วันเสาร์ที่ 8 เมษายน พ.ศ. 2560

C- INNOVATIO


เรื่อง วัสดุอุดรอยต่อ
งานช่างเป็นการทำงานที่กี่ยวข้องกับวัสดุ อุปกรณ์  และเครื่องมือหลายอย่าง ที่ต้องนำมาช่วยในการทำงาน   อย่างวัสดุในงานก่อสร้าง ต้องมีการต่อ การเสริม เพิ่ม ลด  ถ้าสั้นก็ต้องต่อ ถ้ายาวก็ต้องตัด แล้วก็นำมาต่อ นี้ก็เป็นเนื้องานปกติของการก่อสร้าง ไม่ว่าจะเป็นงานไฟฟ้า ประปา ต่างก็ต้องทำการใช้วัสดุอุดรอยต่ออยู่กันเป็นประจำ เพื่อให้งานที่ข้อต่อนั้นต้องเชื่อมกันให้สนิท การเลือกใช้วัสดุมาอุดรอยต่อนั้นเป็นเรื่องที่ต้องพิจารณา ในการหาวัสดุที่ที่มีคุณภาพ เหมาะสมมาใช้งาน


            วัสดุอุดรอยต่อ ภาษาอังกฤษ เรียกว่า Sealant  ซึ่งหมายถึง วัสดุที่นำมาใช้ในการปิดรอยต่อ ระหว่างวัสดุกับวัสดุประเภทเดียวกัน หรือต่างประเภทกันก็ได้ เพื่อให้วัสดุนั้นเกิดการเชื่อมต่อกันได้ดี ไม่มีรอยรั่ว รอยร้าว หรือรอยแยก เพื่อป้องกัน รอยรั่ว ทั้งป้องกันไม่ให้น้ำ ฝุ่น อากาศ ผ่านเข้ามาตรงช่องรอยที่ต่อนั้นได้  โดยทั่วไปแล้ววัสดุที่นำมาใช้ในการอุดรอยต่อของวัสดุกับวัสดุนี้ เรียกว่า กาว   และกาวที่นำมาใช้นี้ก็มีหลายประเภท หลายชนิด และมีระดับคุณภาพ  ตามประเภทของการใช้งานและเรื่องของราคา  ซึ่งกาวเหล่านี้ถ้านำมาใช้งานจะทำหน้าที่ในการเชื่อมหรือประสานวัตถุเข้าด้วยกัน
            โดยทั่วไปแล้วกาวที่จำนำมาใช้เป็นวัสดุอุดรอยต่อนี้ ต้องมีคุณสมบัติกึ่งของเหลว  และยืดหยุ่นในตัวสามารถแทรกซึมเข้าไปบริเวณช่องว่างของรอยต่อนั้นได้แล้วค่อยแข็งตัวและขยายตัวเชื่อมวัสดุที่ต่อนั้นเข้าด้วยกัน ติดกันอย่างสนิท  ซึ่งตรงข้อต่อนั้นจะสามารถยืดหยุ่น ขยับตัวได้เล็กน้อย ซึ่งคุณสมบัติตรงนี้เองจะทำให้วัสดุที่ต่อกันนั้นไม่แตกร้าว
            ในงานก่อสร้างการใช้วัสดุอุดรอยต่อ นับว่ามีความสำคัญไม่ด้อยกว่างานอื่น ในงานโครงสร้างทุกประเภท  เพราะรอยต่อแต่ละช่วงนั้น จะต้องสอดคล้องกับการออกแบบที่วางไว้ (Construction)โดยเฉพาะการต่ออุดรอยต่อระหว่างโครงสร้างที่มีลักษณะการออกแบบ  แบบยาวของงานโครงสร้างที่ต่อเนื่องกัน

จึงจำเป็นต้องต่อและอุดรอยต่อวัสดุนั้น  เพื่อให้เป็นไปตามแบบและขณะเดียวกันและเป็นการรองรับการหดตัว  การขยายตัวของวัสดุที่เป็นโครงสร้างของงานนั้นด้วย
            ยกตัวอย่าง ในการออกแบบงานของสถาปนิก ในรายละเอียดของการออกแบบโครงสร้างนั้นจะจุด มีมุมต่าง ๆ  ที่จะเป็นรอยต่อของวัสดุเกิดขึ้นมากมาย  ที่งานโครงสร้างภาคสนามต้องใช้วัสดุเข้ามาอุดรอยต่อนั้นเพื่อให้งานจบตรงตามแบบ อย่างเช่น งานประเภทบานประตู  หน้าต่าง  งานอลูมิเนียม  งานผนังที่ก่อฉาบปูน รอยต่อระหว่างฝ้าเพดานกับตัวผนัง  งานรอยต่อในข้อต่าง ๆ  ของฟอร์นิเจอร์ และอื่น ๆ  อีกมากมาย  ซึ่งเราจะเห็นว่าการใช้วัสดุอุดรอยต่อนั้นมีความจำเป็นอย่ามาก ในงานก่อสร้างทุกประเภท
            ส่วนวัสดุในวงการช่างก่อสร้าง ในนำวัสดุอุดรอยต่อมาใช้ในงานนั้น  มีหลายชนิด และได้แบ่งออกตามคุณสมบัติของการใช้งาน มีดังนี้
            อะคริลิก (ACRYLICSEALANT)
            อะคริลิก เป็นวัสดุอุดรอยต่อ ที่มีส่วนผสมของวัสดุโพลิเมอร์  ประเภท คาร์บอน โฮโดรเจน และอ๊อกซิเจน  โดยใช้น้ำเป็นส่วนผสม ในการทำลาย (Water Based)ให้ละลายตัว และเมื่อแข็งตัวจะไม่ละลายอีกอะคริลิกจะมีคุณสมบัติคล้าย ๆ กับแป้งกาวลาแท๊ก (Latex)ที่ใช้ติดกระดาษทั่วไป แต่อะคริลิก ในวงการช่างเรียกว่า แด็ป(DAP)ส่วนชื่อ อะคริลิก เป็นชื่อผลิตภัณฑ์ เจ้าแรก ที่นำมาจำหน่วยในท้องตลาด  และต่อมาก็มีผลิตภัณฑ์ที่ชื่อยี้ห้ออื่น  แต่มีคณสมบัติการใช้งานเหมือนกัน แต่ก็เรียกติดปากว่า แด็ป  (DAP)  เหมือนกับผงซักผ้าและทำความสะอาด  แม้จะซื้อยี้ห้ออื่น แต่ก็ยังเรียกว่า แฟ็บ อยู่นั้นเอง
            อะคริลิก  มีคุณสมบัติในการใช้งานคือ มีความยืดหยุ่น มีความคงทนต่อสภาพแวดล้อม ดินฟ้า อากาศได้น้อย  คือข็งตัวเร็ว จึงเหมาะสำหรับการใช้งานที่อุดรอยต่อวัสดุที่ต้องการงานด่วน งานเร็ว และมีเวลาค่อนข้างจำกัด  ดังนั้นช่างจึงนิยมนำมาใช้ในงานอุดรอยต่อภายในของงานเฟอร์นิเจอร์ และงานตกแต่งภายใน อื่น ๆ   ด้วยจุดเด่นของอะคริลิก มีคุณสมบัติแห้งเร็ว ประสานวัสดุได้ดี  ง่ายต่อการขัดและแต่งผิวของวัสดุตรงรอยต่อ  แล้วทาสี พ่นสีทับได้เรียบง่าย กลมกลืน เงางาม นั้นเอง



            นอกจากนั้นอะคริลิกยังสามารถใช้ได้กับวัสดุผิวขรุขระและผิวเรียบ  โดยมีขายในท้องตลาดทั่วไปราคาไม่แพงแต่ก็มีหลายราคาหลายเกรดให้เลือกใช้ตามความเหมาะสมแต่ละประเภทการใช้งานและงบประมาณด้วยที่ต้องการ ในท้องตลาดมีหลายยี่ห้อบางยี่ห้อพบเป็นหลอดทรงกระบอกปลายแหลมเพื่อใช้สำหรับงานช่ในช่องลึกเล็กๆได้อีกด้วย
            โพลียูรีเทน
โพลียูรีเทน  (PolyureThane)  หรือเรียกกันโดยทั่วไปว่า  พียู ( PU)  เป็นสารเคมีประเภทพลาสติก เทอร์โมเซต  คือ เป็นวัสดุที่ไม่สามารถหลอมเหลวขึ้นมาใหม่ได้  สารประเภทนี้ต้องใช้น้ำมันเป็นตัวเร่งทำให้เกิดการละลายโดยเป้าหมายผลิตขึ้นมาเพื่อทดแทนการใช้ยางจากธรรมชาติ


            โพลียูริเทนนี้ป็นสารประกอบอินทรีย์ ถ้านำไปเผาไฟจะเกิดการหดตัว  ย่อยสลายง่าย ขณะเดียวกันก็จะเกิดควันสีดำ  เมื่อถูกละลายด้วยน้ำมันจะมีลักษณะยืดหยุ่น  ผิวยุบมีความทนต่อสภาพแวดล้อมและความร้อนในระดับปานกลางเมื่อแข็งตัวแล้วสามารถปรับแต่งผิวรูปทรงและทาสีได้
            โพลียูรีเทนนำไปใช้ได้กับวัสดุผิวเรียบและผิวขรุขระไม่เป็นอุปสรรคใดๆแม้วัสดุนั้นจะมีฝุ่นเกาะติดก็ตาม  ส่วนราคาขายในท้องตลาดจะมีราคาสูงกว่าอะคริลิคเนื่องจากเป็นวัสดุที่มีความพิเศษที่สามารถใช้ได้   กับวัสดุที่มีผิวไม่สะอาดและมีฝุ่นเกาะได้ดี  จึงเหมาะกับการอุดต่อวัสดุที่อยู่ภายนอกได้ดี  แต่บางครั้งก็มีจุดด้อย คือไม่สามารถทนต่อรังสี UV ได้มากนะ ถ้าใช้ไปนานๆ   ต้องบำรุงรักษาตามระยะเวลาที่กำหนด  จะเกิดรอยเสื่อมสภาพอย่างน้อยประมาณ 3-4  ปี 

             ผลิตภัณฑ์ยูรีเทน   จะมีหลายยี่ห้อที่วางจำหน่ายในท้องตลาด มีให้เลือกใช้ตามความเหมาะสมเรื่องราคาจะอยู่ตรงกลางหมายความว่าจะราคาสูงกว่าอะคริลิคแต่ราคาต่ำกว่าซิริโคน(Silicone Sealant)
  
ซิลิโคน  (Silicone Sealant)   
ถ้าเราพูดถึงส่วนมากจะนึกถึงทางศัลยกรรมตกแต่งเสริมความงามของผู้หญิงหรือบรรดาพวกแปลงเพศที่นิยมใช้ซิลิโคนมาทำจมูกเสริมหน้าอกแต่ละวงการก่อสร้างก็มีการนำซิลิโคนมาใช้งานเช่นกัน  แต่อาจจะใช้แยกประเภทหรือแยกตามคุณสมบัติของการใช้งาน


            เครื่องซิลิโคนที่นำมาใช้ในงานช่าง  งานอุตสาหกรรมก่อสร้างจะเป็นวัสดุประเภทอุตรอยต่อที่ทำมาจากพวกโพลิเมอร์  ที่มีองค์ประกอบของซิลิคอน  คาร์บอน   ออกซิเจน และไฮโดรเจน  ซึ่งเป็นสารประกอบประเภทอนินทรีย์ ( Inorrganic Based) 
            เป็นสารที่อยู่ในรูปกึ่งของเหลว  มีความยืดหยุ่นสูงโดยวงการก่อสร้างหรือช่างที่นำมาใช้เป็นวัสดุอุดรอยต่อหรืออุดรอยรั่วมีว่าซิลิโคนเนื่องจากมีคุณสมบัติสามารถนำมาใช้กับงานได้สารพัดประโยชน์มากมายจึงเรียกกันต่อมาจนเคยชินว่าซิลิโคน  อย่างไรก็ตามเนื้อสารของสิริโคน นั้นจะไม่สามารถประสานวัสดุได้อย่างสมบูรณ์  ถ้านำไปใช้งานกับวัสดุที่มีฝุ่นละออง  หรือวัสดุที่ไม่สะอาด มีการปนเปื้อน จะส่งผลให้ซิลิโคนไม่สามารถ เกาะติดกับวัสดุ นั้นได้อย่างคงทน

            ส่วนเรื่องราคาสูงกว่าวัสดุอื่นอื่นๆที่ได้กล่าวมาแล้ว เนื่องจากมีคุณสมบัติที่ดีกว่ามีคุณภาพดีกว่า มีคุณสมบัติคงทนต่อรังสีแสงแดดได้มาก   อีกทั้งมีความยืดหยุ่นต่องานก่อสร้างได้ดี โดยเฉพาะงานเข้าขอบประตูหน้าต่างหรือขอบกระจกมีความทนต่อสภาพแวดล้อมได้มากแต่มีข้อด้อยเพียงเล็กน้อย   คือต่อในกาประสิทธิภาพการใช้งานจะลดลง  ถ้าใช้งานกับวัสดุที่มาสะอาด มีคราบหรือฝุ่น  มีสิ่งสกปรกปนเปื้อน
           
ในปัจจุบัน  ซิลิโคนที่นำมาใช้ในวงการก่อสร้างหรือช่างนั้นแบ่งออกเป็น 2 ประเภทมีแบบที่มีกรดและแบบที่ไม่มีกรด
ประเภทไม่มีกรด  (Neutral Cure) ซิลิโคนประเภทนี้จะมีฤทธิ์เป็นกลางเนื้อของวัสดุจะออกสีใส  ดูขุนมั่ว ไม่ค่อยสดใส  เมื่อใช้งานจะมีปฏิกิริยาแข็งตัวช้า  เมื่อแห้งแล้วจะแข็งคงทนน้อยแต่มีความยืดหยุ่นได้ดี

ประเภทมีกรด (AectieCure)  วัสดุประเภทนี้เราจะสังเกตได้จากกลิ่น ในขณะเปิดออกใช้งานจะมีกลิ่นเหม็นเปรี้ยวเมื่อละหวยออกมาให้สัมผัสได้มีคุณสมบัติแข็งตัวเร็ว ติดแน่น  เร็วเพียงไม่กี่วินาที  เหมาะสำหรับใช้งานประเภทตกแต่งเข้ารูปรอยต่อกระจกต่อกระจกอลูมิเนียมต่อกับอลูมิเนียมจะมีแรงยึดติดเกาะแน่นแข็งแรง
                                  ดังนั้นการนำวัสดุประเภทอุดรอยต่อมาใช้ในการทำงานช่างก็ควรที่จะศึกษาคุณสมบัติของวัสดุหรือผลิตภัณฑ์นั้นๆ ก่อน เพราะว่าแต่ละประเภท ของผลิตภัณฑ์จะมีคุณสมบัติที่แตกต่างกัน ว่าเมื่อใช้กับวัสดุนั้นนั้นจะ มีผลต่อคุณภาพ ประสิทธิภาพของงานได้ดี อย่างไร

-----------------------------------------------------------------------------------