วันเสาร์ที่ 22 กันยายน พ.ศ. 2555

อินเทอร์เน็ตกับการตลาด


   อินเทอร์เน็ตนั้นได้มีกำเนิดเป็นเครือข่ายคอมพิวเตอร์ โดยเริ่มจากกระทรวงกลาโหมของประเทศสหรัฐอเมริกา อินเทอร์เน็ตเริ่มเป็นที่รู้จักครั้งแรก ในปี พ.. 2512 โดยคนบางกลุ่มทดลองนำคอมพิวเตอร์มาเชื่อมต่อสายเข้าด้วยกัน เพียงบางเครื่อง การเชื่อมโยงสายส่งข้อมูล เป้าหมายเพื่อต้องการแลกเปลี่ยนข้อมูลข่าวสารซึ่งกันและกัน โดยผ่านเครื่องคอมพิวเตอร์ ช่วงนั้นใช้ชื่อในการเชื่อมโยงนั้นว่า เครือข่าย ARPANET เครือข่ายอาร์ปาเน็ต ได้รับความนิยมอย่างรวดเร็ว เนื่องจากสนองความต้องการของบุคคล ในเรื่องข้อมูลข่าวสารได้อย่างรวดเร็วและประหยัดเวลา โดยมีองค์กรทั้งหน่วยงานราชการและเอกชน
          สนใจเข้ามาร่วมใช้อย่างมากมาย โดยเฉพาะหน่วยงานทางทหาร สถาบันการศึกษา เป็นผู้สนับสนุนการใช้งานและร่วมแก้ไขปัญหา ขยายการใช้งานมากขึ้น โดยนำคอมพิวเตอร์เข้ามาเชื่อมต่อกับเครือข่ายอาร์ปาเนต ทำให้เครือข่ายมีจำนวนมากขึ้น จนทำให้การควบคุมมาตรฐานของการเชื่อมต่อมีปัญหา ประสิทธิภาพการส่งข้อมูลเริ่มช้าหรือติดขัด ดังนั้นจึงมีการกำหนดมาตรการรองรับการขยายเครือข่ายนั้นให้มีประสิทธิภาพมากขึ้น จึงมีการกำหนดระเบียบการบริหารจัดการใหม่ เมื่อปี พ..2525
          ต่อมาปี พ.. 2528 หน่วยงานแห่งชาติของประเทศสหรัฐอเมริกาได้พัฒนาระบบเครือข่ายใหม่ โดยใช้ชื่อว่า NSFNET ระบบนี้สามารถเชื่อมต่อเข้ากับเครือข่ายอาร์ปาเนตได้เป็นอย่างดี เพราะมีระบบมาตรฐานเดียวกัน เครือข่าย NSFNET มีความสามารถสูงมาก เมื่อเทียบกับคอมพิวเตอร์หลักของเครือข่ายอื่น ทำให้เครือข่าย NSFNET ถูกกำหนดให้เป็นเครือข่ายหลักหรือที่เรียกว่า แบ็คโบน(Backbone) แทนเครือข่ายอาร์ปาเนต และครือข่ายอาร์ปาเนตก็สนองความต้องการได้น้อยลงเรื่อยๆในที่สุดก็ถูกยกเลิกการใช้งานไป จึงเหลือเครือข่ายที่ยังใช้งานอยู่ในปัจจุบันเรียกว่า อินเทอร์เน็ตเครือข่ายอินเทอร์เน็ตในประเทศไทย เริ่มพัฒนาครั้งแรกปี พ.. 2530 โดยมหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ อำเภอหาดใหญ่ จังหวัดสงขลา ร่วมกับสถาบันเทคโนโลยีแห่งเอเชีย (AIT) ใช้คอมพิวเตอร์ที่เรียกว่า ระบบมินิคอมพิวเตอร์ สมัยนั้นเป็นการเชื่อมต่อโดยอุปกรณ์ คือ สายโทรศัพท์ไปยังมหาวิทยาลัยเมลเบิร์นในประเทศออสเตรเลีย แต่ประสิทธิภาพในการส่งข้อมูลได้ค่อนข้างช้าและขัดข้องบ่อยครั้ง ไม่สามารถพัฒนาต่อไปได้
          ต่อมาปี พ.. 2534 ศูนย์เทคโนโลยีอิเล็กทรอนิกส์และคอมพิวเตอร์แห่งชาติ (NECTEC) ได้ร่วมมือกับอาจารย์และนักวิชาการจากสถาบันการศึกษาระดับอุดมศึกษา เริ่มตั้งกลุ่ม NECTEC E-mail Working Group (NEW Group) เพื่อเป็นองค์กรกลางประสานงานเพื่อแลกเปลี่ยนเทคโนโลยีความ รู้ใหม่ๆ และข้อมูลข่าวสารด้วยการใช้อีเมล โดยผ่านระบบคอมพิวเตอร์ของสถาบันเทคโนโลยีแห่งเอเชีย เป็นตัวเชื่อมอินเทอร์เน็ตไปยังประเทศออสเตรเลีย
          ในปี พ.. 2538 ประเทศไทยได้ประกาศให้เป็นปีแห่งเทคโนโลยีสารสนเทศ เนื่องจากรัฐบาลเห็นความสำคัญในความก้าวหน้าของโลกเทคโนโลยี ในขณะเดียวกันหลายประเทศทั่วโลกกำลังสนใจพัฒนาระบบเทคโนโลยีสารสนเทศ และประเทศไทยก็ได้จัดระบบการจัดวางเครือข่ายเทคโนโลยีความเร็วสูงใหม่ โดยใช้อุปกรณ์สายใยแก้วนำแสงซึ่งเป็นสายเชื่อมโยงสื่อสาร และจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยได้ดำเนินการเช่าสัญญาณวงจรสื่อสารความเร็วสูงขนาด 600 บิตต่อวินาที จากการสื่อสารแห่งประเทศไทย เพื่อเชื่อมเข้าสู่อินเทอร์เน็ตของบริษัทแห่งหนึ่งในประเทศสหรัฐอเมริกาภายใต้ข้อตกลงร่วมกันระหว่างสถาบันอุดมศึกษากับ NECTEC
          ต่อมาในเดือนธันวาคม พ.. 2538 ได้มีหลายแห่งสนใจ ส่วนมากจะเป็นสถาบันการศึกษา ได้ร่วมมือกันเชื่อมต่อระบบแบบออนไลน์ จนสามารถใช้งานร่วมกันได้ค่อนข้างสมบูรณ์เช่นมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์,มหาวิทยาลัธรรมศาสตร์, NECTEC, จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย,สถาบันเทคโนโลยีแห่งเอเชีย และมหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ระบบเครือข่ายนี้มีชื่อว่า ไทยสารอินเทอร์เน็ตระบบนี้มีความเร็วขนาด 64 กิโลบิตต่อวินาที ต่อมาได้รับการสนับสนุนจากการสื่อสารแห่งประเทศไทย ในการเพิ่มขีดความสามารถในการ เชื่อมโยงข้อมูล จึงทำให้คนไทยมีระบบการใช้บริการของไทยสารอินเทอร์เน็ต 2 วงจรเป็นครั้งแรก
          โดยเป็นวงจรที่เชื่อมของ NECTEC ร่วมกับจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ที่ส่งสัญญาณเชื่อมโยงไปยังต่างประเทศ หลังจากนั้นก็มีการพัฒนาให้มีความเร็ว ขยายขอบข่ายมาก และกว้างขึ้นเรื่อยๆ กลุ่มที่สนใจนำไปใช้ประโยชน์ในช่วงแรกนั้น เป็นสถาบันการศึกษาในระดับอุดมศึกษาโดยใช้ระบบในการสืบค้น หรือค้นหาข้อมูลเกี่ยวกับการเรียนการสอนค้นคว้างานวิจัย สถาบันการศึกษาที่เข้ามาเชื่อมโยงข้อมูล เช่น มหาวิทยาลัยเชียงใหม่, มหาวิทยาลัยอัสสัมชัญ, จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย หรือสถาบันเทคโนโลยีแห่งเอเชีย โดยการตั้งชื่อว่า ไทยเน็ต” (THAINET) สมัยนั้นไทยสารยังเป็นเครือข่ายเพื่อ การศึกษาและการค้นคว้าวิจัยเท่านั้น ยังไม่สามารถให้บริการแก่หน่วยงานราชการและบุคคลทั่วไปปัจจุบันแนวโน้มการใช้อินเทอร์เน็ตในประเทศไทยมีแนวโน้มเพิ่มมากขึ้น อาจเป็นเพราะมีการเปิดการแข่งขันเสรีในด้านบริการอินเทอร์เน็ตมากขึ้น ทำให้ค่าบริการต่ำลง ขณะเดียวกันคอมพิวเตอร์ก็มีราคาถูกค่อนข้างมาก ทำให้ผู้บริโภคเข้าถึงสื่ออินเทอร์เน็ตได้มากขึ้น โดยเฉพาะการแข่งขันกันเรื่องราคาที่ต่ำลง ความเร็วและคุณภาพสูงขึ้น ยิ่งเป็นสิ่งกระตุ้น ทำให้ผู้บริโภคเข้าสู่การใช้งานมากขึ้นเรื่อยๆ

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น