วันอาทิตย์ที่ 16 กันยายน พ.ศ. 2555

ส่วนผสม Online Marketing Mix



1.ผลิตภัณฑ์ (Product) คือสินค้า ผลิตภัณฑ์และการบริการที่นำเสนอบนร้านค้าบนอินเทอร์เน็ตในระบบออนไลน์ เป็นผลิตภัณฑ์และบริการทีเหมือนจริงที่อยู่บนร้านค้าทั่วไป มีรูปภาพ รูปร่าง รูปทรง ขนาด ราคา และอื่นๆ เหมือนสินค้าดั้งเดิม แต่จะแตกต่างกันที่ไม่สามารถสัมผัสได้เท่านั้น โดยผลิตดภัณฑ์ในร้านค้าออนไลน์จะมีองค์ประกอบโดยรวมดังนี้
      (1)   เป็นสินค้าที่สัมผัสไม่ได้
             (2)   เป็นร้านค้าลักษณะบริการ
(Services) ในรูปแนะนำรายการต่างๆ เช่น
      (2.1) รูปภาพสินค้าและผลิตภัณฑ์ ต้องเป็นรูปปัจจุบันมากที่สุด แสดงรายละเอียด เน้นความสำคัญ คุณภาพและความน่าเชื่อถือ
       (2.2) นำเสนอ อธิบายรายละเอียดด้านการบริการ คุณสมบัติของสินค้าอย่างชัดเจนไม่คลุมเครือ         
       (2.3) นำเสนอภาพ ภาพลักษณ์ สีสรร รูปแบบ เข้ายุคเข้าสมัย เพื่อตอกย้ำเรื่องบริการ คุณภาพ ความเชื่อถือโดยเน้นภาพ โลโก้ ข้อความ VDO Line และระบบการเชื่อมโยงกับ website อื่นๆ
      ผลิตภัณฑ์ที่นำเสนอในร้านค้าทางออนไลน์จะอยู่บน website ต่างๆ จะมีให้ผู้บริโภคเลือกบริโภคได้หลากหลายและเข้าไปสู่ร้านค้าได้เร็วและมากเพียงเสี้ยววินาที ตามที่ต้องการโดยไม่ต้องเดินทางให้เสียเวลา มีผลิตภัณฑ์และการบริการไม่แตกต่างจากร้านค้าทั่วไป และจะพิเศษตรงที่ไม่สามารถสัมผัสสินค้าได้และไม่มีพนักงานคอยอำนวยความสะดวกเท่านั้น ผู้เข้าไปยังร้านค้าประเภทนี้ต้องบริการตนเอง โดยลักษณะร้านค้าทางออนไลน์จะสามารถแบ่งออกได้ดังนี้
      1.    ประเภทผลิตภัณฑ์บริการ (Services Product) ผลิตภัณฑ์บริการ หมายถึง ผลิตภัณฑ์หรือสินค้าประเภทไม่สามารถสัมผัสได้ แต่เกิดผลที่ได้รับในลักษณะรูปธรรมได้ เช่น การบริการหลังการขาย การแนะนำวิธีใช้อุปกรณ์ เป็นต้น

ส่วนผลิตภัณฑ์บริการทางสินค้าออนไลน์จะแตกต่างจากผลิตภัณฑ์โดยทั่วไป ในความหมายนี้ คำว่าผลิตภัณฑ์บริการทางตลาดออนไลน์ หมายถึง การสร้างรูปแบบการออกแบบและรายละเอียดต่างๆ บนเว็บไซต์ไว้คอยบริการให้แก่ลูกค้าที่เข้ามาใช้บริการ อาจเป็นโปรแกรมหรือปุ่ม Line ต่างๆ ที่เมื่อผู้บริโภคกดปุ่มแล้วระบบจะพาเชื่อมโยงไปยังหน้าเว็บไซต์ตามต้องการ อย่างนี้ก็เรียกว่าการบริการเช่นกัน หรือแม้แต่การสร้างระบบ Search Engine ขึ้นมาคอยบริการให้ ผู้บริโภคคีย์ข้อความลงไปเพื่อค้นหารายการต่างๆ ตามต้องการ เช่น การบริการของ www.google.com ก็นับได้ว่าเป็นผลิตภัณฑ์การบริการของผลิตภัณฑ์ Google ได้เช่นกัน
      2.  ประเภทผลิตภัณฑ์หนัก (Hard Product) ผลิตภัณฑ์ประเภทนี้ บริษัทมีผลิตภัณฑ์ที่พร้อมจะจำหน่ายอยู่แล้ว แต่ต้องการขยายตลาดและนำเสนอสู่ตลาดให้กว้างขวางขึ้น จึงนำผลิตภัณฑ์และบริการที่มีอยู่นั้นมาเปิดร้านค้าทางออนไลน์ ซึ่งมีลูกค้าสั่งซื้อในระบบออนไลน์ ก็จะทำการเชื่อมโยงกับคลังสินค้าเพื่อดำเนินการส่งสินค้าให้กับลูกค้าโดยตรง
      3. ประเภทผลิตภัณฑ์เบา (Soft Product) ผลิตภัณฑ์ประเภทนี้ค่อนข้างพิเศษกว่าสินค้าโดยทั่วไป เพราะผู้ขายไม่มีหน้าที่ในการส่งสินค้าให้ลูกค้าโดยตรง เพียงแต่สร้างระบบขึ้นมาให้ลูกค้าดำเนินการเอง เพียงแต่ลูกค้าเลือกจนพอใจและเกิดทำการซื้อในระบบเองจนครบขั้นตอนที่กำหนดไว้ หลังจากชำระค่าธรรมเนียมสินค้าแล้วก็สามารถทำการส่งสินค้าด้วยตัวเอง ซึ่งเรียกว่า “การดาวน์โหลด (Download)” และเก็บสินค้าไว้ใช้ได้ทันที เช่นการดาวน์โหลดภาพยนตร์ เพลง หรือโปรแกรมทางบัญชี โปรแกรมการใช้งานด้านบริหารงานบุคคล เป็นต้น
2. ราคา (Price) หมายถึง กลไกหรือเงื่อนไขที่ลูกค้าสนใจและยอมรับในผลิตภัณฑ์ว่ามีคุณค่าที่เหมาะสมและยุติธรรมต่อคุณภาพของผลิตภัณฑ์ การกำหนดราคา เจ้าของผลิตภัณฑ์ต้องพิจารณาให้รอบคอบก่อนที่จะกำหนดราคาโดยอาศัยปัจจัยหลายด้านมาเป็นตัวกำหนด ในการพิจารณาพิจารณาราคา เช่น ต้นทุนการผลิต การเพิ่มหรือลดราคาในอนาคต เพื่อให้เป็นไปตามเป้าหมายของกลไกในเรื่องกำไรของผลประกอบการของกิจการ
      กลไกการตั้งราคาของสินค้านั้น สิ่งที่เจ้าของกิจการและหน่วยงานที่เกี่ยวข้องในเรื่องการกำหนดราคา ควรพิจารณามีหลักการดังนี้
      (1)    ถ้าตั้งราคาต่ำมากเกินไป อาจจะขายไม่ได้ เนื่องจากผู้บริโภคอาจไม่มั่นใจในคุณภาพ หรือบางครั้งอาจจะใช้ประโยชน์ไม่ได้เลย
      (2)  ความสะดวกในการซื้อ แต่ละภูมิภาคอาจจะกำหนดราคาชขายที่แตกต่างกัน
      (3)  ถ้าสินค้าตั้งราคาต่ำ ควรจะมีรูปแบบการขายแบบยกโหล หรือขายเป็นชุด
      (4)  การกำหนดราคา ควรบอกค่าเสื่อมราคา ค่าขนส่ง ค่าประกันภัย ระยะทาง ท้องถิ่นและภูมิภาค
    (5)   การตั้งราคา ควรคำนึงถึงผลิตภัณฑ์ประเภทเดียวกัน ชนิดเดียวกัน คุณประโยชน์อย่างเดียวกัน และความเป็นจริงของสภาพแวดล้อม
      ดังนั้น การตั้งราคา ต้องเริ่มวางแผนตั้งแต่การผลิตสินค้า (Product) เรื่องต้นทุนการผลิต การทำตลาด กลุ่มเป้าหมาย และทำการเก็บข้อมูลสำรวจตลาด และแนวโน้มในอนาคตว่าควรจะกำหนดราคาอย่างไร
3. สถานที่จัดจำหน่าย (Place) ร้านค้าทางออนไลน์บนเว็บไซต์เป็นสถานที่หรือร้านจัดจำหน่ายสินค้า
      สถานที่ตั้งและจัดจำหน่ายของการตลาดออนไลน์ หมายถึง ที่อยู่หรือ URL หรือเรียกอีกอย่างว่า Domain Name ซึ่งเป็นชื่อของเว็บไซต์ เช่น http://saimmedia.blogspot.com หรือ www.shelfbookz.com สำหรับ Domain Name นอกจากจะแสดงที่อยู่ของเว็บไซต์แล้ว ยังบ่งบอกความเป็นเอกลักษณ์ หรือยี่ห้อ เช่น ชื่องเว็บไซต์ www.thaisecondhand.com โดยผู้บริโภคเมื่อเห็นชื่อแล้วจะคาดเดาหรือทราบได้เลยว่า เป็นเว็บไซต์เกี่ยวกับสินค้ามือสอง เป็นสินค้าที่ผู้ใช้แล้วนำมาเสนอขาย เพื่อให้การกำหนดสถานที่จัดจำหน่าย (เว็บไซต์) ให้ประสบความสำเร็จ ควรคำนึงถึงหลักในการตั้งชื่อ สถานที่จัดจำหน่าย ดังนี้
      (1)    กำหนดชนิด ประเภทในการตั้งชื่อให้ตรงกับประเภทของผลิตภัณฑ์
      (2)    ตรงกับกลุ่มเป้าหมาย และกลุ่มลูกค้าที่จะทำการตลาด
      (3)    การตั้งชื่อควรสั้นๆ ง่าย และสามารถจำง่าย
      (4)    สามารถค้นหาได้ง่าย และดาวน์โหลด (Download) ได้เร็ว
      (5)    ข้อมูลภายใย ภาพ เสียงคมชัดน่าสนใจและตอบสนองได้เร็ว
      (6)    ต้องเป็นข้อมูลและรายละเอียดที่เป็นจริง เชื่อถือได้และมีความปลอดภัย
การเปิดร้านค้า ในการทำการตลาดออนไลน์ ผู้ประกอบการควรพยายามศึกษาข้อมูลและเทคนิคต่างๆ แบบพิจารณาอย่างช้าๆ เรียนรู้ไปเรื่อยๆ เพราะเทคนิคค่อนข้างซับซ้อน ขณะเดียวกันลูกค้าผู้บริโภคโดยทั่วไปยังไม่คุ้นเคยกับการตลาดแบบออนไลน์ เพราะในปัจจุบันลูกค้ายังไม่ค่อยมั่นใจในระบบมากนัก จึงต้องพยายามสร้างความมั่นใจในการทำการตลาดแบบให้ความรู้และความซื้อสัตย์ จึงจะทำให้การตลาดออนไลน์เข้าสู่การทำธุรกิจอย่างสมบูรณ์โดยเร็;  
4.โปรโมชั่น (Promotion) คือ กิจกรรมสื่อความหมายในการส่งเสริมการตลาดที่เกี่ยวข้องกับผลิตภัณฑ์ต่อผู้บริโภคกลุ่มเป้าหมายให้ได้ทราบข้อมูลและรายละเอียดเกี่ยวกับผลิตภัณฑ์และบริการนั้นๆ โดยทั่วไปแล้ว การจัดกิจกรรมดังกล่าวจะผ่านพนักงานขาย (personal selling) กิจกรรมแสดงสินค้า ออกบู๊ธร้านค้า แต่รูปแบบของการตลาดออนไลน์จะแตกต่างออไปจากการจัดกิจกรรมแบบเดิมที่กล่าวมา การโปรโมทเพื่อส่งเสริมการตลาดนี้จะจัดอยู่บนเว็บไซต์ โดยอาศัยร้านค้าออนไลน์ ซึ่งมีรูปแบบการจัดกิจกรรมต่างๆ เช่น การนำเสนอข่าวสารข้อมูล ส่วนลด ของผลิตภัณฑ์บนเว็บไซต์ การปรับปรุงออกแบบเว็บไซต์ ในการด้านการใช้คำ ใช้สี ภาพ ป้ายลิงค์โฆษณา ปุ่ม Link ตลอดจนการนำระบบ Social Network เข้ามาเป็นส่วนผสมในการโปรโมทผลิตภัณฑ์ก็ล้วนแต่มีความสำคัญ เพื่อสร้างจุดเด่นให้เกิดในกลุ่มผู้บริโภคได้เป็นอย่างดี
5. Social Network   หมายถึง เป็นสังคมเครือข่าย มีการเชื่อมโยง โดยอาศัยอุปกรณ์เทคโนโลยีสารสนเทศเข้ามาประยุกต์เข้ากับระบบออนไลน์ เป็นรูปแบบของการสื่อสาร (communication) กันแบบ 2 ทาง (2 ways) โดยมีการส่งสารแล้วมีผู้รับสารและทำการโต้ตอบกันโดยทันทีในสมาชิกหรือกลุ่มเดียวกัน โดยระบบที่สนับสนุนสังคมเครือข่ายดังกล่าว คงจะไม่มีใครไม่รู้จัก Facebook Twitter เพราะเว็บไซต์เหล่านี้มีคุณสมบัติพิเศษที่เหมาะสมนำมาประยุกต์ใช้ในการทำกิจกรรมทางด้านการตลาดในด้านการแนะนำผลิตภัณฑ์ใหม่ การเชิญเข้าร่วมกิจกรรมทางการตลาด การประชาสัมพันธ์องค์กร หรือผลิตภัณฑ์ และอื่นๆ อีกมากมายโดยที่ใช้งบลงทุนต่ำมากที่สุดเมื่อเทียบกับการทำกิจกรรมด้วยรูปแบบอื่นๆ ที่ผ่านมา และที่สำคัญ มีประสิทธิภาพอย่างน่าพอใจมากที่สุดในปัจจุบัน
6. Sales Promotion หมายถึง กิจกรรมส่งเสริมการขายบนร้านค้า (website) เป็นลักษณะการจัดกิจกรรมทางการตลาดเพื่อสร้างและส่งเสริมยอดขายโดยการจัดกิจกรรมในช่วงเทศกาลต่างๆ เช่น สงกรานต์ ปีใหม่ ปิดเทอม เปิดเทอม เพื่อกระตุ้นให้ลูกค้าเข้ามายังร้านค้า (website) อาจใช้หลักกลยุทธ์ทางการตลาดเข้ามาช่วย เช่น การส่ง Mail ไปยังลูกค้ากลุ่มเป้าหมาย การเข้าไปฝากข้อความยัง webboard ต่างๆ หรือแม่แต่การใช้ระบบ social network เข้ามาช่วยส่งเสริมในการจัดกิจกรรม เพื่อให้เกิดความสำเร็จ
7.  Personalization Service  หมายถึง การทำการตลาดโดยการบริการลูกค้าหรือกลุ่มเป้าหมายแบบประชิดตัว โดยการอาศัยฐานข้อมูลที่มีอยู่เดิม เช่น ข้อมูลการสมัครสมาชิก ข้อมูลการสั่งซื้อสินค้า โดยการนำรูปแบบเข้าไปนำเสนอประชาสัมพันธ์ การส่งการ์ดอวยพร การนำเสนอรายการสินค้าราคาพิเศษในเทศกาลต่างๆ ทำให้ลูกค้าเกิดความประทับใจ คุ้นเคยกับผลิตภัณฑ์และองค์กรจำกลายเป็นลูกค้าถาวร ลักษณะของการบริการอาจจะอยู่ในรูปของการส่งจดหมาย (Mail) การส่งข้อความทาง SMS เป็นต้น
8. Site Securit  หมายถึง การรักษาความปลอดภัยในระบบออนไลน์ในเว็บไซต์ที่เป็นร้านค้าในการทำธุรกรรม จะมีข้อมูลที่สำคัญ โดยเฉพาะฐานข้อมูลที่เป็นความลับทางการค้า ดังนั้น ถ้าไม่มีระบบป้องกันรักษาความปลอดภัยเข้ามาป้องกัน อาจจะทำให้คู่แข่งหรือผู้ไม่หวังดีเข้ามาโจรกรรมข้อมูล นำไปใช้หาประโยชน์ในทางมิชอบ ในขณะเดียวกันก็อาจนำมาซึ่งความเสียหายอันใหญ่หลวงแก่หน่วยงานและองค์กรด้ สำหรับมาตรการเบื้องต้นในการป้องกันข้อมูลมีรูปแบบดังนี้
    1. ก่อนที่จะเข้ามาค้นหาข้อมูลหรือเข้ามาโพสต์ข้อความ ต้องทำการสมัครสมาชิกเพื่อลงทะเบียนและการเช้ามาใช้งานทุกครั้งต้องใช้รหัสผ่าน
    2. การตั้งรหัสผ่านเข้าไปใช้งานบนระบบออนไลน์ ควรตั้งให้จำง่ายแต่ยากสำหรับผู้คนอื่นเพื่อให้คาดเดาได้ง่าย
   3. ไม่ควรตั้งรหัสผ่านอย่างเดียวกันเพื่อเข้าไปใช้งานหลายๆ เว็บไซต์ จะทำให้พวกแฮคเกอร์สามารถเข้าถึงระบบได้ง่ายและที่สำคัญผู้ขายต้องรักษาความลับของลูกค้า เช่น หมายเลขบัตรเครดิต ที่อยู่ เบอร์โทรศัพท์ รายการซื้อสินค้า E-mail ของลูกค้า โดยเฉพาะผู้ดูแลระบบเว็บไซต์ หรือผู้ที่เกี่ยวข้องในระบบฐานข้อมูล ในการขายจะต้องสร้างระบบการป้องกันและรักษาความปลอดภัยไม่ให้ข้อมูลดังกล่าวเผยแพร่ออกไปและถูกโจรกรรม ต้องระบุนโยบายเกี่ยวกับการรักษาความเป็นส่วนตัวของลูกค้า หรือ privacy policy ให้เคร่งครัด เพราะการรักษาความลับของลูกค้าก็ส่งผลต่อความเชื่อมั่นและสร้างความภักดีให้เกิดขึ้นในใจลูกค้าอีกวิธีหนึ่งได้เป็นอย่างดี

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น