วันอาทิตย์ที่ 30 กันยายน พ.ศ. 2555

ผู้บริโภคในตลาดอิเล็กทรอนิกส์


      พฤติกรรมของผู้บริโภค หมายถึง การกระทำของบุคคลที่มีผลต่อการใช้ประโยชน์ต่อสินค้าและบริการ ที่มีกระบวนการมาจากการตัดสินใจ อันเนื่องจากอิทธิพล และปัจจัยหลายด้าน โดยพฤติกรรมของผู้บริโภคนั้น มีประเด็นที่สามารถนำมาพิจารณาประกอบในการศึกษาได้ 3 ส่วน ดังนี้ พฤติกรรมส่วนบุคคล พฤติกรรมการสื่อสารและความสัมพันธ์กับสิ่งแวดล้อมรอบตัว เช่น การอ่านหนังสือพิมพ์ การดูทีวี การเข้าไปหาข้อมูลในอินเทอร์เน็ต หรือการไปหาสิ่งของในตลาดสดการพบเพื่อน สนทนากันในเรื่องต่างๆ สิ่งเหล่านี้ เป็นพฤติกรรมที่เกี่ยวข้องกับการบริโภคสินค้าแทบ
ทั้งสิ้น  พฤติกรรมจากประสบการณ์ต่อสินค้าและบริการ การดำเนินชีวิตประจำวันย่อมได้รับการบริโภคสินค้าและบริการ ทั้งทางตรงและทางอ้อม เป็นการเรียนรู้ในการใช้สินค้าโดยตรงของผู้บริโภคด้วยตนเอง และผู้ที่เคยใช้แล้วแนะนำในคุณภาพของสินค้า ดังนั้น การบริโภคของผู้ใช้ย่อมมีประสบการณ์ในด้านบวกและด้านลบของสินค้าและองค์กร หรือแม้แต่สื่อมวลชนก็มีส่วนในการสร้างความรู้สึกต่อสินค้าและบริการได้มากเช่นกัน เช่น เมื่อมีข่าวจากทีวีบางช่องออกข่าวว่า ยาแก้ปวดพาราเซตามอลขององค์การเภสัชกรรม ที่จ้างบริษัทแห่งหนึ่งผลิต แต่ปรากฏว่า มีเศษอลูมิเนียมปนในเม็ดยา ข่าวนี้ทำให้ผู้บริโภคเกิดความรู้สึกที่ไม่ดีต่อผลิตภัณฑ์ เป็นต้น
          พฤติกรรมการตัดสินใจ กระบวนการนี้เป็นสิ่งสำคัญและเป็นเป้าหมายสุดท้ายที่ผู้ประกอบการสนใจ เพราะหมายถึง การตัดสินใจ หรือเป็นตัวชี้วัดว่าสินค้าสามารถตอบสนองความต้องการ และเป็นที่ยอมรับมากน้อยเพียงใดต่อผู้บริโภค เพราะก่อนที่จะมาถึงการตัดสินใจซื้อหรือไม่ซื้อ ผู้บริโภคจะต้องผ่านกระบวนการค้นหาสินค้าของลูกค้า กระบวนการทำให้เข้าใจในสินค้าและบริการ จนไปสู่กระบวนการสร้างทางเลือกว่า จะเลือกอย่างไรจึงจะเหมาะสม แล้วก็สุดท้ายก็จะเข้าสู่การเลือกเพื่อตัดสินใจซื้อ ไม่ซื้อ หรือเลือกสินค้าทดแทนจากคู่แข่ง
          ในปัจจุบัน พฤติกรรมการบริโภคของผู้บริโภค มีลักษณะเปลี่ยนไปจากเดิม เพราะความเจริญก้าวหน้าทางการสื่อสาร และเครื่องมือในการนำเสนอสินค้าและบริการ มีความหลากหลายมากขึ้นการนำเสนอขายสินค้าผ่านเว็บไซต์ หรือทางอินเทอร์เน็ต ก็เป็นสิ่งหนึ่งที่ทำให้ความต้องการของผู้บริโภคเปลี่ยนแปลงไป แต่อย่างไรก็ตาม พฤติกรรมการบริโภคของคนไทยโดยทั่วไป เกี่ยวกับการทำธุรกรรมค้าขายทางอิเล็กทรอนิกส์ยังอยู่ในช่วงเริ่มต้นเท่านั้น ยังไม่ถึงขั้นการนำความรู้ เทคนิคต่างๆ ทางด้านการพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์มาใช้ในการซื้อขายสินค้าอย่างเต็มรูปแบบเหมือนประเทศในแถบยุโรป  ส่วนใหญ่แล้วทุกหน่วยธุรกิจ ล้วนมีเว็บไซต์เป็นของตนเอง แต่ก็จัดทำขึ้นเพื่อเป็นการเพิ่มช่องทางทางการตลาด ช่องทางการติดต่อประชาสัมพันธ์ของหน่วยงานของสินค้าและบริการเท่านั้น โดยไม่ได้นำรูปแบบการพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์มาบริหารจัดการ เพื่อลดต้นทุนแต่อย่างใด นอกจากนั้นจากการศึกษายังพบว่า ผู้ประกอบการส่วนมาก ยังไม่สนใจ ไม่เห็นความจำเป็น และไม่ยอมศึกษา องค์ความรู้ในเรื่องการทำการตลาดอิเล็กทรอนิกส์ เพียงแต่ว่าหวังแต่ให้คนอื่นเข้ามาช่วยเหลืออยู่ตลอดเวลา  
          ผู้บริโภคกับพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ (Customer and Electronic Commerce)
ในประเทศไทยอินเทอร์เน็ตมีการเจริญเติบโตอย่างรวดเร็วในหมู่เด็กวัยรุ่น และวัยทำงานเพราะการดำเนินชีวิตในยุคปัจจุบัน ต้องมีการติดต่อ ปฏิสัมพันธ์กันโดยอาศัยเครื่องมือทางอิเล็กทรอนิกส์มากขึ้น ดังนั้นผู้ใช้อินเทอร์เน็ตแต่ละวันแต่ละอาชีพ ล้วนมีเป้าหมายในการใช้อินเทอร์เน็ตที่เหมือนและแตกต่างกัน พอที่จะจำแนกได้ ดังนี้  เพื่อการรับการส่งข้อมูลข่าวสารส่วนตัว การทำงาน และการโฆษณาประชาสัมพันธ์ การค้นหาและเลือกข้อมูลต่างๆ  การเลือกค้นหาสินค้าและบริการ (shop ping and service) การค้นหาข้อมูลร้านค้าบนเว็บไซต์หลายๆ เว็บ เพื่อเปรียบเทียบสินค้า รวมทั้งคุณภาพและราคา การเลือกซื้อสินค้าและบริการบนโลกออนไลน์ (Online Buying) เพื่อการค้นหากลุ่มและเพื่อนใหม่ๆ ที่สนใจในเรื่องที่คล้ายๆ กัน จนเกิดสังคมออนไลน์ (Social online) เช่น Facebook, Hi5, MSN หรือ Twitter

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น