วันจันทร์ที่ 5 กรกฎาคม พ.ศ. 2564

 

ตำนานโยนก ตอนที่ ๒ แผ่นดินล่มสลาย




             เมื่อสมัยเปลี่ยน เจ้าพระยาที่ปกครองดินแดน รุ่นเก่าก็สิ้นไป รุ่นบุตรและหลานก็ขึ้นครองราชย์ แทน ล้วน เกิดขึ้น ดำรงอยู่ สักระยะ แล้วก็สิ้นไป นับว่าวนเวียนกัน เกิดแล้วดับ ดับแล้วก็เกิดใหม่ เช่นนี้ ไปไม่มีที่สิ้นสุด ล้วนแต่เป็นไปตามคำสอน คำกล่าวขององค์พุทธะ ว่ามันเป็นทุกข์ กันอยู่ร่ำไป 

            แม้ชาติใดหนุนนำด้วยบุญหนัก ชักนำให้มาเกิด มีอำนาจวาสนา เป็นผู้นำหมู่ชน ก็นัว่าเป็นกรรมที่ดี ดังในรัชกาล ของราชา องค์พังคราชเจ้า เจ้านครโยนกนาคบุรี นั้น มหาศักราช ล่วงไปได้ ๒๗๗ ปี

            ครั้งนั้น นครโยนก ถึงกาลทรุดโทรม ร่วงโรย ราชอำนาจ ของราชา อ่อนน้อยถอยลง  ก็เพราะราชาขอม ที่ค่อยอ่อนแอ กลับมากำลังเข้มแข็ง ขึ้นมาอีกในราชาองค์ใหม่ พวกขอมเมืองอุโมงค์เสลานคร ก็กำเริบตั้งแข็งเมืองขึ้น แม้เจ้านครโยนก ยกพลไปปราบปรามไม่ชนะ เพราะอ่อนแอกว่า

            พวกขอมมีกำลัง และอำนาจมากกว่า ก็ยกพลโยธาเข้าตีปล้น เอานครโยนกได้ ในวันอาทิตย์ เดือน ๕ แรม ๑ ค่ำ  ตรงกับ พระพุทธศาสนาล่วงแล้ว ๙๐๐ พรรษา พระยาขอมจึงขับไล่ พระองค์พังคราชกับราชเทวีไปอยู่ ณ เวียงสีทวง ริมน้ำแม่สาย ทิศตะวันตก ของเมืองโยนกนคร และขอมเข้าจัดการ  ตั้งเมืองขึ้นเป็นใหญ่ในนครโยนก และแว่นแคว้น น้อยใหญ่ในถิ่นนี้ ทั้งปวง

            ฝ่ายพระองค์พังคราชกับราชเทวี ที่เคยเป็นเจ้าโยนกนคร เดิม นั้น เมื่อมาอยู่ ณ ตำบลสีทวงได้ ๑ ปี ราชเทวีก็ทรงพระครรภ์ ประสูติได้ราชกุมาร องค์หนึ่ง พระบิดาขนานนาม ว่า ทุกขิตะกุมาร ชื่อนี้ มีความว่า เหตุเกิด เมื่อยามทุกข์ยาก  ครั้นอยู่ต่อมาอีก ๒ ปี ราชเทวีก็ทรงพระครรภ์อีกครั้ง ครั้นพระครรภ์ครบทศมาส ก็ประสูติราชกุมาร ในวันอาทิตย์ แรม ๘ ค่ำ เดือน ๖ ปีกาบไส้ (มะเส็ง) ราชกุมารมีวรรณะผุดผ่อง สิริรูปงดงามดุจพรหม พระบิดาจึงขนานนามว่า "พรหมกุมาร"

            ครั้นพรหมกุมาร เจริญวัย มีพระชนมายุได้ ๑๓ ขวบ มีจิตใจกล้าหาญ ชอบเครื่องสรรพยุทธ์และนิยม วิชาการยุทธ แบบทหาร ทั้งปวง ราตรีหนึ่ง ยามกลางคืนก่อนสว่าง พรหมกุมารทรงสุบินนิมิต เห็นเทพดาลงมาหา แล้วบอกว่าถ้าเจ้าอยากได้ช้างมงคลตัวประเสริฐ รุ่งเช้าวันนี้จงตัดขอไม้ไร่ถือไป

            และจงลงไปตรงฝั่งแม้น้ำนั้น เจ้าจักได้เห็นช้างเผือกล่องน้ำมาสามตัว ถ้าจับได้ตัวที่ ๑ จะได้ปราบทวีปทั้ง ๔ ถ้าจับได้ตัวที่ ๒ จะได้ปราบชมพูทวีป แต่ทวีปเดียว ถ้าจับได้ตัวที่ ๓ จะได้ปราบแว่นแคว้นล้านนาประเทศขอมดำทั้งมวล เมื่อ เทพดาบอกความแล้วก็กลับไป

 

            พรหมกุมารสะดุ้งตื่นก็พอรุ่งแจ้ง จำความฝันนั้นได้แม่นยำ จึงเรียกเด็กบริวาร ๕๐ คนมาสั่งให้ไปตัดขอไม้ไร่ ได้แล้วก็พากันไปสู่ท่าน้ำ ณ ฝั่งแม่น้ำขละนที คือน้ำแม่ของ หรือแม่น้ำโขง แล้วก็รอคอยครู่หนึ่ง ก็เห็นงูตัวหนึ่งสีเหลือง เลื่อย ตัวเป็นมันแวววาว ตัวใหญ่ยาวยิ่งนัก เลื้อยล่องน้ำมาใกล้ ช่วงท่าแม่น้ำของที่พรหมกุมาร นั้นรออยู่ตรงนั้น

            ฝ่ายพรหมกุมาร และบริวาร ก็พากันหวั่นไหวตกใจกลัว ไม่อาจจะเข้าไปใกล้ได้ ครั้นงูใหญ่ ตัวนั้นเลื่อยเลยผ่านไปแล้ว  ต่อมาอีกครู่หนึ่ง ต่อมาก็มีงูใหญ่อีกตัว ใหญ่เท่าต้นตาลเลื้อยล่องมาอีก พรหมกุมารและบริวารพากันนิ่งดู งูนั้นก็ล่องเลยไป  และสักครู่หนึ่งก็เห็นงูใหญ่ ตัวเท่าลำตาลล่องน้ำมาอีกตัวหนึ่ง

            ครั้นพรหมกุมาร และบริวาร ได้เห็นงูครบ ๓ ตัวนั้น พรหมกุมาร จึงนึกถึงความฝัน อันเทพดาบอกว่า จะมีช้างประเสริฐ ๓ ตัวล่องน้ำมา ครั้นมาพิจารณาดู ก็ไม่เห็นช้าง ได้เห็นแต่งูใหญ่ชะรอยช้างนั้น จะเป็นงูนี้เอง

            เมื่อนึกได้เช่นนั้นแล้ว จึงสั่งให้บริวารช่วยกันเอาขอไม้ไร่ เข้าเกาะเกี่ยวจับงูนั้นได้ พลันงูนั้นก็กลับกลายร่างเป็นช้าง เผือกบริสุทธิ์ พรหมกุมารมีใจยินดียิ่งนัก จึงขึ้นไปขี่บนหลังช้าง แล้วใช้ขอบังคับให้ช้างขึ้นจากฝั่ง  ช้างนั้นก็ไม่ยอมขึ้นฝั่ง แต่ได้เล่นน้ำ ทวนน้ำอยู่ไปมาทำอย่างไรก็ไม่ยอมขึ้นฝั่ง

            ครานั้น  พรหมกุมารจึงให้ บริวารรีบไปทูลพระบิดาให้ทราบ พระองค์พังคราชจึงปรึกษาโหราจารย์ โหรแนะนำให้เอาทองคำหนักพันหนึ่ง (คือหนึ่งชั่ง) ตีเป็นพาง คือกระดึงไปตีนำหน้าช้าง  ช้างนั้นจึงจะขึ้นจากน้ำได้

            พระบิดา จึงทำตามโหราจารย์ แล้วสั่งให้เจ้า ทุกขิตะกุมาร ผู้เป็นเชษฐาเอากระดึงทองคำไปตีให้เสียงดัง พญาช้าง เมื่อได้ยินกระดึงจึง เดินตาม และขึ้นจากน้ำได้  กาลต่อมา สถานที่ ที่ ๆ ช้างลอยน้ำอยู่นั้นจึงมีชื่อปรากฏว่า ตำบลควานทวน ส่วนพญาช้างมีนามว่า ช้างพางคำ

            ครั้น พรหมกุมารได้ พญาช้างมา แล้วช้างตัวนี้มีกำลังมาก เป็นกำลังสำคัญในการพัฒนากองกำลังทหาร ทำให้กำลังพลโยธา กล้าแข็งยิ่งขึ้น  ต่อมาราชกุมาร จึงให้ตั้งค่ายขุดคูทดน้ำ แม่สายมาเป็นน้ำในคูเมือง จึงให้ชื่อเมืองนั้นว่า "เวียงพางคำ"  ได้ฝึกซ้อมทหาร และตระเตรียมเครื่องสรรพวุธทั้งปวง เมื่อกองกำลังเข้มแข็งแล้ว

            พระเจ้าพังคราช ก็ตั้งตัวแข็งเมือง ไม่ยอมส่งส่วย ให้แก่เมืองขอมอีกต่อไป ครั้นพรหมกุมารอายุได้ ๑๖ ปี ก็ขาดส่งส่วย เมืองขอม มา ๓ ปี  ครานั้น พญาขอมจึงเตรียมรี้พล จะมาจับพระองค์พังค์ราช  ส่วน ฝ่าย พรหมกุมาร ก็จัดเตรียมกองทัพไว้ พร้อมรอเวลานี้อยู่ อย่างไม่ประมาท

            มหาศักราชล่วงได้ ๒๙๘  สู่ปีวอก เดือน ๗ ขึ้น ๔ ค่ำ วันอาทิตย์ พญาขอมก็ยกรี้พลมา ประชิดถึงเวียงสีทวง เมื่อเจ้าพรหมกุมารได้ทราบ ก็ขึ้นทรงช้างเผือกพางคำ ยกรี้พลออกจากเวียงพางคำ ไปโจมตีทัพพญาขอม ณ ตำบลทุ่งสันทราย ก็ได้ชัยชนะโดยง่าย ด้วยช้างม้ารี้พลพญาขอม ได้เห็นช้างเผือกพางคำก็พากันแตกตื่นพ่ายหนีไป

            พรหมกุมาร ก็เดินทัพตามมาตี จนถึงเมืองโยนกนครหลวง เข้าล้อมเมืองไว้ แล้วตีหักเข้าเมืองได้ขอมทั้งหลายพากัน แตกพ่ายหนีล่องไปทิศใต้  พรหมกุมารได้เมืองโยนกนครแล้ว ก็พักพล ให้หายอิดโรยก็ยกทัพตามตีขอมต่อไป ได้ตีเมืองขอมน้อยใหญ่ได้อีกหลายเมือง

            ไม่ว่าพวกขอมจะหนีไปทางไหน ก็ถูกตามไปตีถึงที่นั้น ขณะนั้นก็ร้อนไปถึงองค์อมรินทร์ ทรงรำพึงว่าเจ้าพรหมกุมารไล่กำจัดขอมไม่ยอมหยุดยั้ง ชีวิตมนุษย์จะเป็นอันตรายยิ่งนัก

            จำจะต้องช่วยป้องกันเอาไว้ จึงได้มีเทวโองการ สั่งให้พระวิษณุกรรมเทพบุตร ลงไปเนรมิตรกำแพงศิลากั้นทางที่พรหมกุมารเดินทัพตามไปตีพวกขอม เจ้าพรหมกุมารก็ไม่สามารถเดินทัพผ่านกำแพงศิลาไปได้ เมืองนั้นจึงได้ชื่อว่า "เมืองกำแพงเพชร" ฝ่ายขอมทั้งหลายที่เหลือตายก็พากันล่องแม่น้ำระมิงค์ ลงไปจนถึงฝั่งน้ำสมุทรแดนเมืองอินทรปัตถ์นคร

            เจ้าพรหมกุมาร ก็เลิกทัพกลับคืนมา โยนกนคร ต่อมาจึงได้ อัญเชิญพระองค์พังคราชผู้เป็นบิดาเข้าครองราชย์ สมบัติในโยนกนครตามเดิม ให้เจ้าทุกขิตกุมารพระเชษฐาเป็นมหาอุปราช ตั้งแต่นครโยนกเสียแก่ขอมเมืองอุโมงค์เสลามานานได้ ๑๙ ปี จึงได้กลับคืนมาเป็นราชธานีดังเก่า จึงมีนามว่า พระนครไชยบุรีสืบมา

            ฝ่ายเจ้าพรหมกุมาร ไม่ไว้ใจเชิงศึก เกรงว่าขอมจะกลับมาอีกจึงไปสร้างเมือง ณ ริมแม่น้ำฝาง ซึ่งไหลมาบรรจบแม่น้ำกก ฝั่งใต้อันเป็นต้นทางที่ขอมจะมา  ครั้นสร้างสำเร็จจึงขนานนามว่า เมืองไชยปราการ สำเร็จในวันพุธ ขึ้น ๑๕ ค่ำ เดือนยี่ เมืองนั้นอยู่ห่างเมืองโยนก เชียงแสน ระยะทางคนเดินสองวัน ก็คือเมืองฝางทุกวันนี้ 

            ส่วนเจ้าพรหมกุมาร ก็เสด็จมาครองราชย์สมบัติอยู่ ณ เมืองไชยปราการ นี้ เหตุฉะนั้นแว่นแคว้นโยนกจึงมี ๔ นคร คือ ไชยบุรีโยนกนครหลวงหนึ่ง เวียงไชยนารายณ์แคว้นขวาหนึ่ง เวียงไชยปราการแคว้นซ้ายหนึ่ง เวียงพางคำหนึ่ง ลำดับนั้นพระองค์พังคราช จึงให้สู่ขอนางแก้วสุภา ราชธิดาพระยาเรือนแก้ว เจ้าเมืองไชยนารายณ์อันเป็นตระกูลเดียวกันมาอภิเษกแก่เจ้าพรหมกุมารผู้ครองนครไชยปราการ ต่อมาบังเกิดโอรสองค์หนึ่ง ทรงนามว่าไชยศิริกุมาร (พระเจ้าพรหมมหาราช ถือเป็นมหาราชองค์แรกของชนชาติล้านนา)

            ส่วนพระพุทธศาสนาได้ รุ่งเรืองสมบูรณ์ ลุล่วงแล้ว ๙๕๖ พรรษา ก็ยังมี มหาเถระเจ้า ตนหนึ่งชื่อพระพุทธโฆษา เป็นชาวโกศล เมืองสุธรรมวดี ในรามัญประเทศ ท่านได้ออกไปสู่ลังกาทวีป ได้นำคัมภีร์พระไตรปิฎก จากลังกาทวีปโพ้น มาสู่รามัญประเทศ และพุกามประเทศ แล้วท่านได้ มาสู่แว่นแคว้นโยนกนครไชยบุรีเชียงแสน เมื่อ วันจันทร์ ขึ้น ๘ ค่ำ เดือน ๖ ปีชวด

            มหาศักราชได้ ๓๓๕ ได้นำพระบรมสารีริกธาตุทั้ง ๓ ขนาดรวม ๑๖ องค์ มาถวายแก่พระองค์พังคราชเจ้านครโยนก ท่านจึงแบ่งพระบรมธาตุขนาดใหญ่หนึ่ง ขนาดกลางสอง รวมสามองค์ส่งไปให้พระยาเรือนแก้วเมืองไชยนาราณ์   พระยาเรือนแก้วพร้อมด้วยพระมหายานเถร ได้รับพระบรมธาตุ แล้ว ก็สร้างพระสถูปไว้ ณ ท่ามกลางเมืองไชยนารายณ์ ชื่อว่าธาตุเจ้าจอมทอง

            ฝ่ายพระองค์พังคราชก็ให้สร้างเจดีย์องค์หนึ่ง ตั้งอยู่บนจอมเขาดอยน้อย ซึ่งเรียกว่า ดอยจอมกิติ  เป็น พระเจดีย์นั้นกว้าง ๓ วา สูง ๖ วา ๒ ศอก บรรจุพระบรมธาตุ  สร้างสำเร็จ ในวันจันทร์ ขึ้น ๑๕ ค่ำ เดือน ๖ ครั้งนั้น ได้จัดงาน มหกรรมฉลองพร้อมกับกับพระธาตุจอมทอง เมืองไชยนารายณ์

            กษัตริย์ทั้ง ๓ พระองค์  ล้วนตั้งอยู่ในทศพิศราชธรรม  ล้วนเป็นพระยาธรรมโยแท้ ทรงบำเพ็ญพระราชกุศลมิได้ขาด ลุศักราช ๓๓๓ ปี พระองค์พังค์ก็ได้เสด็จสวรรคต พระอุปราชทุกขิตาได้เสวยราชในเมืองโยนกสืบมาได้ ๑๖ ปี ลุศักราชได้ ๓๔๙ พระเจ้าทุกขิตะราช ทรงประชวรและเสด็จสวรรคต ลำดับนั้นพระองค์มหาวันราชโอรสพระชนม์ได้ ๔๖ พรรษาได้สืบสุริยวงศ์ ดำรงราชสมบัติ ต่อไป

            ฝ่าย พระเจ้าพรหมมหาราช นั้น ก็เสวยราชสมบัติในนครไชยปราการได้ ๕๙ พรรษา มหาศักราชได้ ๓๕๕  จึงเสด็จสวรรคต เสนาอามาตย์ จึงพร้อมกันอัญเชิญพระองค์ไชยศิริราชโอรสขึ้นเสวยราชสมบัติสืบต่อมา ลุศักราชได้ ๓๖๕ พระองค์ไชยศิริ ก็ดำรงราชสมบัติในนครไชยปราการได้ ๑๑ ปี

ยังมีกษัตริย์เจ้าองค์หนึ่ง เป็นใหญ่ในสุธรรมวดีมหานคร คือเมืองสะเทิมในรามัญประเทศ ทางทิศหรดี ฝ่ายฟากแม่น้ำคงฝั่งตะวันตก ได้ยกพยุหโยธา มีรี้พลอันมากข้ามแม่น้ำคง มาถึงตำบลโพธิ์ ๔ ต้น  ชาวเมืองมิลักขุทั้งหลาย จึงมาแจ้งข่าวศึก ยังนครไชยปราการให้ทราบ  

            ฝ่าย พระเจ้าไชยศิริทรงทราบ ข่าวการศึก ก็แจ้งข่าว ต่อไปยังพระเจ้านครไชยบุรีโยนก และพระเจ้านครไชยนารายณ์ให้ทราบ ครานั้น กษัตริย์ทั้ง ๓ นคร ก็จัดกองกำลัง ป้องกันพระนครเป็นสามารถ แล้วส่งกองทัพไปสู้รบต้านข้าศึก กองทัพได้ยกออกไปจากนครไชยปราการ ณ วันอังคาร เดือน ๗ ขึ้น ๑ ค่ำ ไปตั้งค่ายมั่น ณ ตำบลห้วยเป้า และตำบลโป่งน้ำร้อน ช่องเขาแดนเมือง ได้สู้รบกับกองทัพพม่า รามัญ และไทยใหญ่เป็นสามารถ ตั้งแต่เดือน ๗ จนถึงเดือนอ้าย กองทัพพม่ารามัญก็มิถดถอย ยิ่งหนุ่นเนื่องกันหนัก ฝ่ายกองทัพชาวโยนก  ก็อิดโรยอ่อนกำลังก็ถอยล่ามาทุกวัน

            พระเจ้าไชยศิริราชให้โหราจารย์ คำนวนดูชะตาเมือง โหรถวายพยากรณ์ว่าชะตาเมืองขาดตกที่ศูนย์ทั้งสามฐาน เห็นการจะรักษาไว้มิได้ พระเจ้าไชยศิริได้ ฟังดังนั้นจึงดำรัสว่าเราจะไม่ยอมเป็นเชลยของใคร เมื่อชะตาเมืองขาดเสียแล้ว เราก็จักทำเมืองให้เป็นป่า ไปหาที่ตั้งเมืองอยู่ใหม่ พระองค์จึงกำหนดให้ป่าวประกาศแก่เสนาอำมาตย์ราษฎรทั้งปวง ให้รวบรวมเสบียงอาหาร ทรัพย์สิ่งของแต่ที่พอจะเอาไปได้ ที่เหลือจากเอาไปไม่ได้นั้น  ก็ให้จุดไฟเผาบูชาเพลิงเสียจงสิ้น อย่าเหลือไว้ให้ข้าศึกได้ เสนาอำมาตย์ราษฎรชาวนครไชยปราการ ก็กระทำตาม ที่พระราชาบริหาร

            กาลลุ มาถึงมหาศักราช ๓๖๖ ปีมะเส็ง วันพฤหัสบดี เดือน ๘ แรม ๑ ค่ำ พระเจ้าไชยศิริก็ยกรี้พลครอบครัว อพยพออกจากนครไชยปราการ ครั้นจะขึ้นไปทางเมืองไชยบุรีเชียงแสน ทางต้องข้ามแม่น้ำกก เป็นฤดูฝนน้ำหลากข้ามยาก จึงให้ไปทางตะวันออกเฉียงใต้ทางผาหมื่น ผาแสน แล้วไปถึงเขาชมภูคือดอยด้วน ซึ่งภายหลังเป็นที่ตั้ง เมืองพะเยา

            พระองค์ ได้พักพลอยู่ที่ดอยด้วนนั้น พอหายอิดโรยแล้ว ก็ยกพลล่วงลงมา ทางทิศใต้ เดินทางพักผ่อนรอนแรมมาได้ ๑ เดือน ก็บรรลุถึงแดนเฉลี่ยง ซึ่งพระเจ้าพรหมมหาราช พระราชบิดาได้ปราบขอมลงไปถึงถิ่นนั้นตั้งแต่กาลก่อน จึงพักพลอยู่ ณ ที่ใกล้เมืองร้าง ตรงฟากฝั่งกับเมืองกำแพงเพชร (คือเมืองแปบ) มีปะขาวคนหนึ่ง มาชี้ที่ตั้งนครว่า ขอมหาราชจงตั้งพระนคร ณ สถานที่นี้เถิด เป็นชัยภูมิดี บ่มีข้าศึกมาเบียดเบียนได้ แล้วปะขาวก็อันตธานหายไป เฉพาะหน้าพระที่นั่ง

            พระเจ้าไชยศิริก็แจ้งประจักษ์ในพระทัยว่า องค์อมรินทร์ธิราชเสด็จมาชี้ที่ตั้งพระนคร มีพระทัยโสมนัสปรีดายิ่งนัก จึงให้ตั้งหลัก พักพล  ณ ที่นั้นถ้วน ๓ วัน ลุถึง ณ วันอังคาร เดือน ๙ แรม ๕ ค่ำ จึงให้ฝังหลักเมืองตั้งพระนคร ล้อมระเนียด ตั้งค่ายคู ประตู หอรบ ครบบริบูรณ์ ครั้นสำเร็จจึงขึ้นครองนครขนานนามว่า เมืองกำแพงเพชร

             เมื่อนี้ เริ่มต้น มีประชาชน คนแสนครัวก็ตั้งบ้านเรือนอยู่ริมน้ำแม่ระมิงค์ ตลอดสบน้ำทั้งสองฟาก มีพระนามปรากฏว่า พระเจ้าไชยศิริเชียงแสน เป็นใหญ่ในแคว้น นั้นสืบมา

            ทางด้านนครไชยปราการ เมืองฝางนั้น ครั้นเมื่อพระเจ้าไชยศิริอพยพไพร่พลเมืองมาเสียแล้ว กองทัพชาวสุธรรมวดี ก็เข้าเมืองไชยปราการได้ ก็มิได้พบปะผู้คน และทรัพย์สิ่งของ เสบียงอาหารอันใดเหลืออยู่เลย นอกจากเถ้าและถ่านเพลิง พระเจ้าสุธรรมวดีก็ให้เลิกทัพกลับคืนนคร

            ฝ่ายพระองค์มหาวัน ครอบครองนครไชยบุรีโยนก ได้ ๒๐ พรรษา ถึง ณ ปีวอก มหาศักราชได้ ๔๖๗ ก็เสด็จทิวงคต พระชนมายุได้ ๖๗ พรรษา  ลำดับนั้นจึงพระองค์มหาไชยชนะ ราชโอรสได้รับราชาภิเษกทรงราชสมบัติ สืบสันตติวงศ์ องค์ต่อมา

            ลุศักราช ๔๖๗ ปีเถาะ  พระองค์มหาไชยชนะเสวยราชย์ได้ ๑ ปี อยู่มาวันหนึ่ง เป็นวันเสาร์ เดือน ๗ แรม ๗ ค่ำ มีราษฎรคนหนึ่งไปหาปลา ในแม่น้ำกุกะนที ได้ปลาไหลเผือกตัวหนึ่งใหญ่เท่าลำตาลยาว ๗ วา พวกเขา ก็พากันทุบตีหวังให้ตาย แล้วผูกเชือกชักลาก มาตามลำห้วย ซึ่งภายหลังมีชื่อว่า ห้วยแม่ลาก

            ชาวเมืองเห็นว่าแปลก จึงนำ ปลาไหลเผือก นั้น มาถวายพระเจ้านครโยนกมหาวันไชย  เจ้านครโยนก ไม่ได้พิจารณาให้รอบคอบ  ทรงสั่งให้แล่เนื้อ  ปลาไหลเผือก นั้น ออกแจกจ่ายกิน กันทั่วทั้งเมือง   

            ครั้นล่วง เวลาราตรีกาลค่ำ คืนวันนั้น ในปฐมยาม หรือประมาณตีหนึ่ง  แผ่นดินก็เกิด สะท้าน สะเทือน ดังสนั่น ครั่นครื้น ขึ้นครั้งหนึ่ง ครั้นล่วงเข้ามัชฌิมยาม ยามสอง แผ่นดินเมือง ก็ดังสนั่นลั่นเลื่อนอีกครั้ง  พอล่วงเข้าปัจฉิมยาม แผ่นดินเมือง ก็ดังกึกก้อง เป็นคำรบสาม

            ในที่สุด พื้นแผ่นดิน แห่งเมืองโยนกนคร ก็ทรุดล่มจมลง กลายเป็นหนองน้ำขนาดใหญ่ ไปชั่วพริบตา พระเจ้าแผ่นดินและขัติยวงศาเสนาอำมาตย์ราษฎรบรรดาที่อยู่ในนครนั้น ก็ถึงกาลกิริยาไปตามยถากรรม ยังเหลือแต่เรือน หญิงม่ายหลังหนึ่งค้างอยู่ขอบหนอง

            ครั้นรุ่งขึ้นเช้า ขุนพันนาและชาวบ้านนอก เมืองทั้งหลาย ต่างก็พากันไปดูเหตุการ ได้พบหญิงม่ายคนนั้น จึงไถ่ถามก็ได้เนื้อความจากถ้อยคำแห่งหญิงม่ายนั้นว่า  เมื่อเวลาพลบค่ำมีมาณพหนุ่มน้อยผู้หนึ่งมาจากเมืองใดก็ไม่ทราบ มาขอพักอาศัยอยู่ที่เรือนหญิงม่ายนั้น

            มานพนั้น ถามว่าชาวเมืองนี้ เอาอะไรมากินกัน ทำไม่กลิ่นหอมยิ่งนัก หญิงม่ายนั้นจึงตอบว่า เขาได้ปลาไหลเผือกตัวใหญ่มาตัวหนึ่ง แล้วนำมาถวายองค์ราชา  องค์ราชานั้น ก็ตรัสว่า ให้แล่เนื้อแจกจ่ายกันไปกิน

            ส่วน มาณพผู้นั้น ก็ถามว่า ป้าได้กินกับเขาด้วยหรือไม่ หญิงม่ายผู้นั้นตอบว่า ป้าเป็นคนชรา เป็นแม่ร้าง แม่ม่ายหาลูกหลาน มิได้ ไม่มีใครให้กินหรอก มาณพนั้นจึงกล่าวแก่หญิงม่ายนั้นว่า ป้าไม่ได้กินก็ดีแล้ว อย่าได้พูดจาไป ข้าของลาก่อน

            ข้าจะไปเที่ยวยามหนึ่งก่อน ภายหลังมีเหตุการณ์ประการใดก็ตาม ถ้ายายยังไม่เห็นข้า ผู้หลานนี้กลับมา ก็อย่าได้ลงจากเรือนก่อนเป็นอันขาด จำความหลานไว้ให้ดี

            เมื่อ สั่งเช่นนี้แล้ว มาณพหนุ่มก็ลงจากเรือนไป ได้สักครู่ใหญ่ ก็ได้ยินเสียงดังมา สนั่นหวั่นไหว ได้ยินแต่เสียงอึกทึกโกลาหล ต่อมาเสียงโกลาหลนั้นก็สงบไป แล้วก็กลับมาดังอีกเล่า ครั้นดัง ครบถ้วน ๓ ครั้ง หายไป นางก็แลเห็น ทั้งเมือง ในเมืองก็เห็นแต่น้ำ เต็มไปหมด

            เมื่อขุนพันนา ทั้งหลาย ได้ฟังหญิงม่ายเล่าความดังนั้น จึงได้ทราบเหตุ เขาก็รับเอาหญิงม่ายนั้นไปเลี้ยงไว้  แล้วเขาก็ประชุมกัน เลือกสรรเอาโภชก นายบ้านผู้หนึ่งชื่อขุนลัง ยกขึ้นเป็นประธานาธิบดี แล้วจึงสร้างเมืองใหม่ริมแม่น้ำของ ฟากตะวันตก เป็นเบื้องตะวันออกแห่งเมืองเก่าที่ล่มจมเป็นหนองน้ำนั้น

            ให้ตั้งหลักเมือง สร้างเมืองใหม่ ในวันอังคาร เดือน ๘ ขึ้น ๗ ค่ำ ปีเมิงเม้า คือปีเถาะ มหาศักราชได้ ๔๗๖ สร้างสำเร็จแล้วให้ชื่อว่า "เวียงปฤกษา" (ปรึกษา) แต่นั้นมาก็สิ้นกษัตริย์วงศ์สิงหนวัติ นับได้ ๔๕ ราชวงศ์ แต่ก็ยังเหลือ เมืองไชยนารายณ์ พระยาสร้อยหล้า ลูกพระยาสร้อยฟ้ายังครองราชย์สมบัติ อยู่ต่อมา แต่ข้างฝ่ายเมืองไชยบุรี ก็มีแต่ชาวเมืองสืบต่อ กันมา

            มหาศักราชได้ ๔๗๘ ขุนลัง ก็ได้สร้างเจดีย์ธาตุดอยขัน ขึ้นในวันศุกร์ เดือน ๖ ขึ้น ๑๕ ค่ำ ปีมะเส็ง ครั้นต่อมา ลุศักราช ๔๘๖ ขุนลัง ก็ครองเมือง เป็นราชาเมืองได้ ๑๑ ปี ก็มีนายบ้านผู้หนึ่งชื่อว่า ขุนข้าง ได้กินเมืองสืบมา ได้อีก ๗ ปี ศักราช ๔๙๒ ขุนข้างถึงแก่กรรม

            ขุนลาน ผู้บุตร ก็ได้ครองเมืองสืบไป ศักราชได้ ๕๐๐  ปี ขุนลานป่วย ถึงแก่กรรม ขุนถานได้แทนที่เจ้าเมือง  ศักราชได้ ๕๐๗ ปี ขุนถานกินเมืองได้ ๘ ปี ถึงแก่กรรม ต่อมาก็เป็นขุนตาม ได้ขึ้นแทนที่ เป็นเจ้าเมือง  วงศ์ราชานี้  มีเจ้าเมืองสืบต่อกันมาอีกหลายคน คือ ขุนตง ขุนติม ขุนแต่ง ขุนจันทร์ ขุนคง ขุนจวง  ขุนทรง ขุนชิต ขุนอินทิ ขุนสุทธิ และ ขุนศุกขะ

            จนถึงศักราช ๕๙๙ ปีจอ รวม ๑๕ ชั่วอายุเจ้าเมือง ตั้งแต่พุทธกาลล่วงได้ ๑๑๑๐ พรรษา จนมาถึงพุทธกาลได้ ๑๑๘๑ พรรษา  รวมเป็นเวลาที่ขุนแต่งเมือง หรือประธานาธิบดีเวียง ปฤกษา มานานได้ ๙๓ ปี จึงถึงสมัยกาลที่ พระเจ้ากรุงภุกาม ผู้ทรงนาม อนุรุธธัมมิกราช ลบมหาศักราช ตั้งเป็นจุลศักราช เอกศกขึ้นใหม่ในปีกุน วันอาทิตย์เดือน ๕ แรม ๑๓ ค่ำ ข้อความ ในตำนาน ราชา ทศพิราชธรรม แห่งสิงหนวัติก็ยุติเพียงเท่านี้

            ปัจจุบัน ก็เหลือแต่ตำนาน ให้เล่าขาน และร่องรอยของแผ่นดิน ที่เป็นหลักฐานว่าจริง ให้อนุชนรุ่นหลังได้ รู้ถึงความรุ่งเรือง ความสำเร็จ ความผิดพลาด ความล้มเหลว ของบรรพบุรุษ ให้มนุษย์รุ่งหลังได้ ศึกษาเป็นบทเรียน ว่าความหลงผิด คิดผิด กระทำผิดพลาดนั้น ยังผลต่อไปถึง ความวิบัติแห่งตน วิบัติ แห่งหมู่คณะ วิบัติ แห่งดินแดน  ที่เรียกว่า การล่มสลาย ของแผ่นดิน ได้อย่างไร เพราะประวัติศาสตร์ พร้อมที่จะย้อนรอยเดิมเสมอ ถ้ามนุษย์ยุคต่อ ๆ มายัง ไม่เปลี่ยนเส้นทางเดิน แบบเดิม ผลตามมาก็คง สรุปกัน เป็นแบบเดิม เดิม ไม่ว่าจะเป็น ความรุ่งเรือง และความล่มสลาย แห่งแผ่นดิน

-------------------

วันอาทิตย์ที่ 4 กรกฎาคม พ.ศ. 2564

 

นครโยนก ตระกูลพญานาคสิงหนวัติ #ตอนที่ ๑




            ฟ้าบันดาล ดินประทาน ประสานบุคคล ประสานเทพ นาค ภารกิจ อันเที่ยงธรรมนั้น ย่อมสมบูรณ์

            หลังจากแคว้นสุวรรณโคมคำ ล่มสลายลงไปแล้ว  ก็ได้เกิดแคว้นใหม่ขึ้นมาแทนที่ ในเวลาต่อมา เรียกว่า แคว้นโยนก อันเป็นต้นเคล้าถิ่นกำเนิด ของชาวไทยยวน หรือ ชาวล้านนา ก่อนก่อกำเนิดอาณาจักรอ้ายลาว และอาณาจักร น้อยใหญ่ ในลุ่มแม้น้ำ ขละนที หรือแม่น้ำโขง ในปัจจุบัน

            ครั้งนั้น มีพระมหากษัตริย์ อ้ายลาว องค์หนึ่ง ทรงพระนามว่า "พระเจ้าเทวกาล" เป็นใหญ่กว่าเชื้อไทยทั้งหลาย  หมายถึง ชาวเชื้อสายไทเมือง หรือไทใหญ่ ที่อาศัยอยู่ ปลายแม่น้ำเอราวดี ทั้งพม่ายังเรียกว่า ไทยโม  พระองค์ได้ เสวยราชสมบัติ ณ เมืองนครไทยเทศ คือเมืองราชคฤห์มหานคร  แต่คงไม่ใช่ กรุงราชคฤห์ในอินเดีย  เพียงแต่ชื่อตั้งคล้ายกัน ของยุคสมัยที่ต่างกัน พระนครแห่งนี้ ล้วนสมบูรณ์ด้วยราชสมบัติ อันมั่งคั่ง ประชาชน พลานิกรต่างสโมสรเกษม สุขยิ่งนัก เพราะผู้ครองนครทรงธรรม

            พระมหากษัตริย์เจ้านครไทเทศ มีพระโอรสถึง ๓๐ องค์ พระธิดา ๓๐ องค์ เมื่อโอรสธิดามีพระชนมายุ พอสมควรแล้ว พระบิดาจึง จัดพิธีอภิเษกให้เป็นคู่ ๆ กันไป แล้วก็แบ่งปันราชสมบัติให้แยกย้ายกันไปเป็นพระยา ปกครองนครต่าง ๆ ใน แดนจตุรทิศ  ในดินแดนน้อยใหญ่แห่งตน

            เว้นแต่ พระเชษฐา โอรส องค์ใหญ่ ผู้มีนามว่า "ภาทิยกุมาร" พระบิดาให้เถลิงอุปราชาภิเษก ขึ้นดำรง ตำแหน่งอุปราช เพื่อจะให้สืบราชสันตติวงศ์ ในนครไทยเทศ ในกาลข้างหน้า  ฝ่ายราชกุมารและกุมารีทั้งหลาย ซึ่งพระบิดาให้ไปปกครองนครต่าง ๆ นั้น ก็กราบขอพร และทูลลาพา บริวารของตนแยกย้ายกันไป

            ราชกุมาร องค์น้อย ทรงพระนาม "สิงหนวัติกุมาร" เหตุด้วยมีกำลังมากดุจราชสีห์ ราชกุมารองค์นี้พาบริวารไป เป็นคนจำนวนแสนครัว ออกจากนครไทยเทศในเดือน ๘ ขึ้น ๒ ค่ำ วันพุธ ข้ามแม่น้ำสารยูไปหนอาคเนย์ เพื่อจะแสวงหาภูมิประเทศที่เหมาะสม จะตั้งพระนคร

            เสด็จสัญจร รอนแรม ในป่าได้สี่เดือน  ถึง ณ วันศุกร์ เดือน ๕ ขึ้น ๑๑ ค่ำ ก็ลุถึง แม่น้ำขละนทีคือแม่น้ำของ หรือแม่น้ำโขง  อันเป็นแว่นแคว้น เดิมของสุวรรณโคมคำขอมเขต ที่เคยล้มสลาย ซึ่งในเวลานั้น เป็นเมืองร้างมานาน ตั้งแต่ครั้งศาสนาพระพุทธเจ้ากัสสปะ

            สมัยนั้นมี มิลักขุชน ชาวป่าชาติละว้า (ลั๊วะ) หรือลาวตั้งเคหสถานเป็นหมู่ ๆ อยู่ตามแนวภูเขา มีหัวหน้าเรียกว่า "ปู่เจ้าลาวจก" เหตุผู้เป็นหัวหน้านั้นมีจก จกหรือจอบ คือ จอบ ขุดดิน เจ้าลาวจก นี้มีจอบขุดดินนี้ มากกว่า ๕๐๐ เล่ม สำหรับแจกจ่ายให้หมูบริวารเช่ายืมไปทำไร่

            สถานที่ซึ่งปู่เจ้าลาวจก อาศัยอยู่นั้น เรียกกันว่า ดอยสามเส้า หรือสามยอด คือมีดอยทา อยู่หนเหนือหนึ่ง ดอยย่าเถ้า อยู่ท่ามกลางหนึ่ง ดอยดินแดง หรืออีกนามหนึ่งว่าดอยปู่เจ้า อยู่เบื้องทิศหนใต้

            ดอยทั้งหลายนี้ ครั้นต่อมา เรียกว่า ดอยตายะสะ แต่บัดนี้เรียกว่า ดอยตุง มีอยู่หนพายัพเมืองเชียงแสน ระหว่างแดนต่อแดนกับเมืองเชียงตุง แม้นามเมืองเชียงตุง ก็ได้มาจากนามดอยนี้ เช่นกัน   เหตุอันเรียกดอยม่อน เหนือว่าดอยทานั้น เพราะเป็นทางขึ้นลง เป็นท่าซื้อขาย แลกเปลี่ยนสินค้า พืชไร่ในระหว่างพวกลาวจก กับพวกขอมชาวเมือง จึงเรียกดอยม่อนนั้นว่าดอยท่า กลายมาเป็นดอยทา ส่วนดอยม่อนกลางซึ่งเรียกว่าดอยย่าเถ้า เพราะเป็นบ้านของย่าเถ้า ผู้เป็นภรรยาของปู่เจ้าลาวจก ส่วนปู่เจ้าลาวจก อยู่ดอยดินแดงจึงเรียก ดอยปู่เจ้า

            ครั้นภายหลังมา ดอยดินแดง เป็นที่ประดิษฐาน พระมหาสถูป บริเวณพระสถูปนั้น หมายเขตด้วยธงรูปตะขาบใหญ่ คนทั้งหลายจึงเรียกว่า ดอยธง หรือดอยตุง ในปัจจุบัน  บางตำนานก็เรียกว่า เกตุบรรพต  และนามเมืองเชียงตุง นั้น มีอีกนามว่า เขมรัฐโชติตุงบุรี  สำแดงความว่า ธงอันสุกใสในแว่นแคว้นขอม  

            ในสถานที่เชิงดอย  นั้นเป็นที่เจริญ ด้วยเป็นตลาด ซื้อขายพืชไร่นั้น จนภายหลังกลายเป็นเมืองไร ที่ตลาดขายบวบ กลายเป็นเมืองบวบ ดังปรากฏ มาจนทุกวันนี้

            เมื่อเจ้าสิงหนวัติกุมาร กับหมู่บริวารได้มาถึงถิ่นประเทศนี้แล้ว ก็ตั้งหลัก พักพลอยู่ริมฝั่งแม่น้ำละว้านที คือน้ำแม่สาย ในบัดนี้  ที่ตั้งนั้น อยู่ห่างจากน้ำของ ๘๐๐๐ วา หรือ ๓๕๐ เส้น ครั้น ณ วันศุกร์ เดือน ๖ ขึ้น ๑ ค่ำ ปีร่วง เป้าฉลู อัฐศก ศักราชขึ้นใหม่เป็นปีที่ ๑๗ 

            ครั้งนั้น ยังมี พญานาคราช ตัวหนึ่ง จำแรงกายเป็นพราหมณ์ เข้ามาสู่สำนัก เจ้าสิงหนวัติกุมาร ได้กล่าวคำสนทนา ตามสมควรแล้ว

            ก็แสดงตน  ให้ทราบว่า ตนนี้เป็นนาคราชผู้อารักขาสถาน ถิ่นแห่งนี้  มีนามกรว่า "พันธุนาคราช" แล้วกล่าวคำอนุญาต ให้เจ้าสิงหนวัติกุมาร ตั้งพระนคร ในดินแดนแห่งนี้ได้  และจะช่วยสร้างพระนคร แห่งนี้ แต่มีข้อแม้ ว่า ให้สัจจะ คำปฏิญาณแห่งราชกุมารว่า การปกครอง บ้านเมืองนั้น ขอให้พระองค์ อย่าเป็นราชา ที่เป็นพาล ต้องตั้งตน อยู่ในศีลสัตย์ สุจริตเป็นธรรม ตั้งปกครองชน อยู่ในทศพิศราชธรรม เมื่อตกลงกันดีแล้ว

            ฝ่ายพญานาค นาคพันธุ ในร่างพราหมณ์ ก็อำลาไป ทั้งได้นำ ราชบุรุษเสนาอามาต ๗ คน ของ เจ้าสิงหนวัติกุมาร ไปตรวจแผ่นดิน อาณาเขตบริเวณสถานที่ ที่จะให้ตั้งพระนคร  ดินแดนนี้อยู่ ทางทิศหรดี  ไกลไปประมาณ ๑๐๐๐ วา

            เมื่อถึงสถานที่นั้นแล้ว แนะนำกันพอเข้าใจแล้ว พญานาคพันธุพราหมณ์  ก็แฝงกาย หายกายวับไป ฝ่ายราชบุรุษอามาตย์ ทั้ง ๗ คน ก็ได้เห็นเป็นอัศจรรย์ใจ แล้วก็กลับมาทูลความ จริงแก่เจ้าสิงหนวัติกุมาร

            ครั้นราตรีกาลดึกสงัด ในวันนั้น บรรดา นาคราชทั้งหลาย ก็สำแดงฤทธิ์ขวิดควัก ขุดแผ่นดินพสุธาดล ดันเป็นคู เมือง ขอบรอบอาณาเขต ดันดินสร้างเป็นกำแพงเมือง กว้าง ๓๐๐๐ วา โดยรอบทุกด้าน เมื่อสร้างเสร็จ รอบทิศกำแพงเมืองแล้ว พวกเสนานาคราช ก็กลับคืนสู่บาดาลที่อยู่แห่งตน 

            ดังว่า เมืองนี้สำเร็จด้วย นาคานุภาพ จึงได้มีนามว่า นาเคนท์นคร นาคบุรีก็เรียก อีกนามหนึ่งเรียกตาม พันธุนาคราชกับนามเจ้าสิงหนวัติกุมาร มารรวมกันว่า "เมืองนาคพันธุสิงหนวัตินคร"

            แต่ภายหลังมา เรียกว่า "โยนกนครหลวง"   พอรุ่งเช้า เจ้าสิงหนวัติกุมาร ก็เสด็จตรวจเห็นภูมิสถานที่จะสร้างพระนครแล้ว ก็ทรงปราโมทย์ ยินดี จึงให้ระดมไพร่พล ตั้งเขตป้องกันเมืองหน้าด่าน ให้ทำการสร้างปราการนคร และพระราชนิเวศน์ มนเทียรสถาน ที่ประทับอันวิจิตรพิสดาร กาลไม่นานก็เสร็จ ครบถ้วน

            เจ้าสิงหนวัติกุมาร จึงเสด็จเข้าครองนคร เป็นปฐมกษัตริย์ขัติยวงศ์ ดำรงโยนกนาคนคร จึงให้เรียกขุนมิลักขุทั้งหลาย มาถวายบังคม ขุนมิลักขุชนทั้งหลาย และบริวารก็พากันอ่อนน้อม ยอมขึ้นอยู่ในพระราชอำนาจทั้งสิ้น เว้นแต่พวกขอมเมือง อุมงคเสลานคร หายอมไม่

            ล่วงมาได้ ๓ ปี พระเจ้าสิงหนวัติ ก็ยกพลโยธาไปตีเมืองชาวขอม พวกขอมสู้รบต้านทานกำลังไม่ได้ก็พ่ายแพ้ ทั้งตีได้เมืองอุมงคเสลานคร เมืองนี้อยู่ทิศหรดี ปลายน้ำแม่ กกนที เป็นที่อยู่ของพวกขอมดำ พวกขอมนี้ ตั้งเมืองถิ่นนี้มานาน ยุคเดียวกับเมืองสุวรรณโคมคำ คือเป็นเมืองของพาหิรอำมาตย์ ได้บันทึกไว้ในตำนานสุวรรณโคมคำ

             ครั้นเจ้าสิงหนวัติกุมาร ตีได้เมืองอุมงคเสลานคร สำเร็จแล้ว ก็แต่งกองทัพไปปราบปรามหมู่ขอมทั้งหลายในตำบลต่าง ๆ ทั่ว แว่นแคว้นล้านนาได้ครบทุกตำบล เมื่อศักราชล่วงได้  ๒๐ ปี แว่นแคว้นโยนกนาคพันธุนคร ก็มั่นคง มีอาณาจักรแผ่ขยายไปทุกทิศานุทิศ ทิศบูรพาถึงแม่น้ำแท้แม่ม่วง เป็นแดนต่อจุฬนีนคร เมืองตังเกี๋ย ทิศปัจจิมถึงดอยรูปช้าง ฟากตะวันตกแม่น้ำคง เป็นแดน ทิศอุดรถึงปากทางหนองกระแส หลวงพระยากาจก เป็นแดนต่อแดนเมืองมิถิลารัฐมหานคร หรือเมืองตาลีฟู ของจีนในปัจจุบัน

            ส่วน ทิศใต้ถึงปากน้ำแม่ระมิงค์ หรือแม่น้ำปิง เป็นแดนต่อ กับละวะรัฐมหานคร คือว่าเมืองละโว้ ถ้าเรื่องนี้เกิดก่อนพุทธกาลจริง เมืองละโว้ก็ยังไม่เกิด เพราะพงศาวดารเหนือว่า เมืองละโว้ตั้งเมื่อพุทธกาลล่วง ๑๐๐๒ ปี

            ตามพงศาวดารจีนแจ้งว่า เมืองยุนชาง หรือโยนก แยกจากน่ำจิ๋วในแผ่นดินราชวงศ์ถัง ก่อนจุลศักราช  ๒๐ ปีเท่านั้นเอง  พระเจ้าสิงหนวัติได้ครองราชย์ ในโยนกนาคนคร ได้ ๕๒ ปี ศักราชได้ ๖๘ ปี  แล้วก็มี พระบรมโพธิสัตว์ก็มาอุบัติในโลก

            ในตำนานเดิมนั้น ยังได้กล่าวถึงพุทธพยากรณ์ อยู่หลายเรื่อง ที่เกี่ยวข้องกับพระพุทธประวัติในดินแดนแห่งนี้  ครั้นพรรษาที่ ๑๖ พระพุทธเจ้าเสด็จออกจากกรุงกบิลพัส เสด็จมายังแคว้นโยนกนาคพันธุสิงหนวัตินี้ ประทับสำราญอยู่ ณ ดอยน้อยหนพายัพ ห่างเวียง ๑๐๐๐ วา พระเจ้าสิงหนวัติได้กราบทูลอาราธนาสมเด็จพระบรมศาสดาและพระอรหันต์สาวกทั้งหลาย ให้เข้าไปฉันภัตตาหาร ในพระราชวัง

            ขณะนั้นพระยาช้างต้น ของพระเจ้าสิงหนวัติ ได้เห็นพระพุทธฉัพพรรณรังสีเป็นที่อัศจรรย์ใจ ก็ตื่นตกใจวิ่งออกจาก แหล่งโรงช้าง  แผดเสียงแล่นร้อง "แสน ๆ" ไปทางทิศอุดร แล้วก็ไปหยุดอยู่ ณ ฝั่งแม่น้ำขละนที หรือแม่น้ำโขง ในปัจจุบัน 

            ด้วยเหตุนี้ พระพุทธองค์ทรงแย้ม พระโอษฐ์ ตรัสพยากรณ์ว่า ภายหน้าจักมีพระยาตนหนึ่งมาสร้างนคร ณ สถานที่ ๆ ช้างไปหยุดยืน เมืองนั้นจะชื่อว่า เมืองช้างแสน ตามนิมิตอันช้างร้อง แสน ๆ บัดเดี๋ยวนี้เรียก เมืองนี้ว่า เมืองเชียงแสน

            ต่อมาพระพุทธองค์ ก็เสด็จไป โปรดสัตว์ตามพุทธกิจ เสด็จไปประทับในสถานที่ต่าง ๆ หลายตำบล ในที่สุด ได้เสด็จไปจำพรรษาอยู่ ณ ปราสาทอาฬวกยักษ์ ณ เมืองเชียงรุ่ง สิบสองปันนา แล้วก็ทรงพยากรณ์อีกว่า ภายหน้าที่นี้จะได้ มีเมืองหนึ่งตรงนี้ ชื่อว่า อาฬวีเชียงรุ้ง หรือเมืองเชียงรุ้ง ในกาลต่อมา

            ครั้นออกพรรษา แล้ว ก็เสด็จกลับจากเชียงรุ้ง มาประทับยังเมืองโยนกนาคนคร ทั้งได้ ประดิษฐสถาน ประทับรอยพระพุทธบาทไว้ ณ ตำบลผาเรือแห่งหนึ่ง ตำบลสันทรายหลวงแห่งหนึ่ง  แล้วก็เสด็จไปสู่เวฬุวนาราม แขวงเมืองราชคฤห์มหานคร

            ฝ่ายพระเจ้าสิงหนวัติ ก็ได้ครองราชสมบัติ มาตั้งแต่ พระชนมายุได้ ๑๘ ปี ศักราชได้ ๑๗ ปี ดำรงอยู่ในราชสมบัติได้ ๑๐๒ ปี พระชนมายุได้ ๑๒๐ ปี ลุศักราชได้ ๑๑๙ ปี ก็เสด็จสวรรคต

            ตามลำดับนั้น เจ้าคันธกุมาร พระราชโอรส มีพระชนมายุได้ ๔๒ ปี ก็ขึ้นครองราชย์ สมบัติในโยนกนคร สืบมา ครั้งนั้นพระพุทธเจ้าได้เสด็จมาสู่ประเทศโยนกอีกครั้ง เพื่อจะโปรดพระยาคันธราชเจ้า ซึ่งได้เสวยราชสมบัติใหม่

            ครั้งนี้ พระพุทธองค์ ก็ยังได้เสด็จไปโปรด ปู่เจ้าลาวจก ณ ดอย ตายะทิศด้วย และทรงพยากรณ์ว่า สถานที่ดอยดินแดง คือดอยตุง แห่งนี้ อันจะเป็นสถานที่ประดิษฐ ที่ตั้งมหาสถูป บรรจุพระบรมสารีริกธาตุในภายหน้า

            แล้วเสด็จเลยไปฉันน้ำทิพย์ ณ ถ้ำกุมภคูหา ประดิษฐานพระเกศธาตุ ไว้ ณ ถ้ำเปลวปล่องฟ้า แล้วเสด็จไปประทับไสยาสน์ ณ ผาตูปเมืองกอม แล้วก็เสด็จกลับคือสู่เวฬุวนาราม แห่งกรุงราชคฤห์   ฝ่ายพระยาคันธราช  เมื่อได้รับพระพุทธโอวาท จากพระบรมศาสดาแล้ว ก็ทรงบำเพ็ญราชจริยานุวัติตามธรรม สืบมาได้ ๒๙ พรรษา พระชนมายุ ๗๑ ปี ก็เสด็จสวรรคต

            ต่อมา มีพระโอรสพระนามว่า อชุตราชกุมาร ได้ครองราชย์ สมบัติสืบมา พระองค์มีอัครมเหสีพระนามว่า พระนางปทุมาวดี  มีสิริโฉมงดงามยิ่งนัก ตำนานหนึ่งบอกว่านางเกิดในดอกบัว พระกัมมโลฤาษีเลี้ยงนางไว้  นางจึงได้ชื่อว่า ปทุมาวดี  ส่วนอีกตำนานหนึ่งว่า นางเกิดจากแม่ที่เป็นกวาง ณ เชิงเขาดอยดินแดง คือดอยตุงแห่งนี้ ต่อมา กัมมโลฤาษี ได้นำมาเลี้ยง  ครั้นนางเจริญวัย ได้เป็นมเหสี ของพระเจ้าอชุตราชเจ้านครโยนก

            ต่อมานาง จึงได้หล่อรูปกวางผู้เป็นมารดาไว้ ด้วยทองหนักถึงสี่แสน ประดิษฐานไว้ ณ ที่เกิดของนาง สถานที่นั้นจึงได้ชื่อว่า เมืองกวาง ครั้นนานมากลายเป็นเมืองกวานคู่กับเมืองตุม ในรัชสมัยพระเจ้าอชุตราชนั้น  โบราณศักราชได้ ๑๔๘ ปี

            เมื่อครั้งที่ องค์พุทธะโคตรมะ เสด็จดับขันธ์ปรินิพพานไปแล้ว พระเจ้าอชาตศัตรู ผู้กลับใจ มาใฝ่พระธรรม ได้เป็นพระเจ้าแผ่นดิน ในแคว้นมคธ แล้ว พระมหากัสสปะเถระเจ้า ก็กระทำปฐมสังคายนา พระธรรมเป็นครั้งแรก  แล้วก็ลบศักราชโบราณ อันพระเจ้าอัญชนสักกะ และกาฬเทวิฬดาดส ได้ตั้งไว้นั้นเสีย และได้ ตั้งพุทธศักราชใหม่ ในปีมะเส็ง เป็นเอกศก

            แต่นั้นมา ล่วงได้ ๓ ปี ถึงปีมะแม วันเพ็ญ เดือน ๕ พระมหากัสสปะเถระเจ้า ได้นำพระบรมอัฐิธาตุพระรากขวัญเบื้องซ้าย  มาถวายแด่พระยาอชุตราชเจ้า แห่งโยนกนคร  พระยาอชุตราชพร้อมด้วยเสนาอำมาตย์ก็มีความยินดี กระทำสักการะบูชา เป็นมโหฬารทั่วทั้งพระนคร

            แล้วเลือกหาสถานที่ อันอุดมสมควร เพื่อจะสร้างมหาสถูปอันจะประดิษฐาน บรรจุพระบรมธาตุนั้น ฝ่าย พระมหากัสสปะเถระเจ้า จึงเล่าเรื่อง ให้พระยาอขุตราช ให้ทราบถึงพุทธพยากรณ์ไว้ ณ ดอยดินแดง หมู่เขาสามเส้า อันเป็นที่อยู่ของปู่เจ้าลาวจก ว่าเป็นสถานที่เหมาะสม

            ฝ่ายพระยาอชุตราช จึงให้หาผู้เป็นหัวหน้าพวกลาวจกมาเฝ้า แล้วพระราชทานทองคำแสนกหาปณะ ให้เป็นค่า ขอซื้อดินแดน ของพวกลาวจก  ให้เป็นสถานที่สร้าง พระสถูปเจดีย์ อันมีอาณาเขต ขยายเขตองค์พระสถูป ออกไป โดยรอบ ด้านละ ๓๐๐๐ วา เมื่อจะสร้างพระสถูปเสร็จ ก็ให้ทำธงตะขามใหญ่ยาวถึงพันวา ปักไว้บนยอดดอยปู่เจ้า ส่วน ทางหางของธง นั้นปลิวยาวไปเพียงใด ก็กำหนดหมายเป็นฐานพระสถูป เพียงนั้น

            ด้วยเหตุนี้ ดอยนั้น จึงมีนามว่า ดอยตุง ครั้นการก่อพระสถูปเสร็จแล้ว จึงอัญเชิญพระบรมธาตุเจ้าเข้าบรรจุในมหาสถูป และมีการฉลองสมโภช เมื่อเสร็จสิ้นแล้ว พระมหากัสสปะเถระเจ้าก็ลา กลับไป

            ฝ่ายปู่เจ้าลาวจก เมื่อได้ทองแสนกหาปณะแล้ว ก็แบ่งปันให้แก่บุตร ๓ คน ให้ลาวหม้อบุตรชายคนใหญ่ ไปอยู่เมืองกวาน ให้ลาวล้านบุตรคนที่สอง ไปอยู่เมืองสีทวง ให้ลาวกลิ่นบุตรคนที่สาม ไปอยู่เมืองเหลือก แล้ว กาลต่อมา บุตรของปู่เจ้าลาวจก ก็ได้สืบตระกูลมา และตระกูลลาวจก ก็ได้เป็นใหญ่ในล้านนา เป็นต้นตระกูลลั๊วะ ลาว ยวน ตรงตามพุทธพยากรณ์ไว้

            ส่วน พระเจ้าอชุตราชครองราชสมบัติ ในเมืองโยนกนาคนครได้ ๑๐๐ พรรษา พระชนมายุได้ ๑๒๐ พรรษา จึงเสด็จสวรรคต มี พระโอรสทรงพระนามว่า พระมังรายณ์กุมาร ที่พระชนม์ได้ ๔๖ ปี ได้ครองราชย์สมบัติสืบต่อกันมา

            ครั้งนั้นก็มี พระอรหันต์องค์หนึ่งชื่อว่า พระมหาวชิรโพธิเถระ พร้อมสงฆ์บริวาร ๕๐๐ รูป พากันเดินทางมา ยังเมืองโยนกนาคนครแห่งนี้ และนำเอาพระบรมสารีริกธาตุพระพุทธเจ้า ๕๐ พระองค์ มาถวายพระยามังรายณ์ราช เจ้านครโยนก ท้าวเธอก็ให้สร้างเจดีย์บรรจุไว้ ณ เกตุบรรพตดอยตุงในบริเวณมหาสถูปนั้น ส่วนพระมหาวชิรโพธิเถระ กับสงฆ์บริวาร ก็พากันกลับไปยังเมืองราชคฤห์ ในวันแรม ๑ ค่ำ เดือน ๖ พุทธศาสนาได้ ๑๕๐ ปี

            พระเจ้ามังรายณ์ มีพระโอรสสองพระองค์ องค์ใหญ่พระนามว่า พระองค์เขือง เมื่อพระชนม์ได้ ๕๕ ปี ได้ครองราชย์ แทนพระราชบิดา องค์น้อยมีนามว่า พระองค์ไชยนารายณ์ พระชนม์ได้ ๔๐ ปี เสด็จไปสร้างเมืองที่ตำบลดอนมูล อันเป็นเกาะในแม่น้ำ ปากน้ำแม่กก อยู่ทิศตะวันออกเฉียงใต้ของเมืองโยนก

            พระองค์ไชยนารายณ์ ได้ครองเมืองนั้น จึงมีนามปรากฏว่า เมืองไชยนารายณ์ ต่อมาภายหลัง เรียกว่า เมืองเชียงราย เมืองนี้ได้ตั้งหลักเมืองในวันอาทิตย์ เดือน ๗ ขึ้น ๘ ค่ำ ปีกุล พุทธศกได้ ๑๕๑ ปี พระองค์ไชยนารายณ์ได้เสวยราชสมบัติ ต่อมาหลายชั่วอายุคน 

            แต่ตำนานหิรัญนคร เชียงแสน บอกว่า พญาลาวจักราช สร้างเมืองเชียงรายขึ้น เพราะเหตุพบรอยช้างใหญ่ จึงเรียกเมืองเชียงรอย ภายหลังกลายเป็นเชียงราย แต่ในตำนานเชียงใหม่บอกว่า พญามังรายณ์สร้าง จึงชื่อว่าเมืองเชียงราย ตามนาม พญามังราย ถ้าวิเคราะห์ด้วยเหตุผล ก็ล้วนแต่เป็นมงคล ในการสร้างเมือง  เพราะ มนุษย์ในแต่ละยุคก็ เข้าใจต่างกัน เรื่องนี้ อาจมีอยู่ทุกเมือง แต่คน เพราะกาลเวลา เมืองเก่าล่มไป เมืองใหม่ ก็สร้างทับแทนที่เดิมก็เป็นไปได้ จึงมีตำนาน กล่าวถึง เกี่ยวข้องกันหลายแห่ง

            ครั้นพระพุทธศาสนาได้เจริญมาได้ ๑๖๒ ปี พระเจ้าองค์เขื่อง ครองราชย์สมบัติ ในโยนกนครได้ ๓๓ ปี เสด็จไปสถาปนา พระสถูปเจดีย์พระเกศาธาตุที่ถ้ำแก้วเวียงสีทวง ด้านตะวันตกเฉียงเหนือ ในวันศุกร์ เดือน ๖ ขึ้น ๑๔ ค่ำ แล้วให้ขุดเหมืองต่อน้ำแม่สาย ทดน้ำขึ้นเลี้ยงนาแคว้นซ้าย ให้ราษฎรได้ทำนาโดยสะดวก พระองค์เขือง ดำรงอยู่ในราชสมบัติได้ ๓๓ พรรษา พระชนมายุได้ ๘๖ พรรษาจึงได้เสด็จสวรรคต ต่อมา พระองค์ชินราช ผู้บุตรได้ครองราชย์สมบัติสืบไปได้ ๒๐ พรรษา สิ้นชีพวายชนม์ และ พระองค์คำราชบุตรได้ครองเมืองต่อ พระองค์คำสิ้นชีพแล้ว พระองค์เกิง ได้ครองราชสมบัติสืบต่อมา

            พระพุทธศาสนาล่วงได้ ๒๑๘ พรรษา ก็มาถึงยุค พระเจ้าอโศกมหาราช  พระองค์ ได้ครองเมืองปาตลีบุตร พระโมคคัลลีบุตรติสสะ ก็ได้กระทำตติยสังคายนา หลังจากนั้นจึงได้ขอให้พระเจ้าอโศกเป็นองค์อุปถัมภ์นำพระพุทธศาสนา  เพื่อไปเผยแผ่ประดิษฐานในประเทศต่าง ๆ

            ฝ่ายพระมหารักขิตเถระเจ้า กับพระเถระหลายรูป  ก็ได้นำพระพุทธศาสนามาเผยแผ่ยังดินแดนโยนกแห่งนี้ พระมหารักขิตเถระได้นำ พระบรมสารีริกธาตุ ๙ พระองค์ มาถวายแด่พระองค์เกิง ท้าวเธอทรงเลื่อมใส จึงแบ่งพระบรมธาตุ ออกเป็นสามส่วน  ๖ องค์ใหญ่นั้นสร้างพระสถูปประดิษฐานไว้ ณ เกตุบรรพต คือดอยตุง อีกสามองค์นั้นให้อุปราชแสนเมืองนำไปถวายพระยาสม พระราชบิดาผู้ครองเมืองไชยนารายณ์

             พระเจ้าเชียงรายก็ได้สร้างพระสถูปบรรจุพระบรมธาตุไว้ ณ ตำบลภูกวาว เหนือเมืองไชยนารายณ์ เมื่อสร้างพระสถูปเสร็จ  ทั้งสองนคร กระทำการฉลองสมโภชพระบรมธาตุพร้อมกัน ในวันพุธ เพ็ญเดือนยี่ ปีมะเมีย  เมื่อ พระพุทธศาสนาล่วงแล้วได้ ๒๒๙ ปี

            พระองค์เกิงได้ครองราชย์ สมบัติได้ ๖๐ ปี ก็สวรรคต พระองค์ชาติก็ขึ้นครองราชย์ได้อีก ๑๙ ปี ก็สวรรคต พระองค์เว่า ได้ครองราชย์ สมบัติได้ ๑๘ ปี  ในสมัยนั้นพระองค์เว่า ได้สร้างพระสถูปเจดีย์ ที่บรรจุพระเกศาธาตุ ณ ดอยเว่า เมื่อพระพุทธศาสนาได้ ๒๙๐ พรรษา  

            นับว่าดินแดน แห่งนครโยนก เป็นดินแดนที่อุดมไปด้วยกลิ่นหอม แห่งธรรมที่อุดมมาตั้งแต่ครั้งพุทธกาล แม้อาณาจักรเดิมนั้นล้มสลาย กลายเป็นชื่ออื่น แต่ก็ยังเป็นแดนที่ร่มเย็นด้วยธรรม เพราะบุญของผู้นำและบรรพบุรุษได้สร้างไว้คุ้มแผ่นดิน  ในยุคนั้น นั้นได้มีกษัตริย์สืบสันตติวงศ์  ที่ทรงธรรม มาหลายรุ่น จนกระทั่งถึงรัชกาล พระองค์พังคราช สู่มหาศักราชได้ ๒๗๗ ปี

            ครั้งนั้นนครโยนกร่วงโรย ราชอำนาจอ่อนแอ ไปตามกาล แต่แผ่นดิน ยังร่มเย็นแห่งพระธรรม กลิ่นความสุข เพราะพระธรรมยังคุกกรุ่น อยู่ โปรดติดตามตอนที่ ๒ จะได้กล่าวถึง ยุคสมัย ของพระเจ้าพรหมมหาราช ผู้ทรงธรรมอีกพระองค์ และการล่มสลาย ของนครโยนก และแผ่นดินนี้จะกลับมารุ่งเรื่องด้วยพระธรรมอีกครั้ง หลังวันฟ้าดับ อีกไม่นานเกินรอ จงสร้างกรรมดีให้รอดภัยอันใหญ่หลวง เพื่อรอวันพิสูจน์ กันเถิด  อย่าลืม  ติดตามตอนที่ ๒  สวัสดี

---------------------------

วันศุกร์ที่ 2 กรกฎาคม พ.ศ. 2564

 

รอยพุทธะ แดนหลบภัยยุคสุดท้าย 




            เรื่องราวของดินแดน แห่งพระพุทธศาสนาที่อุดม ครั้งเกิดขึ้นเริ่ม ต้นรุ่งเรือง กาลต่อมาถึงยุค กึ่งพุทธกาล ก็เริ่ม ทรุดโทรม ถอยต่ำทรุด ความดีงามแห่งจารีต เริ่มเสื่อมลงจากจิต ของมนุษย์มากขึ้น เนื่องเพราะมนุษย์ ยุคนี้ส่วนมาก  พวกเขามาจากแดนนรก หลังจากใช้กรรมชั่วหมดสิ้น ส่วนเทพเมตตาหวังให้มาเกิดเป็นมนุษย์ มาแก้ไข มาพบพุทธศาสนา หวังไม่ให้กลับไป ยังแดนนรกอีก

            แต่พวกจิตนรก ก็ยังติดในกิจกรรมเลวเช่นเดิม ทั้งพวกเขาได้สิทธิ์ มาเกิดในแดนมนุษย์ มากขึ้น กลับมีประพฤติ ผิดศีลธรรม เช่นเดิมแห่งตน ยากแก้การแก้ไข ขัดเกลา พระธรรมที่ดีเลิศจึงเศร้าหมอง กรรมหนักจึงต้องมาล้าง และมนุษย์ต้องสถานีคัดกลอง คือภัยวิบัติ อันใหญ่หลวงนานา ประการ จึงจะผ่านเข้าสู่แดน รุ่งเรือง ที่เชื่อว่า เมืองศิวิไล นั้นเอง  ดังคำพุทธะว่า วงเวียนชีวิตของสรรพสิ่ง เกิดขึ้น ดำรงอยู่ เสื่อมโทรม แล้วก็ดับไป เมื่อดับไปแล้ว ก็เวียนวนกับมาอีก  มาเกิดขึ้น ดำรงอยู่ เสื่อมโทรม แล้วก็ดับไป เมื่อดับไปแล้ว ก็เกิดขึ้นอี อย่าง นี้ ดังดินแดน พระพุทธศาสนา ดังจะกล่าว่า

            ตัดฉาก ย้อนหลังมาครั้ง เริ่มต้น ปฐมแห่งพุทธกาล  รอยพระบาทกับพุทธวิสัย รอยพระบาท อันพระพุทธเจ้าทั้งหลาย ได้ประดิษฐานซ้อนกัน ทับไว้บนภูเขาสูงนั้น เพื่อหมายว่า เมืองในชมพูทวีป นั้นว่าเป็นมงคล ตั้งแต่ปฐมกัลป์

             ในดินแดนลุ่มน้ำโขง แห่งนี้  มิใช่ว่าแค่ จะเป็นมงคลสถานที่ ที่ประดิษฐาน ของพระพุทธศาสนาของพระพุทธเจ้าองค์ปัจจุบันเท่านั้น  แต่ยังเคย เป็นมงคลสถานแห่งพระพุทธเจ้าทุกพระองค์ใน ภัทรกัป นี้ คือ มีความเป็นมา ตั้งแต่ต้นกัปต่อเนื่องกันไป จวบจนกว่ากัปนี้ จะพินาศ และก็ยังหมุนเวียน เปลี่ยนไปก่อกำเนิดเป็นกัปใหม่  จึงน่าจะเรียกได้อย่างภาคภูมิใจ ได้ว่าเป็น สิ่งมหัศจรรย์แห่งกัปกัลป์

เมื่อทรงไว้รอยพระบาท ไกลบ้านเมือง  ตามความในตำนานนั้น พระพุทธองค์ทรงแสดง อย่างแน่ชัดว่า เหตุใดจึง ไว้รอยพระบาทไกล จากบ้านเมือง ดังความตอนหนึ่ง ที่ทรงตรัสว่า

      “ดูรามหาราช  ที่เป็นบ้านเมือง  ตั้งพระพุทธศาสนาอยู่เป็นปกตินั้น  แม้มีเหตุควรไว้  พระพุทธเจ้าทั้งหลายก็ไป่(ไม่)ไว้  ด้วยเหตุว่า  เป็นที่หวงแหนแห่งหมู่เทวดา แลพญานาคทั้งหลายและบ้านเมืองก็จักเสื่อมศูนย์...”

      “...ที่รอยพระพุทธบาทอันพระพุทธเจ้าได้ประดิษฐานไว้ก็ไป่(ไม่) ตั้งเป็นเมือง  คนทั้งหลายจึงจะตั้งอยู่เป็นปกติ...”

      จากข้อมูลดังกล่าว  อนุชนรุ่นหลังจึงควรพิจารณาสังวรว่าไม่ควรสร้างที่อยู่อาศัยใกล้สถานที่ศักดิ์สิทธิ์ทางศาสนาเกินไป

      ความในตำนานระบุ ว่าเมื่อพระพุทธองค์ทรงไว้ รอยพระบาทไกลบ้านเมือง  พระพุทธศาสนาก็จะตั้งอยู่ด้าน ท้ายเมือง และหัวเมือง  เมื่อทรงไว้ประทับ รอยพระบาท “ทิศใต้” หรือ “ทิศเหนือ”

      ตามความในตำนานนั้น “หัวเมือง” จะอยู่ทิศเหนือ “ท้ายเมือง” จะอยู่ทิศใต้ ดังความตอนหนึ่งที่ทรงตรัสว่า

      “...เมื่อพระพุทธเจ้าทั้งหลาย ได้ไว้จิตร์แก้ว  กล่าวคือประทับ รอยพระบาทที่ท้ายเมืองทิศใต้นั้น  พระพุทธศาสนาก็จักตั้งรุ่งเรืองในเมืองนั้นก่อน แล้วจึงย้าย(แยกเรียงราย)ห่างมาใต้ตามรอยพระบาท  เมื่อไว้จิตร์แก้วก้ำหัวเมือง  พระพุทธศาสนาก็จักตั้งในเมืองนั้นแล้วจึงยาย(แยกเรียงราย)ห่างไปข้างเหนือ..”

 

      แสดงว่าเมื่อทรงประทับไว้ รอยพระบาททางไหน  พระพุทธศาสนาก็จะตั้งรุ่งเรืองในเมืองนั้นก่อนแล้วจึงจะย้ายเรียง ไปทางรอยพระบาท ทุกสถานที่ไว้ “กงจิตร์แก้ว” ล้วนมีความหมาย

      ในความยาวนานของกาลเวลาที่ล่วงไป  ทุกสถานที่ไว้ “กงจิตร์แก้ว” ล้วนมีความหมายในการประดิษฐานพระพุทธศาสนาและสอดคล้องกับครรลองกรรมของชนทั้งหลาย  ดังความในแต่ละตอนที่ทรงตรัสไว้ เช่น

            รอยพระบาทอันพระพุทธเจ้าทั้งหลาย ได้ประดิษฐานซ้อนกันไว้บนภูเขาสูงนั้น  เพื่อหมายเมืองในชมพูทวีปว่าเป็นมงคลแต่ปฐมกัลป์

            รอยบาทอันตถาคตไว้ที่แผ่นหินในแม่น้ำใหญ่ไป่(ไม่) เห็นนั้น  พระพุทธศาสนาบ้านเมืองจักรุ่งเรืองด้วยพระสังฆเถรผู้เป็นใหญ่

            ตถาคตไว้รอยบาทที่แผ่นหินบนยอดเขาข่มรอยในน้ำนั้น  เพื่อให้ไหลไปทางใต้  ให้บ้านเมืองพระพุทธศาสนามีความสุขสำราญรุ่งเรือง  โลมเต็ง(ทับ) อสัปปุริสพาล ผู้เป็นบาปและเหล่ามนุษย์ที่เป็นมิจฉาทิฏฐิ และอลัชชีทั้งหลายเหล่านั้น

            แก้วจากรอยพระบาท  ตามตำนานเล่าว่า พระพุทธองค์ได้กระทำพระปาฏิหาริย์ให้เป็นแก้วออกมาจากพระบาททั้ง ๓ (รอยพระบาทพระพุทธเจ้าองค์ก่อน) ที่สถานที่ตรงพระธาตุเชิงชุม ดังความตอนหนึ่งที่ทรงตรัสว่า

      “...ดูรามหาราช  สถานที่นี้  เป็นที่ประดิษฐานรอยพระบาทของพระพุทธเจ้าทั้ง ๓ พระองค์  แก้วจึงได้ออกมาจากที่นี้ ๓ ลูก  มีรอยพระบาทของ พระกกุสันธ พระโกนาคมน์ และพระกัสสป  พระพุทธเจ้าทั้ง ๓ องค์นี้  ได้เสด็จไปรับข้าวบิณฑบาตในเมืองศรีโคตรบองมาฉันที่ภูกำพร้า  แล้วประดิษฐานรอยพระบาทไว้ ณ ที่นี้  ส่วนแก้วลูกที่ ๔ นั้น  คือตถาคตนี้เอง...”

            รอยพระบาท จากมุมเรื่องเล่าของพระป่า  หลวงตาทองคำ ได้บันทึกเรื่องราวเกี่ยวกับรอยพระพุทธบาทที่ได้ยินได้ฟังจาก หลวงปู่มั่น ไว้ ดังความตอนหนึ่งว่า

.....ท่านพระอาจารย์เคยเล่าให้ฟังถึงเรื่อง รอยพระพุทธบาทที่อยู่จังหวัดสระบุรี ว่า เป็นรอยพระพุทธบาทแท้ ตามตำนานปรัมปราว่า ประทานแก่ฤาษี หรือนายพราน แต่ท่านพระอาจารย์ว่า ทรงประทานไว้แก่สามเณรเรวตะ ผู้เป็นน้องชายพระสารีบุตร

 

            ส่วนรอยที่ ๒ ชื่อว่า "พระบาทฮังฮุ้ง" (รังเหยี่ยวใหญ่) พระพุทธบาทนี้ ประดิษฐานอยู่ที่โยนกประเทศ รอยพระบาทนี้ ประทานแก่ อชิตฤาษี  ซึ่งเป็นพระโพธิสัตว์จะมาตรัสรู้ข้างหน้า เคยเป็นพระสหาย สงเคราะห์ กันมาหลายภพหลายชาติ ประทานไว้บนแผ่นหิน  ความว่า หลังจากเสด็จเยี่ยมฤๅษี ได้สนทนาร่าเริงกันแล้ว ฤๅษีได้ถวายผลไม้ พร้อมทั้งต้มน้ำกระดูกสัตว์ถวาย ก่อนเสด็จกลับ ฤๅษีขอรอยพระบาทไว้เป็นที่ระลึก

            พระองค์ตรัสถาม "จะไว้ที่ไหน"  ฤๅษี กราบทูลว่า "บนแผ่นหินมีรังเหยี่ยวใหญ่อาศัยเลี้ยงลูกอยู่"พระองค์ตรัสถาม "ทำไมจึงให้ประทับไว้ที่นั่น" ฤๅษีกราบทูลว่า " ในวันฝนตก ไม่ได้ออกไปหาผลไม้ ข้าพระองค์ได้อาศัยเก็บกระดูกสัตว์มาต้มบริโภค ถ้าพระองค์ประทานรอยไว้ที่นั่น วันที่ขึ้นไปเก็บกระดูกสัตว์ จะได้ทำความสะอาด และกราบนมัสการด้วย"

            ครั้งหนึ่ง หลวงปู่ปาน โสนันโท ก็ได้พาคณะศิษย์นักปฏิบัติธรรมเดินทางไปนมัสการ พระพุทธบาทสระบุรี ดังความในบันทึกตอนหนึ่งว่า

            เมื่อเข้าถึง พระพุทธบาทแล้ว ต่างก็นมัสการตามปกติ ของนักบุญ เวลาที่เข้านมัสการไม่ตรงกับเทศกาลนมัสการพระพุทธบาท ทั้งนี้หลวงพ่อท่านให้ความ เห็นว่า การมานมัสการในงานเทศกาลคนจะแย่งกันไหว้   อารมณ์ตั้งมั่นจะน้อย เรามาไหว้ แบบนี้เงียบสงัด อารมณ์ก็เยือกเย็น มีปีติโสมนัสดีกว่า มาไหว้ในงานเทศกาลมาก

            เวลานั้น หลวงปู่ปาน โสนันโท ท่านก็คุยเรื่องพระพุทธบาท ให้คณะที่ร่วมทางไปด้วยฟัง ว่าประวัติ ที่พระพุทธบาท ที่เขาเขียนนั้น แต่จะเขียนว่าอย่างไรอย่าคำนึงถึง ทุกองค์จงใช้หลักวิชชา

            ท่านกล่าว ว่า จงอย่าเชื่อประวัติ ตามที่ผู้เขียน เขียนไว้ทั้งหมดว่าจริง เพราะคนเขียนประวัติเอาแน่นอนไม่ได้ อาจจะเขียนตามความตนคิด หรือเข้าใจว่า แล้วท่านก็ ให้ศิษย์ ทดสอบ ว่าให้ใช้ญาณที่มีอยู่พิจารณาตามลำดับ ตามที่ได้อบรมสติกันมาแล้ว ยังอารมณ์ไว้ ไม่เกาะอุปาทาน ทำใจให้ผ่องใส

            ครั้งนั้นท่าน นั่งสมาธิ บริเวณหน้า รอยพระพุทธบาทนั้น ให้เวลาคนละ ๓ นาที แล้วลืมตา ต่างคนต่างให้เขียนตอบท่านว่ามีอะไรสำคัญ ที่พบในสมาธิบ้าง ศิษย์ต่างก็หยิบกระดาน ออกมาเขียน ล้วนมีใจความ ตรงกัน ว่า

            ดินแดน รอยพระบาทนี้ ความสำคัญทางพุทธศาสนา  นอกจากมี รอยพระพุทธบาทที่ เป็นของจริงเป็นรอยพระพุทธบาท เก่าแล้ว  ยังมีพระบรมสารีริกธาตุ ที่พระอรหันต์ ท่านนำมาบรรจุไว้อีก  ๓ องค์  เมื่อศิษย์ ทุกองค์ ส่งหนังสือถวายท่าน ๆ อ่านแล้วก็ยิ้ม กล่าวว่า พวกเธอพอใช้ได้

            ส่วน หลวงปู่สิม  พุทธาจาโร  ก็เคยได้กล่าวถึง “พระบาทสี่รอย” เอาไว้ว่า

            ในเขตเชียงใหม่นี้ ยังมีพระบาทสี่รอย อยู่ในเขตอำเภอแม่ริม แต่ว่าลึกเข้าไปในภูเขา หลวงปู่ ได้ไปดูมาแล้ว ไปกราบไปไหว้  รอยนี้อยู่ เป็นก้อนหิน ก้อนขาดใหญ่ เป็นก้อนสี่เหลี่ยมขึ้นไปอยู่ข้างริมแม่น้ำ  เป็นรอย เท้าของพระพุทธเจ้ากกุสันโธ ได้มาตรัสรู้ในโลก

            ท่านก็มาเหยียบ เป็นรอยพระพุทธบาทไว้ในยอดก้อนหินนั้น ยาวขนาด ๑๒ ศอก ในยุคนั้นพระพุทธเจ้ากกุสันโธ ก็โปรดเวไนยสัตว์ทั้งหลาย นำพระสาวก อุบาสก อุบาสิกาไปสู่นิพพาน ไปแล้ว

            เมื่อสิ้น พระศาสนาพระพุทธเจ้ากกุสันโธ แล้ว ก็เป็นศาสนา ของพระพุทธเจ้าโกนาคมโน ท่านก็มาตรัส มาสอนมารื้อขนสัตว์ไป แดนนิพพานอีก  และก่อนที่ท่าน จะไปก่อนนิพพาน นั้น ท่านก็มาเหยียบไว้ที่พระบาทแม่ริมนี้ นับเป็นรอยที่สอง ขนาดจะลดลงมา

            เมื่อมาถึง สมัย พระพุทธเจ้าโกนาคมโน ท่านก็มา แล้วก็นิพพานไปพร้อมด้วยสาวก แล้วศาสนาธรรม คำสอนท่าน ก็หมดสิ้นไป ก็มาถึง พระสัมมาสัมพุทธเจ้ากัสสโป มาตรัสรู้ ท่านก็มาเหยียบไว้ อีกนับได้สามรอย

            เมื่อศาสนาพระพุทธเจ้ากัสสโป หมดสิ้นไปแล้ว เมื่อมาถึงศาสนาพระพุทธเจ้าของเรา ในกาลปัจจุบันนี้ ให้ชื่อว่า พระพุทธเจ้าโคตมโคตร พระพุทธเจ้าโคดม ท่านมาตรัสรู้ แล้ว ก่อนที่ท่านจะนิพพาน ท่านก็มาเหยียบรอยพระบาทไว้ ในก้อนหินก้อนเดียวกัน ชาวพุทธจึงให้ชื่อว่า “พระพุทธบาทสี่รอย”

            ดังนั้น บนโลกนี้ แผ่นดินนี้ ยังเหลืออยู่อีก พระพุทธเจ้าองค์หนึ่ง ที่เราทุกคนได้ยินได้ฟังกันมาจนชินหูแล้วก็มี ว่ายังมี พระศรีอาริยเมตไตรโย โพธิสัตว์ ท่านจะมาตรัสรู้เป็นองค์สุดท้าย เมื่อท่านตรัสรู้แล้ว และได้โปรดเวไนยสัตว์ เสร็จสิ้น ตามพุทธกิจแล้ว

            พระองค์ก็ จะมาเหยียบ รอยพระบาทไว้อีก เหยียบบนก้อนหินใหญ่ ตรงที่เดียวกับ เหยียบเต็มทับกันเลย เลย คล้าย ๆ กับว่า เหยียบทับปิดเลย ละลายหินก้อนนั้น เพราะว่าเมื่อหมดศาสนาพระศรีอาริย์แล้วยุคต่อมาก็จะไม่มีพุทธะอีกแล้ว ในกัปนี้ นอกจากกัปอื่น

            กัปนี้เมื่อหมดศาสนาพระศรีอริยะแล้ว ก็ไม่มีศาสดาใดที่จะมาตรัสรู้อีก ยุคนี้จึงเรียกว่า แผ่นดินที่เราเกิดนี้ นับว่าเป็นแผ่นดินที่ร่ำรวย ความดีมากที่สุด แผ่นดินนี้เรียกว่า ภัทรกัป มีพระสัมมาสัมพุทธเจ้ามาตรัสรู้ได้ถึงห้าพระองค์

            พระบาทสี่รอยนี้ เป็นที่พระพุทธเจ้าเสด็จมาเหยียบ รอยพระบาทไว้เองจริงๆ  โดยเฉพาะ รอยพระบาทที่จังหวัดสระบุรี เป็นรอยพระบาทของ พระพุทธเจ้าโคดม เพียงพระองค์เดียว แต่ที่พระบาทสี่รอยนั้น เป็นรอยพระบาทของพระพุทธเจ้าถึง ๔ พระองค์  ก็ใคร ไปไหว้พระพุทธบาท ทั้งสี่รอย  นี้เพียงครั้งเดียว ก็เท่ากับได้ ไหว้พระพุทธเจ้า รวดเดียวถึง ๔ พระองค์ เลยที่เดียว

            นอกจากนั้น หลวงปู่ตื้อ  อจลธัมโม ก็ได้กล่าวถึง “พระบาทสี่รอย” เอาไว้ว่า “พระพุทธบาทสี่รอยนี้ เป็นสัญลักษณ์ แห่งมหาภัทรกัป ที่มีความสำคัญที่สุดในจักรวาลนี้  ส่วนหลวงพ่ออุตตมะ ได้กล่าวถึง “พระบาทสี่รอย” เอาไว้ว่า  พระพุทธบาทสี่รอยนี้ เราเคยได้ธุดงค์ไปกราบมาแล้ว...

            สมัยก่อน ตอนที่เรายังธุดงค์อยู่ในเขตภาคเหนือนั้น เราเคยได้ยินเขาเล่าลือกันว่า มีรอยพระพุทธบาทอยู่ที่โยนกนคร หรือนครปุระ เราก็ธุดงค์ไปหาอยู่  สมัยที่เราไปนั้น เป็นราวพ.ศ. ๒๔๙๐ ถนนหนทางยังไม่มี เราต้องธุดงค์ข้ามเขาไปหลายลูก จึงไปถึง พบเป็น ๔ รอยพระบาท...

            พระพุทธบาทสี่รอยนี้ ทางเมืองนอก ชาวพม่า เขาก็รู้ และได้เสาะหาอยู่เหมือนกัน เราคิดและเคยเข้าในกันไปว่าน่า จะอยู่ในเขตพม่า แต่เอาเข้าจริง ๆ แล้ว ก็มาอยู่ที่เมืองไทยเรานี้เอง พระพุทธบาทสี่รอยนี้ ล้าน เป็นของจริง

            ดังคำบันทึก ของสมเด็จกรม พระยาดำรงราชานุภาพ พระบิดาแห่งประวัติศาสตร์ไทย ท่านก็ได้ทรงรับรองไว้ครั้งหนึ่งว่า“พระพุทธบาทสี่รอยแห่งนี้ เป็นรอยพระพุทธบาทที่เก่าแก่ที่สุดในประเทศไทย"

 

            ดังนั้นจึงเชื่อ ได้ว่า แผ่นดินโลกยังไม่ถึงกาลอวสาน โดยเฉพาะ แผ่นดิน อาณาบริเวณ ที่มีรอยพระพุทธบาท ปรากฏอยู่ แม้จะเกิดภัยวิบัตินานาประการ ก็จะไม่รุนแรงเท่าดินแดนอื่น แต่เมื่อผ่านพ้นภัยวิบัติอันใหญ่หลวงของโลกไปแล้ว ดินแดนแห่งนี้กลับจะ มีความเจริญรุ่งเรื่องทั้งทางโลกและพระธรรมแห่งองค์พุทธะ แผ่นดิน แถบนี้ จะไม่สูญ ตราบใดที่ยังมีรอยพระพุทธบาทที่ห้า ปรากฏอยู่

            แต่ก็น่าเสียดาย ที่มนุษย์อายุสั้นเกินไป นับแค่เป็นสิบปี เท่านั้น เพราะสร้างบุญมาน้อยนิดนั้นเอง ชีวิตผู้คนนั้นสั้นเกินกว่าที่ จะมีชีวิตอยู่ เพื่อพิสูจน์ความจรองในเรื่องนี้ได้  จึงไม่สามารถจะอยู่รอดได้ เป็นพันปีของอายุขัย เพื่อยืนยัน เรื่องราว และสิ่งต่าง ๆ  ที่ได้กล่าวไว้ในตำนาน   ว่าในตำนานที่กล่าวไว้นั้นเกิดขึ้นแล้ว

            ดังนั้น ความเจริญ เสื่อมลงของอาณาจักร และเมืองต่าง ๆ ก็เป็นไปในลักษณะนั้น เช่น การย้ายกลับไป กลับมา ของเมืองศรีโคตรบูรณ์ และเมืองหนองหาร เป็นต้น

            ดัง กระแสข่าวลือเรื่องโลกแตก และวันอวสานโลก หลายครั้ง ทำให้ชนชาวโลกต่างตื่นเต้น และอกสั่นขวัญหายไป กันไม่น้อย แต่ก็ยังมี ชาวพุทธจำนวนมาก ที่ยังศรัทธาและฝังใจในคำโบราณที่ว่า  ถึงโลกจะวิกฤตอย่างไร

            ก็ยังไม่น่าจะถึงกาลอวสาน ได้ เพราะแผ่นดินนี้ เป็นแดนดิน แห่งพระพุทธศาสนา ล้วนมีเทพฝ่ายดีปกป้องอยู่  เพราะที่ “ผารังรุ้ง” พระบาทสี่รอย จ.เชียงใหม่ และ “ภูน้ำลอด พระธาตุเชิงชุม จ.สกลนคร  อันเป็นภูมิภาค ลุ่มน้ำโขงแห่งนี้  ยังถูกกำหนดไว้ว่า จะต้องรอเป็นที่ ประทับไว้ ในรอยพระบาท แห่งพระบรมครู ศรีอาริยเมตไตรย สัมมาสัมพุทธเจ้า ในอนาคตหน้า เป็นแน่แท้ 

            ส่วนการตั้งบ้านเรือน ในสมัยโบราณ จะไม่นิยม ไม่ควรอยู่ใกล้พุทธสถานจนเกินไป แต่การอยู่ใกล้กับสถานที่ศักดิ์สิทธิ์ หรือถาวรวัตถุทางศาสนานั้น ก็ถือว่าเป็นสิ่งที่ดี แต่คนโบราณท่านเตือนเอาไว้ว่าไม่ควรอาศัยอยู่ใกล้ จนเกินไป อาจจะเป็นการรบกวน สถานที่ศักดิ์สิทธิ์

      ส่วนคน หมู่บ้านที่ตั้ง ที่อาศัยอยู่ ไม่ไกลมากนัก ย่อมมีโอกาสที่จะไปปกป้อง พิทักษ์รักษา และซ่อมแซมบูรณะได้ง่าย ทั้งยังสะดวก ที่จะปฏิบัติกิจ อันเป็นบุญกุศล ตลอดจนปรนนิบัติรับใช้พระภิกษุสงฆ์ และผู้ทรงศีลมิให้ขาดตกบกพร่อง  อันยังจะทำให้สืบต่ออายุพระศาสนา ให้คงสืบต่อไป  

            นอกจากนั้น ก็ยังน้อมนำธรรม ให้เกิดอนุสติ คือระลึกถึงคุณ อันเป็นที่พึ่งทางใจ  แม้ในยามทุกข์หนักก็ทำให้ผ่อนคลาย หรือแม้จวนกระทั่งยามจะสิ้นใจตาย ขอเพียงได้เหลือบไปเห็นยอดพระเจดีย์ ก็ยังเชื่อกันว่า อาจน้อมนำไปสู่สุคติได้

            และในยามที่โลกเกิด มหันตภัยทางธรรมชาติ ผู้คนทั้งหลายก็ย่อมจะเกิดความตระหนกอกสั่นขวัญหาย ดิ้นรนหาทางรอดชีวิต ตามสัญชาตญาณ  ผู้คนจึงมักจะรู้สึกนึกคิดว่า การได้อยู่ใกล้กับพุทธสถานจะมีส่วนช่วยเพิ่มกำลังใจ ว่ามีของดีคุ้มครอง ให้อยู่รอดปลอดภัย จากมหันตภัยโลกได้

                  ความเชื่อ ในพลังแห่งพุทธสถาน สถานที่ศักดิ์สิทธิ์นั้น นอกจากจะมีพลังในตัวอยู่แล้ว ก็ยังเป็นมิ่งขวัญและกำลังใจหลักของชาวพุทธ  คนที่อยู่ใกล้ย่อมมีความมั่นคง เป็นที่พึ่งทางใจจิต จิตก็ย่อมสงบเมื่อจิต สติปัญญาก็เกิดได้ง่ายกว่า ในการแก้ไขกับปัญหา ด้วยตนเอง

            อีกทั้งยัง มีอานุภาพ ความเข้มขลังของสิ่งศักดิ์สิทธิ์ และสนามพลังแห่งบุญกุศล จากการประกอบความดี อยู่ในศีล เป็นอาจิณ

      ส่วนความเชื่อในพุทธวิสัย  คนพุทธ แต่โบราณ นั้นมักเชื่อว่า พระพุทธองค์ย่อมทรงล่วงรู้ด้วย เหตุกาลต่าง ๆ ที่เกิดพระญาณของพระองค์เอง  เมื่อท่านกล่าวเช่นใด ก็ล้วนเป็นจริงตามนั้น แต่คงไม่กำหนดวันเวลาที่ เพราะในอนาคตล้วนจะมีปัจจัยที่มา เกี่ยวข้องมากมาย ช้าหรือเร็วก็อยู่ที่ปัจจัยดังกล่าว  

            เรื่องเรื่องของการ จะประดิษฐานศาสนาของพระองค์ไว้ในถิ่นอุดมมงคล  ว่าจะเป็นสถานถิ่นใดในโลก นั้นก็เช่นเดียวกัน  พระองค์ทรง ทราบแล้วว่าดินแดนใดจะสถาพร จึงจะมั่นคงอยู่นานเป็นปึกแผ่น เป็นประโยชน์แก่หมู่สัตว์ 

            จึงเชื่อว่า ผืนแผ่นทวีปบริเวณแถบนั้น น่าจะมีแนวโน้มที่จะมั่นคง หรือที่คนยุคใหม่ชอบใช้คำว่า “เสถียร”  หากจะมีภัยพิบัติก็คงเสียหายไม่มาก ไม่ถึงกับล่มจม  ยิ่งถ้าเป็นสถานที่ซึ่งได้ทรงพยากรณ์ ไว้แล้วว่าพระพุทธเจ้า พระองค์ต่อไป จะเสด็จมาก็ยิ่งเป็นที่แน่ใจได้ เพราะสิ่งใดที่พระพุทธองค์ตรัสไว้ย่อมจะเป็นความสัจจริง

            ความเชื่อ ดังที่กล่าวมาแล้วนั้น คนโบราณและนักปฏิบัติท่านก็ไม่ได้แสดงความเห็นไปในทางขัดแย้งแต่อย่างใด เพียงแต่ท่านกล่าวเตือน ให้ลูกหลานรู้จัก ระมัดระวังเอาไว้บ้าง  เมื่อเห็นว่าที่ใด ปลอดภัย ที่สามารถ พักพิงอาศัย เป็นที่หลบภัยได้ท่านก็แนะนำตามสถานที่นั้นว่าปลอดภัย

      คนโบราณเชื่อถือ กันว่า พุทธสถานนั้น นอกจากจะเป็นถิ่นที่รัก ที่เครพของนุษย์แล้ว พวกเทวดาอารักษ์ในชั้นภูมิต่าง ๆ ก็รักใคร่ หวงแหน เช่นกัน  เรื่องนี้ ก็ยังมีนักปฏิบัติ หลายท่านยืนยันตรงกัน  และถ้ามีใครไปละเมิด ก็อาจเป็นเหตุให้เกิดวิปริต และมีอันเป็นไปต่าง ๆ นานา 

 

            แต่มนุษย์ยุคนี้ จิตหยาบเสียเป็นส่วนมาก ไม่ทราบ ทั้งไม่สนใจ ทั้งยังเหยียดหยาม ล้วนสร้างกรรมต่ำแห่งตน  หลายครั้ง จึงกลายเป็นการสร้างเหตุ บีบคั้น ช่วยกันเร่ง ให้เกิดภัยพิบัติ มากวาดล้างครั้งใหญ่หลวงขึ้นมา ผู้คนมากมายในบางยุคสมัย นั้น อาจล้มตาย โดยการกระทำ แห่งตนที่หลงผิด ไป ตาม ๆ กันแบบที่รู้เท่า ไม่ถึงการณ์

       ดังนั้น  วาจาสุดท้ายที่องค์พุทธะฝาก ชาวพุทธไว้ ด้วยความห่วงใย ว่าท่านทั้งหลาย อย่าประมาท ชีวิต สังขารล้วนไม่เที่ยง จงยังความไม่ประมาท เถิด

            ทุกสรรพสิ่ง ในโลก ล้วนไม่เที่ยง ย่อมมีการเปลี่ยนแปลงไป เป็นเรื่องธรรมดา ในดินแดนลุ่มน้ำโขง แห่งนี้  มิใช่ว่าแค่ จะเป็นมงคลสถานที่ ที่ประดิษฐาน ของหลักฐาน พระพุทธศาสนาของพระพุทธเจ้าองค์ปัจจุบันเท่านั้น  แต่ยังเคย เป็นมงคลสถานแห่งพระพุทธเจ้าทุกพระองค์ใน ภัทรกัป นี้ คือ มีความเป็นมา ตั้งแต่ต้นกัปต่อเนื่องกันไป จวบจนกว่ากัปนี้ จะพินาศ และก็ยังหมุนเวียน เปลี่ยนไป  จะก่อกำเนิดเป็น แผ่นดิน แดนกัปใหม่ อันอุดม ทั้งทางโลก และทางธรรม หลังมหันต์ภัยล้างมนุษย์บาป จบสิ้นไปแล้ว ก็จะเหลือมนุษย์ศีลธรรม เป็นเชื้อเผ่าพันธุ์ มนุษย์ทรงธรรมในยุคใหม่ ในดินแดนพุทธะ สุวรรณภูมิ สองฝั่งโขง  ถิ่นแดนเหนือ เชื้อศีลธรรม นับได้ว่าเป็นดินแดนศักดิ์สิทธิ์ เป็นแดนสิ่งมหัศจรรย์ แห่งภัทรกัป นี้

----------------------