหนึ่ง เกิดขึ้น สืบต่อกัน ไม่ขาดสาย เป็นลูกโซ่ ไม่มีวันจบสิ้นได้ และไม่รู้เบื้องต้น ไม่รู้เบื้องปลาย

----------------------------------------------------

วันอังคารที่ 22 มิถุนายน พ.ศ. 2564

 

เทวทาสี โสเภณีเทพเจ้า




            ในสังคมมนุษย์ในโลกนี้ นับว่ามีเรื่องราวมากมาย ทั้งบางอย่างก็ลึกลับ พิศดาน ทั้งยังเป็นความลับ และยอมเปิดเผย นับสารพัดเรื่องราว  โดยเฉพาะดินแดนแห่งเทพเจ้า ดินแดนภารตะที่เรียกว่าอินเดียนั้น ล้วนแต่มีความเชื่อเกี่ยวกับเทพเจ้ามากมาย ถ้าให้นับจำนวนเทพเจ้า และความเชื่อที่แปลกประหลาดนั้น ถือว่ามากที่สุดเท่าที่โลกใบนี้มีกันเลยทีเดียว

            เรื่องเทวทาสี โสเภณี แห่งเทพเจ้า นั้นก็เป็นเรื่องเหลือเชื่อ เป็นเรื่องประหลาด ของชาวโลกที่น้อย คนนักที่จะรู้จัก ว่า เทวทาสี   เทวทาสี อะไร  ถ้าจะเรียกในภาษาทั่วไป ในปัจจุบันก็อาจเรียกว่า โสเภณีทางศาสนา  หรือ บางที่ ก็เรียกโสเภณีของเทพเจ้า (prostitute of gods)

            ในพระคัมภีร์ไบเบิล ภาคพันธสัญญาเดิม ก็มีการกล่าวถึง  เทวทาส ที่หมายถึง โสเภณีเพศชาย และ "เทวทาสี" ซึ่งหมายถึง เพศหญิง  ไว้ให้เราทราบ ความประหลาดเช่นกันว่า  หากเราย้อนหลังกลับไปได้ถึงราว 3,000 กว่าปี

            ว่า "..ผู้หญิงชาวอิสราเอลนั้น อย่าให้คนหนึ่งคนใด เป็นเทวทาสี อย่าให้บุตรชายอิสราเอลคนหนึ่งคนใดเป็นเทวทาส  และถ้าเป็น ท่านอย่านำค่าจ้างของเทวทาสี หรือค่าจ้างจากหมา มาในวิหารของพระเยโฮวาห์ พระเจ้าของท่าน เพื่อ เป็นเงินแก้บนอย่างหนึ่งอย่างใด เพราะสิ่งทั้งสองนี้ เป็นสิ่งพึงรังเกียจแด่พระเยโฮวาห์ พระเจ้าของท่าน" หมายความว่า พระเจ้า ไม่ยอมรับ การเป็นเทวทาสี และเทวทาส นี้ ซึ่งข้อความโบราณนี้ ได้บันทึกไว้ ในคัมภีร์ ที่ชื่อว่า เฉลยธรรมบัญญัติ  

            คำว่า เทวทาส และ เทวทาสี หรือจะเรียกว่า ทาสของเทพเจ้าที่มี ทั้งเพศชาย และเพศหญิง ก็ได้ หมายถึง ชายหรือหญิง ผู้ให้การร่วมประเวณีในพิธีศาสนาแก่ผู้มาทำพิธีบวงสรวงเทพเจ้า แต่พิธีบวงสรวงเทพเจ้า นี้ส่วนใหญ่จะเป็นหญิง มากกว่าเพศชาย  ธรรมเนียมในเรื่องนี้เกิดขึ้นเนื่องจาก ในความเชื่อโบราณนั้น เชื่อว่า การที่คนจะมาบวงสรวงบูชาเทพเจ้า หรือจะขออะไรจากเทพเจ้านั้น ต้องทำให้เทพเจ้าพอใจ หรือสนใจมาดู จึงจะสัมฤทธิ์ผล ซึ่งวิธีการ หรือพิธีบวงสรวงเทพเจ้า นั้นก็มีหลายแบบ ด้วยกนในยุคนั้น

            พิธีกรรมนั้น ปกติทั่วไป คือใช้การเซ่นไหว้ด้วยอาหาร หรือเผาสิ่งต่าง ๆ รวมทั้งเครื่องหอมให้เป็นควัน ลอยขึ้นไปให้เทพเจ้าได้รับรู้  นอกจากนั้นส่งที่ ทำควบคู่กันไปก็คือ ใช้การร่ายรำ โดยอิสตรีที่สวยงาม และมักต้องใช้หญิงสาว พรหมจารีย์ด้วย เพราะมักจะเชื่อกันว่าเทพเจ้าก็คงชอบอะไรแบบนั้น

            แต่ถ้าอยากให้ เทพเจ้าพอใจ และพิธีขลังขึ้นอีก จึงมีผู้คิดเอาใจเทพเจ้า แบบพิลึก คือ ใช้การร่วมเพศกับเทวทาส หรือเทวทาสีนี่เอง นี่คือที่มาของเรื่องประหลาดนี้ เพราะเชื่อว่าสิ่งนี้ จะเรียกร้องความสนใจจากเทพเจ้าให้อยากก้มลง มาดูมากขึ้น มนุษย์มนุษย์ ผู้คิดเรื่องนี้ เข้าใจว่าคงเป็นเช่นนั้น เมื่อเทพเจ้าก้มลงมามองดู จะขออะไรก็จะได้ดังประสงค์ นอกจากนี้ยังมีวิธีอื่นอีก เช่น อาจใช้ความรุนแรง อย่างการเชือดเนื้อกรีดเลือด และมีทั้งการใช้สัตว์บูชายัญ แต่ถ้าจะให้ขลังขึ้นก็ต้องเป็นเชือดเนื้อกรีดเลือดมนุษย์

            รายละเอียด ในพระคัมภีร์ตอนที่ว่านี้ คงเขียนขึ้นมานานมาก นับว่าหลายพันปีแล้ว ระบุให้ชัดก็คือเขียนไว้ใน สมัยวัฒนธรรมเมโสโปเตเมียโบราณ  เราอาจย้อนไปไกลถึงสามพันปี ก่อนคริสตศักราช นั้นแสดงว่าธรรมเนียมปฏิบัติ แบบนี้

             เป็นสิ่งที่ฝังอยู่ในวัฒนธรรมมนุษย์มาตั้งแต่โบราณกันแล้ว  ต่อมาก็ได้ค้นพบว่า มีในหลายวัฒนธรรม หลายศาสนาในหลายดินแดนของโลกด้วย ตั้งแต่ศาสนา เทพเจ้าโบราณในเมโสเปเตเมีย ศาสนาเทพเจ้ากรีก-โรมัน จนมาถึงศาสนาฮินดู ซึ่งส่วนใหญ่ก็ตายไปหรือสูญหายไปหมดแล้ว เนื่องจากอิทธิพลของศาสนายิวและคริสต์ มีผลต่อการดับสูญ ของวัฒนธรรมประเพณีอย่างมาก

            แต่นับว่า เหลือเชื่อว่า ธรรมเนียม เรื่องนี้ยังมีคนเชื่อ และปฏิบัติอยู่ในศาสนาฮินดู บางกลุ่มในประเทศอินเดีย แม้จนทุกวันนี้  อาจารย์อุเทน วงศ์สถิตย์ ที่เคยเป็น นักศึกษาระดับปริญญาเอก ของมหาวิทยาลัยปูเน่ ประเทศอินเดีย ก็ได้เคย อธิบายถึงความเป็นมา ของเรื่องเทวทาสี ในศาสนาฮินดู ซึ่งก็สามารถช่วยให้เห็นถึงพัฒนาการแนวคิดเรื่องเทวทาสีในศาสนาโบราณอื่น ๆ ได้ เช่นเดียวกัน

            อาจารย์บอกว่า เรื่องเทวทาสี ของฮินดู นั้น เริ่มจากความเลื่อมใสศรัทธาต่อเทพเจ้า กลัวว่าเทพท่านจะเหงา ก็เลยจัดหาความบันเทิงให้เทพเจ้า แรกๆ ก็คือการร่ายรำ หน้าที่ของเทวทาสียุคเริ่มแรกคือ รำถวายเทพเจ้า ว่าไปก็คงเหมือนละครแก้บน พระพรหมของไทย ที่แยกราชประสงค์ นั่นเอง

            ต่อมา เมื่อผู้มีอำนาจวาสนา มีทรัพย์ หรือคหบดี มีฐานะอย่างพระราชา มีศรัทธามากขึ้น จึงซื้อทาสถวายเทพเจ้า จึงให้มีหน้าที่ รำถวายประจำที่เทวสถาน ซึ่งก็คงเป็นทาสสตรี เป็นหลัก ยิ่งในรายของกษัตริย์ที่มีอำนาจมาก ก็จะถวายเทวทาสีให้เป็นจำนวนมาก เช่น บางองค์ถวายเทวทาสีคราวละนับ 100 คน ซึ่งก็ทำให้ บางวัดมีเทวทาสีนับพันคนหรือหลายพันคน สาเหตุที่เป็นเช่นนั้น เพราะเชื่อกันว่า วัดก็คือวังของเทพเจ้า ต้องมีนางทาสีมาก ๆ ไว้คอยรับใช้

            ด้วยแรงศรัทธาในเรื่องนี้ แม้แต่พระราชาบางคน ถึงขนาดถวาย พระธิดาของตนเป็นเทวทาสีก็ยังเคยมี ในธรรมเนียมของกรีก ว่าเคยกษัตริย์ ได้ถวาย พระธิดาเป็นเทวทาสี ในเทวสถาน เช่นกัน

 

            ดังนั้น สมัยในก่อน เทวทาสี จึงเป็นหน้าที่ที่สูงส่ง มีหน้าที่เล่าเรียนการร่ายรำในท่าต่าง ๆ ระบำอินเดีย  ความเชื่อในเรื่องนี้ ปัจจุบัน ก็สืบทอดกันทางเทวทาสีพวกนี้  แต่เมื่อกาลเวลาเปลี่ยนไป ความรุ่งเรือง ก็มักคู่กับความร่วงโรย เมื่อวัดใหญ่มีเทวทาสีได้มาก เพราะว่าได้รับการอุปถัมภ์จากกษัตริย์

            แต่เมื่อเกิดสงคราม กษัตริย์หมดงบประมาณ ที่จะอุดหนุน บำรุงรักษา จึงทำให้ บรรดาเทวทาสี เริ่มลำบากในการใช้ชีวิต ก็เลยจำเป็น ต้องจัดบริการเสริมเพื่อหารายได้เลี้ยงตัว โดยเริ่มจากเมื่อบางคนมาเห็นนางร่ายรำแล้วเกิดอารมณ์ จึงเกิดการเจรจาและตกลงกันได้ด้วยการจ่ายเป็นเงิน ด้วยเหตุนี้การร่ายรำในสมัยหลัง ๆ ของเหล่าเทวทาสี จึงมีการเพิ่มท่าทางที่ยั่วยวนเข้าไป เพื่อหาลูกค้า ขึ้นมาด้วย

            ต่อมาจากปัญหา ประเพณีของอินเดีย ที่ผู้หญิงต้องขอผู้ชาย เหตุเพราะถ้าหญิงไม่แต่งงาน ก็จะไม่ได้รับเกียรติ ในสังคม  เรื่องนี้จึงเข้าทาง พวกคนบาป จึงมีพวกหัวใส ผลักภาระลูกสาวของตนถวายเป็นเทวทาสี เพื่อให้แต่งกับเทพเจ้า การกระทำเช่นนี้ถือกันว่าพวกนางมีเกียรติ และไม่มีวันเป็นม่าย เพราะนางแต่งงานกับเทพเจ้าเพียงสามีเดียว แม้จะนอนกับผู้ชายทั้งหมู่บ้านก็ตาม ดังนั้น สถานที่ให้บริการของเหล่าเทวทาสีทั้งหลายนั้น ก็จะอยู่ในเทวสถานหรือบริเวณใกล้ ๆ กับเทวสถาน นั้นเอง

            นอกจากนั้น แม้ว่า เทวทาสีจะยังถูกผู้คนมองว่า เป็นโสเภณีประเภทหนึ่ง แต่ก็เป็นโสเภณีที่ดูจะมีศักดิ์ศรี มากกว่าโสเภณีธรรมดา การให้ความเคารพต่อเทวทาสีของคนทั่วไป ก็ไม่ธรรมดาเช่นเดียวกัน เช่น เทวทาสี ก็ไม่ต้องแต่งตัว วาบหวิว เหมือนโสเภณีทั่วไป ทั้งบางแห่ง เทวทาสีของเจ้าแม่บางองค์นั้น ในบางเทศกาล ก็จะมีการบูชาพวกนาง ด้วย

            ประหนึ่งว่า เหมือนอวตารของเทวีเลยทีเดียว แล้วถ้าควาย ของพวกชาวบ้านออกลูก พวกเขาก็จะเอานมควายที่ได้ครั้งแรก หลังจากการออกลูกมาให้เทวทาสีดื่ม เพื่อเป็นการขอบคุณเจ้าแม่ ยิ่งไปกว่านั้น ในช่วงเทศกาลไหว้เจ้าแม่บางองค์ ชาวบ้านก็จะพากันซื้อเสื้อผ้าใหม่ ๆ ที่เลิศหรู มาถวายเทวทาสี และเมื่อถวายเสร็จชาวบ้านจะเอามือมาแตะที่เท้าเทวทาสี เพื่อแสดงความเคารพอย่างสูงสุด ในฐานะลูกสาวของเจ้าแม่

            นอกจากนั้น เวลามีเด็กเกิดใหม่ในหมู่บ้าน เธอจะได้รับเชิญไปประกอบพิธีกรรม ชาวบ้านจะขอส่าหรีเก่าๆ ไปทำเปลเด็ก เพื่อได้รับการคุ้มครองจากเจ้าแม่ เวลามีงานแต่ง ชาวบ้านก็จะเชิญเทวทาสีไปประกอบพิธีสวมสร้อยแต่งงานให้ เพื่อจะได้มีอายุยืนยาว และไม่เป็นม่าย

            แม้ได้รับการยกย่อง เพียงใดในสังคมนั้น ฐานะของเทวทาสี ก็ยังนับว่าลำบากเช่นเดิม เพราะไม่ได้เป็นอาชีพที่ร่ำรวย ทั้งเมื่ออายุมากขึ้น รูปร่าง หน้าตาเริ่ม เหี่ยวย่น หรือไม่สวย แล้ว คนทั่วก็จะไม่ค่อยมาใช้บริการ แต่ถ้าจะเลิกก็ไม่รู้ จะไปทำมาหากินอะไร  เพราะยังมีภาระ ต้องเลี้ยงลูกเลี้ยงพ่อแม่ ทั้งยังรู้สึกว่าตนมีหน้าที่ต้องรับใช้เทพเจ้าอย่างซื่อสัตย์ ด้วย

            ทั้ง ในยุคนี้ อินเดียมีกฎหมายห้ามถวายเทวทาสี ให้กับเทวสถาน แต่ก็ยังมีการแอบปฏิบัติกัน ทำให้ปัจจุบันนี้ ก็ยังมีอยู่ โดยเฉพาะเทวสถานใหญ่ ๆ และอยู่ห่างไกลออกไปในเขตชนบท ซึ่งทางอินเดียตอนใต้ และยังพบเป็นหลายหมื่นคน

            หากมองในทางสังคมวิทยา เทวทาสี หรือโสเภณีของเทพเจ้านี้ ไม่ได้เกิดจากความศรัทธาทางศาสนาเท่านั้น แต่เป็นผลมาจากปัญหาทางวัฒนธรรม  และสังคม ในเรื่องการแต่งงาน การมีลูกผู้หญิง และปัญหาความยากจน อีกด้วย  ปัญหาในสังคมอินเดียในเรื่องนี้ ก็ยังคงอยู่ยังไม่ได้รับการแก้ไขแต่อย่างใด จากผู้นำสังคม และผู้นำประเทศ

            เพราะปัญหานั้นเกิดจากความเชื่อ ที่ล้าหลัง ไร้เหตุผลที่เป็นไปได้จริง ยังฝังรากลึกมาก ยากแก่การแก้ไขของมนุษย์ ชาวอรยัน ดังนั้น ความหวังของชาวภารตะ ก็คงต้องปล่อยไว้ และรอ ให้เป็นหน้าที่ของเทพเจ้าทั้งหลาย ชาวฮินดู  ที่อยู่บนวิหาร บนวิมาร ท่านจะลงเพื่อร่วมแรง ร่วมใจกัน แก้ไขให้กระมัง ชาวฮินดูก็ต้องร้องเพลงรอกันต่อไป

---------------------------------------