วันพุธที่ 21 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2561

วอลไว่ VOLVO

VOLVO รุ่น EC 200 D รถขุด ระดับโลก

            อิตัลไทยอุตสาหกรรม มีความมุ่งมั่น และจริงใจนำเสนอผลิตภัณฑ์ เครื่องจักรกลประเภทงานหนัก เพื่อตอบสนองงานของลูกค้าด้วยคุณภาพที่ดีตลอดมา นอกจากนั้นเราก็ยังมีพันธมิตรที่ดี ที่ให้การสนับสนุนเราอย่างต่อเนื่อง อย่าง  VOLVO ซึ่งที่ผ่านมาพันธมิตรของเราก็มีแนวทางการมองตลาดและให้ความสำคัญกับการทำตลาดเครื่องจักรกลในเมืองไทย ไปในแนวทางเดียวกัน นอกจากนั้นในปี 2561 เป็นต้นไป ทางค่าย Volvo ก็จะนำผลิตภัณฑ์รุ่นใหม่เข้ามาตอบสนองความต้องการของลูกค้ามากขึ้น ล่าสุดมี 2 รุ่น มีรุ่น 950 หรือเรียกอีกอย่างคือเครื่องจักรประเภท 95 ตัน รุ่นนี้จะเข้ามารองรับงานทำเหมืองโดยตรงนอกจากนั้นจะมีรุ่น 20 ตัน มารองรับงานถนน  ฉะนั้นล่าสุด ทาง VOLVO ได้นำเสนอ เครื่องจักรกลตัวแกร่ง 2 รุ่นให้เลือกใช้  โดยเฉพาะรถขุด 20 ตัน กับรถปูยางนั้น  คาดว่าจะสามารถตอบโจทย์ลูกค้าประเภทงานถนนได้ดีมากขึ้น นอกจากเครื่องจักรกลที่ได้นำเสนอข้างต้นแล้ว ทาง VOLVO ยังมีเครื่องกล ประเภทงานขุด คือรุ่น  EC 200 D เป็นรถขุด ตัก ประเภทดิน หิน ทราย ที่เน้นงานหนัก เพราะเครื่องจักรกล ของค่าย  VOLVO รุ่น EC 200 D ต่างก็ได้รับการยอมรับจากหลายประเทศว่า เป็นรถขุด ระดับโลก  ที่สามารถตอบสนองการทำงานหนัก ได้ทุกสภาวะอย่างต่อเนื่อง  ซึ่ง รถขุดของ VOLVO รุ่น EC 200 D นี้ เป็นรถขุดที่พัฒนามาจากรุ่น อัคเคอร์มัน ที่เคยสร้างชื่อและได้รับการยอมรับ มาอย่างยาวนาน จนต่อยอดพัฒนามาเป็น VOLVO รุ่น EC 200 D ซึ่งเป็นรถ ประเภทเน้นงานขุด ขนาด 20 ตัน รุ่นนี้ ทาง VOLVO คาดหวังว่าจะตอบสนองการใช้งานประเภทงานขุด ดิน หิน ทราย การเคลื่อนย้ายดิน หิน  งานบุกเบิกทาง สร้างถนน ทั้งงานอาคาร ปรับพื้นที่ และสาธารณูปโภคทั่วไป ได้มากขึ้น




            นอกจาการนำเสนอผลิตภัณฑ์ ที่มีคุณภาพ สามารถตอบโจทย์ การใช้งานของลูกค้าได้มากขึ้นแล้ว ทางอิตัลไทยอุตสาหกรรม ก็ไม่ละเลย ความใส่ใจกับลูกค้าอย่างต่อเนื่อง ทางอิตัลไทย ฯ จะมีทีมงานเข้าไปช่วยเหลือคอยให้บริการกับลูกค้า เช่น การให้คำแนะนำ และช่วยสนับสนุนการทำงานของลูกค้า ในเรื่องการบริหารต้นทุน เน้นการทำอย่างไรจะให้ลูกค้าใช้ต้นทุนต่ำ แต่คุณภาพของงานคงเดิม หรือมีคุณภาพของงานที่สูงขึ้น เช่น การใช้เทคโนโลยีที่ทันสมัยมาใช้งาน เพื่อลดต้นทุน  การช่วยดูแลการทำงานของเครื่องให้เป็นไปอย่างต่อเนื่อง การหาแหล่งอะไหล่ราคาต่ำที่มีคุณภาพ มานำเสนอลูกค้า ซึ่งทั้งหมดนี้ก็ล้วน สามารถที่จะลดต้นทุนได้ทั้งสิ้น
            นอกจากนั้น ทางอิตัลไทย ฯ ยังมีแนวทางการให้บริการลูกค้า และช่วยเหลือลูกค้า หลายรูปแบบเช่น ลูกค้าบางรายอาจไม่มีความพร้อมในเรื่องเงินทุน ขาดงบประมาณ ทางเราก็มีบริการในลักษณะ การซื้อแบบสินเชื่อ (เงินผ่อน) หรือประเภทให้เช่า ซึ่งก็จะมีสถาบันการเงินเข้ามาดูแลในเรื่องนี้

            ซึ่งในเรื่องนี้ เงื่อนไขนั้นก็ขึ้นอยู่กับ ความพร้อม และศักยภาพของลูกค้าเป็นหลัก ว่ามีความสามารถอยู่ในระดับใด เราก็จะเข้าไปสนับสนุนในเรื่องนั้น  เช่น ลูกค้าบางราย รับโครงการมาในระยะสั้น ก็ยังไม่ควรจะซื้อเครื่องจักร ทางเราก็มีเครื่องจักรมือสองไว้คอยบริการ เช่น การให้เช่า และหลังจากงานเสร็จ  และขอย้ำว่า ถ้าสนใจเครื่องจักรกล คุณภาพ เน้นงานหนัก เข้ามาปรึกษาเรา มั่นใจ อิตัลไทย ฯ มั่นใจ VOLVO




วันจันทร์ที่ 19 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2561

ทำเลทองอสังหา ฯ น่าลงทุน

ถนนรัชดา โซนอนาคต น่าลงทุน

ถนนรัชดาภิเษก เป็นถนนสายสำคัญอีกเส้นหนึ่งที่เชื่อมต่อพื้นที่โซนพระราม 9 - ลาดพร้าวเข้าด้วยกัน ตลอดระยะทางประมาณ 10.5 กิโลเมตร ตั้งแต่แยกพระราม 9 ไปจนถึงแยกรัชโยธินนั้น มีโครงการรถไฟฟ้าเกิดขึ้น และในอนาคตจะเชื่อมต่อกันกับ โครงการรถไฟฟ้าใต้ดิน  MRT ที่มีในปัจจุบันถึง 2 จุด นอกจากนั้นยังมีโครงการ Mega Project ที่กำลังจะเกิดขึ้นอีกหลายโครงการ ในบริเวณ   โซนพระราม 9 – รัชดา ซึ่งนับว่าจะเป็นพื้นที่ศูนย์กลางธุรกิจแห่งใหม่ ที่ขยายตัวมาจากพื้นที่กรุงเทพ ฯ ชั้นใน  จึงไม่น่าแปลกใจที่ทำเลแหล่งนี้ จะเป็นอีกหนึ่งโซนหรือพื้นที่ สำหรับจะพัฒนาเป็นที่อยู่อาศัย  เป็นแหล่งงาน หรือแม้แต่การลงทุนในด้านอสังหาริมทรัพย์ เพื่อการหารายได้จากการลงทุนในพื้นที่ ดังกล่าว



ทำไม ทำเลรัชดาภิเษกถึงน่าสนใจ
นางนลินรัตน์ เจริญสุพงษ์  กรรรมการผู้จัดการ บริษัท เน็กซัส พรอพเพอร์ตี้ มาร์เก็ตติ้ง จำกัด กล่าวว่า ถนนรัชดาภิเษก เชื่อมต่อถนนหลักสำคัญหลายเส้นทาง ไม่ว่าจะเป็นถนนลาดพร้าว ถนนสุทธิสาร และถนนพระราม 9 ถนนทั้ง 3 เส้นที่ตัดผ่านนี้ ทำให้พื้นที่ดังกล่าวมีลักษณะเฉพาะที่และแตกต่างกัน ทั้งในแง่ของการกระจุกตัวของที่อยู่อาศัย ออฟฟิศ ศูนย์การค้า ซึ่งปัจจัยดังกล่าวข้างต้น นั้นยังสะท้อนไปถึงราคาของอสังหาริมทรัพย์ในพื้นที่นั้น ๆ  ด้วย ทั้งนี้ทำเลรัชดาภิเษกครอบคลุม จาก  (1) โซนรัชดา - พระราม 9 (2) โซนรัชดา - สุทธิสาร และ (3) โซนรัชดา - ลาดพร้าว ในด้านการอยู่อาศัย ความโดดเด่นของ 3 ทำเลนี้ สามารถตอบสนองได้ทั้งการใช้ชีวิต การทำงาน และการเดินทางที่สะดวกสบายด้วยระบบราง ในด้านราคานั้น ทำเลนี้มีอัตราการเติบโตของราคาในช่วง 5 ปีที่ผ่านมา เฉลี่ยอยู่ที่ 9.3% ต่อปี จากราคาเฉลี่ย 86,900 บาทต่อตารางเมตร ในปี 2556  ต่อเป็น 116,000 บาทต่อตารางเมตร ในปี 2560” ราคาที่เพิ่มขึ้นสอดคล้องกับอัตราการเติบโตของราคาในเขตกรุงเทพฯ ชั้นใน  ที่มีการเติบโตเฉลี่ย 10% ต่อปี

            ซึ่งเห็นได้ว่าแนวโน้มการเติบโตของราคาจะเป็นไปในทิศทางเดียวกัน ทั้งนี้หากเทียบเป็นโซนย่อย ของรัชดา (1) ทำเลรัชดา - ลาดพร้าว มีอัตราการเติบโตที่สูงกว่าเขตกรุงเทพ ฯ ชั้นในอย่างเห็นได้ชัด เฉลี่ยอยู่ที่ 15% ต่อปี ซึ่งสามารถสะท้อนถึงศักยภาพในแง่ของการลงทุนและการเติบโตของชุมชนในทำเลนี้  (2) ทำเลรัชดา -  สุทธิสาร มีอัตราเติบโตของราคาเฉลี่ยอยู่ที่  5% ต่อปี สะท้อนการเติบโตของตลาดและความต้องการของกลุ่มลูกค้าระดับกลาง (3) ทำเลรัชดา- พระราม 9   มีอัตราเติบโตของราคาเฉลี่ยอยู่ที่ 8% ต่อปี เป็นทำเลศักยภาพใกล้ย่านธุรกิจ




ข้อมูล ณ วันที่ 30 มกราคม 2561, ที่มา เน็กซัส พรอพเพอร์ตี้ มาร์เก็ตติ้ง, มกราคม 2561

            ทางด้านการลงทุนคอนโดมิเนียมในทำเลนี้ มีอัตราเฉลี่ยผลตอบแทนจากการปล่อยให้เช่า 5.39%เมื่อเปรียบเทียบกับทำเลในเขตกรุงเทพฯ ชั้นในแล้ว มีอัตราเฉลี่ยอยู่ที่ 3-5% ทำให้คอนโดมิเนียมในทำเลนี้ น่าสนใจในด้านการลงทุนปล่อยเช่า ซึ่งเนื่องมาจากเป็นทำเลที่ใกล้โซนออฟฟิศ และยังมีศักยภาพ สำหรับการปล่อยขายและเช่า กับกลุ่มลูกค้าต่างชาติได้อีกด้วย


ตามข้อมูล 30 มกราคม 2561, ที่มา เน็กซัส พรอพเพอร์ตี้ มาร์เก็ตติ้ง, มกราคม 2561
หากจะวิเคราะห์ถึงลักษณะพิเศษที่ทำให้รัชดาภิเษกสามารถแบ่งได้เป็น 3 ส่วน

1. โซนรัชดา-พระราม 9  (พื้นที่เชื่อมต่อเมือง เต็มไปด้วยสิ่งอำนวยความสะดวก ศูนย์กลางออฟฟิศในอนาคต)  โซนรัชดา-พระราม 9 นับพื้นที่ตั้งแต่แยกพระราม 9 ถึงสถานี MRT ศูนย์วัฒนธรรม มีอุปทานรวมจำนวน 6,279 หน่วย อัตราขายรวม 89% มีระดับราคาเฉลี่ย 132,600 บาท/ตร.ม. เป็นโซนที่มีระดับราคาต่อตารางเมตรเฉลี่ยสูงที่สุดของทำเลรัชดาภิเษก ด้วยทำเลที่เชื่อมต่อจากอโศก-สุขุมวิท ย่านพื้นที่ดินราคาแพงของกรุงเทพ ฯ มีศูนย์การค้าเกิดขึ้นมากมายในบริเวณนี้ ทั้งเซ็นทรัลพระราม 9  ฟอร์จูน เอสพลานาดรัชดา และเดอะ สตรีท รวมทั้งตึกออฟฟิศจากนายทุนเจ้าใหญ่หลาย ๆ แห่ง เช่น SET, True Tower,  AIA เป็นต้น นอกจากนั้นยังมีแนวโน้มการขยายตัวของเมืองในบริเวณนี้เพิ่มเติมจากโครงการ Mega Project ต่าง ๆ เช่น โครงการ Super Tower โครงการมักกะสัน  ซึ่งถ้ารวมมูลค่าโครงการดังกล่าวทั้งสิ้นกว่า 340,000 ล้านบาท ทำเลนี้จึงมีความน่าสนใจหากต้องการคอนโดมิเนียมที่อยู่ใกล้ ใจกลางเมือง ทั้งยังสามารถเชื่อมต่อเข้าสู่ใจกลางเมืองได้ด้วยรถไฟฟ้า ซึ่งมีถึง 2 สถานี  นอกจากนั้นยังมีสภาพแวดล้อมที่เต็มไปด้วยสิ่งอำนวยความสะดวกมากมาย  และถ้าพูดถึงราคา ก็จะต่ำกว่า ราคาของคอนโดมิเนียม ในตั้งอยู่ตามแนวรถไฟฟ้า บนถนนสุขุมวิท อีกด้วย

2. โซนรัชดา - สุทธิสาร โซนนับว่าเป็นแหล่งท่องเที่ยวและแหล่งออฟฟิศ  ซึ่งเป็นโซนเปลี่ยนผ่านไปยังชุมชนกรุงเทพ ฯ ชั้นกลางโซนรัชดา-สุทธิสาร นับพื้นที่ตั้งแต่สถานี
MRT ศูนย์วัฒนธรรม แยกเทียมร่วมมิตรไปจนถึงแยกสุทธิสาร มีอุปทานรวมจำนวน 3,305 หน่วย อัตราขายรวม 93% มีระดับราคาเฉลี่ย 117,875 บาท/ตร.ม. โดยมีราคาขายต่ำลงมาจาก โซนรัชดา-พระราม 9 ประมาณ 11%  พื้นที่โซนนี้เต็มไปด้วยออฟฟิศ และแหล่งท่องเที่ยว มีนักท่องเที่ยวทั้งชาวจีนและชาวเกาหลีอาศัยอยู่เป็นจำนวนมาก และยังสามารถเชื่อมต่อไปยังถนนลาดพร้าว หรือลัดออกสู่ถนนพหลโยธิน  จากซอยสุทธิสารได้ นอกจากนี้ยังมีโครงการรถไฟฟ้าสายสีส้มในอนาคต ที่จะตัดผ่านบริเวณสถานี MRT ศูนย์วัฒนธรรม ซึ่งจะทำให้พื้นที่โซนนี้มีโอกาสเติบโตได้อีกในอนาคต

3. โซนรัชดา - ลาดพร้าว
(พื้นที่เชื่อมต่อไปยังชานเมืองหลายเส้นทาง มีความเป็นชุมชน คุ้มค่าราคา)  โซนรัชดา-ลาดพร้าว นับพื้นที่ตั้งแต่แยกสุทธิสารไปจนถึงแยกรัชโยธิน มีอุปทานรวมจำนวน
5,256 หน่วย อัตราขาย 68% มีระดับราคาเฉลี่ย 100,200 บาท/ตร.ม. มีโครงการคอนโดมิเนียมใหม่เกิดขึ้นในโซนนี้จำนวนมาก เนื่องจากรถไฟฟ้าในอนาคตสายสีเหลืองได้มีกำหนดวันเข้าก่อสร้างที่ชัดเจน จึงส่งผลให้มียูนิตเหลือขายอีกจำนวนหนึ่ง จากโครงการเปิดใหม่ภายใน 1 ปีที่ผ่านมา ทำเลนี้เป็นย่านที่อยู่อาศัยและออฟฟิศขนาดเล็ก มีความเป็นชุมชน เต็มไปด้วยร้านอาหารสไตล์ Street food ย่านรัชดา ลาดพร้าว จึงเป็นอีกหนึ่งทำเลหนึ่งที่เหมาะสำหรับผู้ที่มองหาคอนโดมิเนียมที่คุ้มค่า คุ้มราคา และยังมีความสะดวกสบาย โดยสามารถเดินทางเข้าเมืองได้ภายใน 15 นาที โดยรถไฟฟ้า MRT นอกจากนั้นยังมีโครงการรถไฟฟ้าความเร็วสูง ที่จะเกิดขึ้นในอนาคต ตรงบริเวณบางซื่อ ซึ่งก็ตั้งอยู่ไม่ไกลจากบริเวณนี้  ทั้งยังมีจุดเชื่อมต่อ (intersection) การดินทางหลายจุดที่อยู่ใกล้เคียงกัน จึงทำให้พื้นที่นี้เป็นย่านที่น่าจับตา มองเป็นอย่างยิ่ง  

            ซึ่งในอนาคตภายในปี 2563  โครงการรถไฟฟ้าสายสีเหลือง จะเริ่มสร้างเสร็จ และจะเปิดให้บริการ  ทำเลแถวรัชดาภิเษกน่าจะเป็นแรงกระตุ้น ที่กลุ่มนักลงทุน เกิดความสนใจ เข้ามาพัฒนาโครงการในบริเวณนี้มากขึ้น โดยเฉพาะทำเลที่เป็นจุดตัด หรือเป็นเส้นทางเชื่อมของรถไฟฟ้าทั้ง สายสีเหลืองและสายสีส้ม ซึ่งเริ่มก่อสร้างไปแล้วทั้งสองสาย นอกจากนั้นยังมีโครงการส่วนต่อขยายจากรถไฟฟ้าสายสีเหลืองแยกรัชดา-ลาดพร้าว เชื่อมรถไฟฟ้าสายสีเขียวเข้ม ตรงแยกรัชโยธินซึ่งปัจจุบัน อยู่ระหว่างทำการศึกษาเพิ่มเติมอีกโครงการ  และปัจจุบันบริเวณนี้มีโครงการคอนโดมิเนียมเปิดขายใหม่ในทำเลรัชดาจำนวน 1,697 ยูนิต ภายใน 6 เดือนที่ผ่านมา


รวมทั้งมี Developer รายใหญ่อีกหลาย ๆ รายเริ่มเข้ามาสนใจ และจองพื้นที่ เพื่อเตรียมพัฒนาโครงการใหม่หรือเปิดตัวโครงการเพิ่มมาตั้งแต่ปลายปี 2560  จึงไม่แปลกใจที่ทำเล ตรงรัชดาตั้งแต่แยกพระราม 9 ไปจนถึงแยกรัชโยธินจะคึกคักมากขึ้น กว่าเดิม ในอีกภายใน 1-2 ปีนี้  อย่างแน่นอนและคาดว่าน่าจะเป็นทำเลทองที่น่าสนใจอีกแห่งหนึ่ง  ส่วนเรื่องราคาคอนโดมิเนียม และอสังหาริมทรัพย์ในย่านนี้  ในอนาคตน่าจะปรับตัวสูงขึ้น ตามอัตราการเติบโต ของปัจจัยต่าง ๆ ที่เข้ามาสนับสนุน ตามเหตุผลข้างต้น
///////////////////////////


         


วันเสาร์ที่ 17 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2561

ลดต้นทุน แบบฟรีแลนซ์ (Freelance)

จ้างฟรีแลนซ์ ลดต้นทุน

/////////////////////////////

นับว่าเป็นเรื่องที่สำคัญและมีความจำเป็นอย่างมากสำหรับผู้ประกอบการ  การมีต้นทุนที่สูงขึ้นนับว่าไม่เป็นผลดีต่อกิจการเลย และต้นทุนที่มองเห็นได้ชัดเจนก็คือค่าจ้าง  การจ้างพนักงานมากต้นทุนย่อมเพิ่มมากขึ้นด้วย ดังนั้นในอดีตที่ผ่านมาผู้บริหารส่วนมากจะลดต้นทุนอย่างง่าย ๆ  ประการแรกลดจำนวนพนักงาน ประการต่อมาลดค่าจ้าง ลดโบนัส ลดสวัสดิการพนักงาน และอีกประการหนึ่งที่ร้ายแรงที่สุดก็คือลดคุณภาพของวัตถุดิบลงใช้วัตถุดิบราคาต่ำมาผลิตสินค้า ซึ่งทั้งหมดนี้แม้จะลดต้นทุนได้จริงแต่ก็เสี่ยงกับการได้สินค้าที่ด้อยคุณภาพ การที่นำสินค้าด้อยคุณภาพออกมาสู่ตลาดนั้น  นับเป็นอันตรายอย่างยิ่งต่อผู้บริโภค ทั้งยังจะส่งผลสะท้อนกลับมาสู่กิจการ และ ย่อมไม่เกิดผลดีอย่างแน่นอน  ซึ่งก็เป็นจุดที่ผู้บริหารที่ชาญฉลาดจะต้องนำมาคิดและนำมาวิเคราะห์กันอย่างละเอียดรอบคอบ  ว่าจะใช้วิธีการลดต้นทุนในลักษณะอย่างไร ที่จะเหมาะสมที่สุดและสามารถทำให้กิจการดำรงอยู่ได้อย่างยืนยาว



            ซึ่งก็มีแนวคิดในการลดต้นทุน วิธีหนึ่ง คือการจ้างพนักงาน แบบแบ่งส่วน แบบแรกจะจ้างพนักงาน ประจำเท่าที่จำเป็นและมีความสำคัญ และอีกแบบก็เป็นแบบฟรีแลนซ์  และแบบ Outsource ซึ่งวิธีนี้จะมีบริษัทนายหน้าจัดหาแรงงานไว้รองรับโดยตรง ซึ่งเรียกว่าบริษัท Outsource บริษัทประเภทนี้จะรับผิดชอบส่งพนักงานมาให้ทำงานโดยตรง ที่โรงงานตามจำนวนที่ต้องการ 

ซึ่งเจ้าของโรงงาน ก็ไม่ต้องรับผิดชอบในสวัสดิการใด ๆ ทั้งสิ้นกับพนังงานนั้นเลย ยกเว้นรายการในส่วนที่เกี่ยวข้องกับกระบวนการทำงานในไลน์การผลิต แม้แต่เงินค่าจ้างทางเจ้าของโรงงาน ก็จะจ่ายให้บริษัท Outsource ที่เป็นต้นทางให้ดำเนินการจ่ายพนักงานเอง ซึ่งไม่เกี่ยวข้องกับพนักงานประเภทนี้เลย นอกจากในกระบวนการทำงานเท่านั้น
            ซึ่งแนวทางการลดต้นทุนประเภทนี้ เริ่มได้รับความนิยมมากขึ้นในยุคนี้ และคาดว่าจะได้รับความนิยมมากขึ้น เรื่อย ๆ ในอนาคต เพราะสามารถลดต้นทุนได้ทันที และได้อย่างมหาศาลด้วย ซึ่งแนวความคิดนี้เริ่มชัดเจน  ปี ค ศ. 2000 เป็นต้นมา ซึ่งก็มีหลายบริษัทเริ่มปรับตัว ลดต้นทุนตามวิธีนี้ โดยเฉพาะโรงงานอุตสาหกรรมที่อยู่ในนิคมอุตสาหกรรมต่าง ๆ เช่น นิคมอุตสาหกรรมลาดกระบัง ซึ่งหลายปีที่ผ่านมาจะไม่มีการบรรจุให้เป็นพนักงานประจำ แต่จะนิยมจ้างงานประเภทฟรีแลนซ์ หรือพนักงานแบบ Outsource แทน เนื่องจากผู้บริหารเหล่านั้นให้เหตุผลอย่างง่าย ๆ ก็คือไม่ต้องแบกรับภาระมากมาย ทั้งยังสามารถลดค่าใช้จ่ายที่เกี่ยวกับสวัสดิการต่าง ๆ ได้มาก แถมยังได้งานที่มีคุณภาพและเที่ยงตรงด้วย
ซึ่งการลดต้นทุนในเรื่องของพนักงาน นั้น จะเป็นลักษณะ Outsource หรือ Freelance ก็ตามนั้นล้วนแต่สามารถที่จะช่วยลดต้นทุนได้ทั้งสิ้น แต่ในขณะเดียวกันก็จะต้องดูที่ธรรมชาติของการผลิตงานด้วย ถ้าเป็นการผลิตงาน ที่มีสายการผลิตอย่างต่อเนื่องไปเรื่อย ๆ เป็นลักษณะของรายเดือนนั้นวิธีการใช้พนักงานแบบ Outsource  ก็ถือว่าเหมาะสมที่สุด   แต่ก็ขึ้นอยู่กับธรรมชาติของการทำงาน  ถ้างานที่มีลักษณะแยกส่วนเป็นชิ้นงาน ที่อาจจะไม่เกี่ยวข้องกับสายการผลิตอื่น ๆ อย่างชัดเจนนั้น ก็สามารถที่จะผลิตผลงานลักษณะแยกส่วนเป็นชิ้น ๆ ได้ ซึ่งลักษณะนี้ก็เป็นการจ้างพนักงาน แบบฟรีแลนซ์ (Freelance) น่าจะเหมาะสมอีกวิธีหนึ่ง




เรื่องงานเขียน และข้อความโฆษณา Freelance ลดต้นทุนได้มากกว่า

งานประเภท เขียน Content  writer   งานบรรณาธิการ งานเขียน งานข่าว บทความโฆษณา รีวิวสินค้า พิสูจน์อักษร  ฯลฯ  ที่เป็นงานในแนวสื่อสิ่งพิมพ์ประเภท Online และ Offline  นั้น การจ้างงานประเภท ฟรีแลนซ์ (Freelance)  นับว่าเหมาะสมที่สุด  ไม่จำเป็นจะต้องไปจ้างเป็นพนักงานประจำที่ต้องให้เจ้าของกิจการต้องจ่ายเงินเดือนทุกเดือน นอกจากนั้น ต้นทุนยังเพิ่มขึ้น  ทั้งค่าน้ำ ค่าไฟ ค่าเดินทาง โบนัส และค่าสวัสดิการต่าง ๆ  มากมายที่จะทำให้กำไรลดลง

            ส่วน การจ้างฟรีแลนซ์  (Freelance)  ประเภท Content  writer  สามารถผลิตงานได้ตามใจคนสั่ง ไม่ชักช้า ไม่งอแง ไม่เดี๋ยวก่อน ไม่มาสาย และอื่น ๆ  ที่ทำให้ต้นทุนเพิ่ม  Content  writer Freelance ทำงานตามสั่ง เร็วง่าย สามารถที่จะเลือกคุณภาพได้ คุณภาพไม่ถึงมีสิทธิ์ไม่จ้าง และเลิกจ้างได้ทันที หาใหม่ที่ทำงานถูกใจกว่า คล่องตัวไม่มีข้อผูกพันทางกฎหมายใด ๆ ทั้งสิ้น  ดังนั้นสรุปว่าการจ้าง Content  writer Freelance นั้นจะสามารถลดต้นทุนได้อย่างมหาศาล ซึ่งก็เป็นทางเลือก หรือทางเสริมในการบริหารงาน ที่ผู้ประกอบการจะนำไปพิจารณา ว่าการจ้าง Freelance นั้นสามารถลดต้นทุนจริงหรือไม่อย่างไร  เรื่องนี้น่าพิสูจน์


////////////////////////////////







วันศุกร์ที่ 16 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2561

Content แนว Business

ถ้าคุณไม่เปลี่ยน โลกจะเปลี่ยนคุณ

/////////////////////////////////////////

การดำรงอยู่ของครอบครัวก็ไม่ต่างกับการดำรงอยู่ได้ของกิจการ การดำรงอยู่ได้นั้น จะมีปัจจัยอย่างหนึ่งที่มีความเกี่ยวข้องและคล้ายกันคือ ต้องมีทรัพย์สินที่เข้ามาหล่อเลี้ยงการดำรงอยู่นั้น  และในเรื่องของธุรกิจนั้นสูตรสำเร็จโดยทั่วไป คือลงทุนไปแล้วต้องมีกำไร  ซึ่งกำไรนั้นความหมายอีกอย่างก็คือ ทรัพย์สินที่เหลือหลังจากผ่านกระบวนการผลิต และหลังจากกระบวนการขายเสร็จสิ้น ถ้าเหลือมากกว่าต้นทุนก็แสดงว่าได้กำไร แม้จะเหลือมากหรือน้อยนั้นก็เรียกว่ากำไรทั้งสิ้น  แต่ถ้าเหลือต่ำกว่าต้นทุนที่ใช้ไป ก็เรียกง่าย ๆ ว่าขาดทุน  ซึ่งการบริหารจัดการเรื่องลดต้นทุนนั้น นับว่าเป็นเรื่องใหญ่ และสำคัญมากสำหรับกิจการ เป็นหัวใจสำคัญที่ต้องอาศัยบุคคลที่มีความเข้าใจ มีประสบการณ์ในธุรกิจสาขานั้นอย่างลึกซึ้ง ให้เข้ามาดูแล  เนื่องจากแต่ละธุรกิจจะมีจุดเด่น จุดด้อย และปัจจัยปลีกย่อยต่าง ๆ ที่จะต้องนำมาพิจารณาร่วมกัน ในขั้นตอนของการทำงานของทุกกิจกรรมนั้นจะแฝงไปด้วยกิจกรรมทั้งที่ทำให้เกิดกำไร และกิจกรรมที่ทำให้เกิดการขาดทุน  ซึ่งกิจกรรมดังกล่าวนี้จะเกิดขึ้นแบบค่อยเป็นค่อยไป และอย่างต่อเนื่อง และยิ่งถ้ากิจการใดมีผู้บริหารที่ยังไม่เข้าใจ ในการเปลี่ยนแปลงนั้น กิจการนั้นอาจมีความเสี่ยงสูงต่อการล้มสลายได้


            ซึ่งถ้าได้ติดตามข่าวตามสื่อต่าง ๆ ในเรื่องการปิดกิจการของธุรกิจในรอบหลายปีที่ผ่านมานั้น  จะมาอย่างต่อเนื่อง ยิ่งมาถึง ปี 2561 ยิ่งมองเห็นได้ชัดขึ้น ซึ่งจะพบว่ามีหลายกิจการที่เคยรุ่งเรืองมาหลายสิบปี แต่มาช่วงหลังชื่อเสียงจะค่อย ๆ เงียบไป และในที่สุดก็มีข่าวว่าเลิกกิจการไป ซึ่งจะขอตัวอย่างที่เห็นได้ชัดมากที่สุดคือ ธุรกิจเกี่ยวกับสื่อสิ่งพิมพ์  นับว่าเป็นธุรกิจที่เลิกกิจการมากที่สุด และเจ้าของกิจการต่างก็ให้เห็นผลในการเลิกกิจการเหมือนกัน  เหตุผลเดียว คือ
            เพราะผู้บริโภคยุคนี้ไม่นิยมอ่านสื่อสิ่งพิมพ์ ที่เป็นรูปเล่ม แต่จะไปสนใจอ่านสื่อสิ่งพิมพ์ทีอยู่บนอินเตอร์เน็ต และในสื่อบนออนไลน์กันมากขึ้น ทำให้ยอดขายสื่อสิ่งพิมพ์ตกจนขาดทุน

            ซึ่งเหตุผลดังกล่าว ก็มีส่วนเป็นจริง แต่ไม่ใช่ทั้งหมด แต่จะมีสักกี่รายที่ยอมรับ ว่าเราปรับตัวไม่ทันเราบริหารจัดการไม่เก่ง หรือเรามัวแต่หลงใหลได้ปลื้มกับความสำเร็จแบบเดิม ๆ ที่เคยเกิดขึ้นและก็มองอย่างโลกสวยว่า เมื่อกิจการที่ผ่านมาประสบความสำเร็จ ในอนาคตต้องสำเร็จอย่างแน่นอน
            นอกจากนั้น ยังอาจจะเกิดปัญหาภายในมากมาย ที่เจ้าของกิจการไม่ทราบ เช่น การละเลยจุดเด่นของกิจการไม่มีการสานต่อหรือ ปรับปรุงผลิตภัณฑ์ที่โดดเด่นนั้น ทำให้ลูกค้าที่ภักดีหนีหาย ในลักษณะหาลูกค้าใหม่แต่ละเลยลูกค้าเก่า และอื่น ๆ  อีกมากมาย ที่เป็นปัจจัยเสี่ยงทำให้กิจการถดถอย และค่อย ๆ รันไปสู่การล้มสลายของกิจการ  และพบกันใหม่ในตอนต่อไป  


/////////////////////////////////////////////

วันพุธที่ 31 มกราคม พ.ศ. 2561

เกาะติด ก่อสร้างรถไฟฟ้า สายสีน้ำเงิน


ก่อสร้างรถไฟฟ้า สายสีน้ำเงิน

            หลังจากที่เราใช้บริการรถไฟฟ้าใต้ดิน (สถานีรถไฟฟ้าใต้ดิน หัวลำโพง) เป็นสายสีน้ำเงิน หัวลำโพง-บางซื่อ หรืออีกชื่อคือ รถ MRT มานานกว่า 10 ปี  แล้ว แต่เส้นทางนั้นยังไม่เพียงพอต่อความต้องการ และปริมาณการเดินทางของประชาชนที่ขยายตัวมากขึ้นเรื่อย ๆ ทางภาครัฐจึงมีความจำเป็นต้องลงทุนสร้างเส้นทางเพิ่มหลายสาย  โดยมีการเพิ่มเส้นทางเป็นการต่อขยายเส้นทางให้เชื่อมต่อกันเพื่อการเดินทางที่รวดเร็ว และสะดวกมากขึ้น และโครงการส่วนต่อขยายเส้นทางของรถไฟฟ้าสาย สีน้ำเงินก็เป็นสายเป้าหมายอีกเส้นหนึ่ง  โครงการรถไฟฟ้าส่วนต่อขยายสายสีน้ำเงิน นี้จะมีช่วงบางซื่อ - ท่าพระ และหัวลำโพง-บางแค ก็ได้รับการอนุมัติ และกำลังดำเนินการก่อสร้างอย่างเร่งด่วน และคาดว่าสำเร็จ และสามารถเปิดให้บริการได้ ในปี 2562  เนื่องจากการก่อสร้างมีแนวโน้มที่คืบหน้า เร็วกว่าแผนงานที่ได้กำหนดไว้  นอกจากนั้นก็ยังมี ส่วนต่อขยายของสาย หัวลำโพงถึงท่าพระ ก็น่าจะเสร็จทัน และน่าจะเปิดใช้ได้ในเดือนกุมภาพันธ์ 2562 และยังคาดว่าทั้งสองเส้นทาง น่าจะเปิดให้ใช้ได้อย่างสมบูรณ์ ในช่วง เดือนตุคาคม 2562  
 
            และที่ผ่านมา ทางกระทรวงคมนาคม  ได้รับความเห็นชอบจาก คณะรัฐมนตรี (ครม.) ให้ดำเนินการคัดเลือกภาคเอกชน ให้เข้ามาร่วมสัมปทานโครงการรถไฟฟ้าสายสีน้ำเงิน  ในที่สุดก็ได้ว่าจ้างบริษัททางด่วนและรถไฟฟ้ากรุงเทพ จำกัด (มหาชน) หรือ BEM  ที่เคยเป็นผู้เดินรถรายเดิมในโรงการรถไฟฟ้าสายสีน้ำเงิน บางซื่อ-หัวลำโพง ให้เข้ามาติดตั้งระบบและบริหารเดินรถไฟฟ้าส่วนต่อขยายสายสีน้ำเงิน ช่วงหัวลำโพง-บางแค และบางซื่อท่าพระ ต่อไป
            และเมื่อ เดือน พฤศจิกายน 2560 ที่ผ่านมา ได้รับการการเปิดเผยความคืบหน้า  และความเคลื่อนไหวในการทำงาน ของกระทรวงคมนาคม ในโครงการ ต่าง ๆ ที่กำลังดำเนินการ โดยเฉพาะเรื่องการก่อสร้าง รถไฟฟ้า และระบบขนส่งมวลชน ที่ผ่านมาว่าดำเนินการก่อสร้าง ในโครงการต่าง ๆ ไปถึงขั้นตอนใดบ้างแล้ว โดย ท่านอาคม  เติมพิทยาไพสิฐ  รัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม 
             


             นายอาคม  เติมพิทยาไพสิฐ  รัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม  ได้กล่าวว่า  ในระยะรอบปีที่ผ่านมาทางกระทรวงคมนาคมก็จะพยายามเร่งรัดในการทำงานเกี่ยวกับนโยบายเรื่อง Mega project  ให้ปรากฏเป็นรูปธรรมมาโดยเร็ว ซึ่งภาพรวมในนโยบายของรัฐบาล ที่เกี่ยวกับโครงการก่อสร้างรถไฟฟ้าและการก่อสร้างโครงการขั้นพื้นฐานต่าง ๆ นั้น นับว่าในช่วงนี้ก็ถือว่าเป็นช่วงของการเปลี่ยนแปลง ผมก็อยากจะเรียนก่อนว่าในช่วง 10 ปี ที่ผ่านมา เราไม่ได้มีการพัฒนา เกี่ยวกับโครงสร้างขั้นพื้นฐานของประเทศเลย  แต่จะเห็นเป็นรูปร่างขึ้นมาก็ในช่วง 3 ปีที่ผ่านมานี้เอง  ซึ่งสิ่งเหล่านี้ก็เป็นส่วนสำคัญ ในการทำธุรกิจระหว่างประเทศที่ จะสร้างความเชื่อมั่นให้กับนักลงทุนที่จะเข้ามาลงทุนในประเทศ  ซึ่งภารกิจของกระทรวงคมนาคม ก็มีมากมายหลายโครงการ  เมื่อเร็ว ๆ นี้ก็เป็น เรื่องของการกำหนดนโยบายอนุมัติใบขับขี่รถ  เรื่อง การต่อทะเบียนรถ ซึ่งในเรื่องนี้ผู้ใช้รถจะต้องกระทำกันทุก ๆ ปี เรื่องนี้ ก็ได้ออกนโยบายการเร่งรัดการต่อภาษี และการต่อทะเบียนรถ นั้น ต้องมีความรวดเร็ว  สะดวกและง่ายมากขึ้น เพราะที่ผ่านมามีขั้นตอนที่ล่าช้า ยุ่งยาก ต้องทำให้เร็วขึ้น 

            ผมมองว่า การพัฒนาสังคมโครงสร้างพื้นฐานยุคใหม่ ของเราก็น่าจะเริ่มต้น เมื่อ
3 ปีที่ผ่านมา และปัจจุบันก็กำลังมีการขับเคลื่อนอย่างเต็มกำลัง ในเรื่องของโครงสร้างขั้นพื้นฐาน มีการลงทุนก่อสร้างเรื่องเกี่ยวกับรถไฟฟ้า ก่อสร้างเกี่ยวกับสิ่งสาธารณูปโภค มีการพัฒนาการคมนาคมขนส่งให้มีมากขึ้น และมีคุณภาพมากขึ้น 
            แนวความคิดของกระทรวงคมนาคมก็คือจำเป็นอย่างยิ่งจะต้องมีการกระจายเส้นทางต่าง ๆ ไปสู่ภูมิภาคมากขึ้น โดยแนวการวางแนวความคิดของคมนาคมก็มีอยู่ 4  เรื่อง

            เรื่องที่ หนึ่ง คือ ประสิทธิภาพ เป็นประสิทธิภาพของระบบโครงคมนาคมขนส่ง ประสิทธิภาพของการคมนาคมขนส่งต้องดี มีประสิทธิภาพ ถ้าพูดถึงเรื่องนี้  แล้วมีคนถามว่าการคมนาคม ขนส่งนั้นมีทางไหนที่ขนส่งถูกที่สุด และอะไรที่เรายังไม่ได้ทำ ผมเรียนว่า การขนส่งทางน้ำราคาถูกที่สุด ส่วนรองลงมาก็เป็นการขนส่งทางบก  และแพงที่สุดก็คือการขนส่งทางเครื่องบิน  แต่บ้านเราจะนิยมขนส่งทางบก ประมาณ 80 เปอร์เซ็นต์  ดังนั้น การก่อสร้างการคมนาคมขนส่งทางบก มารองรับนั้น เรายังไม่มีการพัฒนาเท่าที่ควร  การพัฒนาระบบขนส่งครั้งนี้  ก็เป็นครั้งแรกที่เรามีการพัฒนา และที่กำลังดำเนินการ คือเรื่องของระบบราง  โดยต้องทำให้มากขึ้น โดยเริ่มตั้งแต่ขนส่งมวลชนในกรุงเทพฯ  ก่อน แล้ว พัฒนารถไฟระหว่างเมือง  และรถไฟฟ้าความเร็วสูง  เรื่องรถไฟฟ้าความเร็วสูง นี้ยังจะมีการเชื่อมต่อ การขนส่งระหว่างประเทศขึ้นอีกด้วย  เช่น จากประเทศไทย ไปประเทศลาว และถึงประเทศจีน เพราะฉะนั้นสิ่งที่จะเกิดขึ้นต่อไปนี้ จะเป็นการก่อสร้างเส้นทางรถไฟฟ้าในกรุงเทพฯ  และจนดำเนินการต่อเนื่องจนครบทุกเส้น ตามที่ได้วางแผนไว้  ซึ่งปัจจุบันนี้ ก็เหลือ เส้นที่รอการอนุมัติไม่กี่สาย  สายแรกเป็น สายสีม่วง   จากเตาปูนมาถึงราชบูรณะ  สายต่อมา เป็นสาย จากศูนย์ วัฒนธรรม ไปตลิ่งชัน  ส่วนสายสีม่วงใต้  สายเตาปูน – ราชบูรณะ นั้นอนุมัติไปแล้ว  ซึ่งจะดำเนินการประกวด และเข้าแผนงานประมูลราคาได้ ก็จะเกิดขึ้นในปี 2561
            ส่วน สายสีส้มด้านตะวันตก เป็นสายที่จากศูนย์วัฒนธรรมไปตลิ่งชันนั้น ปัจจุบันนี้โครงการมีการเตรียมเอกสารเรียบร้อยแล้ว แต่ทางกระทรวงคมนาคม ต้องการจะนำเสนอในรูปแบบของการบริหารจัดการ การเดินรถไปพร้อมๆ กันด้วย  และเรื่องนี้กระทรวงการคลังก็ได้แนะนำว่า อยากจะให้นำเสนอขออนุมัติ 2 โครงการ ไปด้วยกันเลย คือเรื่องของการดำเนินการก่อสร้าง และเรื่องของการบริหารการจัดการเดินรถ ไปพร้อม ๆ กัน ก็ทำให้ต้องกลับมาแก้ใหม่ เพื่อรอจะเสนอเข้าคณะรัฐมนตรี เพื่อขออนุมัติ ในครั้งต่อไป

            เพราะฉะนั้นในกรุงเทพฯ ปัจจุบัน นั้นก็มีรถไฟ BTS สีน้ำเงิน  และสาย สีม่วง เพียงตอนเดียว ยังไม่ได้เชื่อมกับสายใด ตอนนี้สิ่งที่เราทำสำเร็จ ที่มีการเชื่อมกันเรียบร้อยแล้ว ก็มีสายสีม่วงกับสายสีน้ำเงิน  สายนี้เมื่อวันที่ 11 สิงหาคม 2560 ที่ผ่านมาเป็นวันที่เปิดให้ใช้บริการวันแรก  ซึ่งจากการประเมินจำนวนผู้โดยสารจนมาถึงวันนี้  มีจำนวนผู้โดยสารที่มาใช้บริการเพิ่มขึ้นเท่าตัว จากหนึ่งวันประมาณ 20,000  ขึ้นมาเป็น 50,000 ราย ในปัจจุบัน ก็แสดงให้เห็นว่าการเชื่อมต่อระหว่างรถไฟฟ้าสายต่าง ๆ นั้น มีความสำคัญต่อระบบในการขนส่งเป็นอย่างมาก  ที่จะกลายเป็นจุดเปลี่ยน สามารถเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมการเดินทางของประชาชนได้  เพราะฉะนั้นการเชื่อมต่อกันของระบบขนส่ง จะต้องเกิดให้ได้ เช่น การเชื่อมต่อระบบรถไฟฟ้า เข้ากับระบบรถโดยสาร หรือรถเมล์ประจำเส้นทาง แล้วเชื่อมกับการเดินทางทางน้ำ โดยเฉพาะท่าเรือใหญ่ ๆ ที่ เรากำหนดไว้ในช่วงแรก คือ จุดเชื่อมต่อรถไฟฟ้า กับ ท่าเรือสาทร  และท่าเรือพระนั่งเกล้า ซึ่งจุดเชื่อมเหล่านั้น ก็จะมีการบริการเชื่อมต่ออีกคือ  บริการ BUS  WAY  และเราจะต้องพยายามค่อย ๆ เปลี่ยนพฤติกรรมการเดินทาง ของคนในกรุงเทพให้ได้ ให้เขาเข้าใจในระบบ การเชื่อมต่อการเดินทาง ของแต่ละสถานี  และให้มองถึงความสำคัญ ในการเดินทางด้วยระบบรถราง ให้มากขึ้น
            นอกจากนั้น ในปี 2561 ถึง 2562   นั้น เราก็จะวางแผน การบริหารจัดการระบบรางให้ ชัดเจนมากขึ้น คือเรื่อง การอำนวยความสะดวกในการเชื่อมต่อในการเดินทาง ของระบบต่าง ๆ ก็คือ เรื่องบัตรเดินทาง  หรือการใช้ตั๋วร่วมในการเดินทาง ทุกระบบเข้าด้วยกัน  และสิ่งที่ทำไปแล้วคือ บัตรเชื่อมต่อระหว่างการเดินทางด้วยมอเตอร์เวย์ กับทางถนนของการทางพิเศษ  และสิ่งที่จะทำต่อในช่วงกลางปี 2561 ประมาณเดือนเมษายน และพฤษภาคม ก็คือ บัตรแมงมุมการด์  จะต้องเกิดขึ้นให้ได้ ซึ่งขณะนี้กำลังเจรจากับผู้เดินรถ
แต่สิ่งที่เราจะต้องทำให้ได้ ก็ในส่วนของสายสีม่วงกับสีน้ำเงิน แล้วก็สายแอร์พอร์ตลิงค์ ซึ่งสายเหล่านี้จะต้องใช้ให้ได้ ก่อนในเดือนเมษายนและเดือนพฤษภาคมปี 2561  ซึ่งก็จะสามารถเพิ่มความสะดวกสบาย ความรวดเร็วในการเดินทางของประชาชนได้อีกระดับหนึ่ง   
            เรื่องที่สอง ก็คือความเป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม  ในเรื่องของความปลอดภัยจริง ๆ แล้วในเรื่องของระบบคมนาคมขนส่งนั้น  แนวคิด นี้ ประกอบด้วย สามคำ คือ มีความสะดวก รวดเร็ว และก็ปลอดภัย แต่ในประเทศเราก็ควรเพิ่มอีกคำ คือ การเข้าถึง สะดวก รวดเร็วและปลอดภัย


            เรื่องที่ สาม คือต้องเข้าถึง  ทุกคนต้องเข้าถึงการคมนาคมขนส่งได้ ทุกระบบของทุกคนใน เช่น การเข้าถึงของของผู้พิการ และของผู้สูงวัย  เพราะว่าในอนาคตนั้นบุคคลที่สูงอายุ หรือเข้าสู่ยุคของยุคของผู้สูงวัยนั้น ก็จะเกิดขึ้นอย่างแน่นอน  
            ประการสุดท้าย  ก็คือเรื่องของเทคโนโลยีและนวัตกรรม  เพราะ ๆ ทุกอย่างทุกเรื่องที่กล่าวมาทั้งหมดนั้น ก็ไม่สามารถที่จะดำเนินการต่อไม่ได้ ถ้ามามี เรื่องของเทคโนโลยีและนวัตกรรม 
           
สรุป ภาพรวมความคืบหน้า ของกระทรวงคมนาคม ในโครงการรถไฟฟ้าความเร็วสูง ที่อยู่ในระหว่างการดำเนินการ และจะเดินหน้าต่อไปในปี 2561 นั้น ประกอบด้วย   เรื่องของการวางแผนของกระทรวงคมนาคม ในการเดินหน้า นั้นเราก็ได้วางแผนมา ตั้งแต่ ปี 2558 - 2559 และปี 2560   มูลค่าของการลงทุนอนุมัติไปแล้ว ถึง 2.39 ล้านล้าน บาท  และก็ยังมีโครงการที่อยู่ในระหว่างการดำเนินการยังไม่เรียบร้อย ก็มี  เรื่อง รถไฟความเร็วสูงจากกรุงเทพ ฯ ไปจังหวัดเชียงใหม่  และนอกจากนั้นก็ยังมีโครงการที่คณะรัฐมนตรีเห็นชอบ และอนุมัติไปแล้ว ที่ไม่ได้รวมในส่วนของโครงการที่ได้ดำเนินการไปแล้ว เช่นโครงการก่อสร้างถนนมอเตอร์เวย์จากพัทยา ไปมาบตาพุด บางปะอิน ไปนครราชสีมา และจากนครราชสีมา  ไปกาญจนบุรี   นอกจากนั้นก็มีเรื่องที่อยู่ในระหว่างการดำเนินการก่อสร้าง คือรถไฟฟ้าสายสีเขียวจากหมอชิต ไปคูคต และก็ยังการก่อสร้างสายจากสำโรง ไปสมุทรปราการ   และสิ่งที่จะเกิดขึ้นอีกของรถไฟฟ้าในกรุงเทพฯ นั้น ก็ประกอบด้วย รถไฟฟ้าสายสีม่วง และก็เพิ่งผ่านการอนุมัติของคณะรัฐมนตรีเรียบร้อยแล้ว  หลังจากนั้นในปี 2561 น่าจะประกวดราคาได้  ส่วนสายสีส้ม ทางฝั่งตะวันตกก็เช่นเดียวกันก็กำลังจะเสนอคณะรัฐมนตรีประมาณปลายปีหรือต้นปีกำลังจะเริ่มก่อสร้างในปีพ. ศ. 2561 ส่วนสายชมพู-เหลือง และสายสีส้มตะวันออก ก็ได้ผู้รับเหมามารับผิดชอบงานเรียบร้อยแล้ว ก็อยู่ระหว่างการส่งมอบพื้นที่ให้ผู้รับจ้างไปดำเนินการต่อ ก็น่าจะดำเนินการได้ภายในต้นปี 2561 เช่นกัน



โครงการเพิ่มเติมล่าสุดในปี 2561
            โครงการเพิ่มเติมล่าสุดในปี 2561 ก็มีโครงการสร้างทางด่วน พระราม 3 ดาวคะนอง  ช่วงนี้ทางกระทรวงคมนาคมก็กำลัง ทำการบันทึกข้อตกลงกับกระทรวงการคลัง   นอกจากนั้น ก็มีทางยกระดับพิเศษพิมุขรังสิต - บางปะอิน  และทางยกระดับ 35 กรุงเทพมหานคร - มหาชัย  ซึ่งเป็นโครงการที่ต่อจากพระราม 3 ดาวคะนอง 
            สุดท้าย อีกส่วนหนึ่งที่ทางกระทรวงคมนาคม ให้ความสำคัญก็คือ การพัฒนาระบบขนส่งมวลชนในเมือง ซึ่งเป็นจังหวัดหลักที่มีศักยภาพของประเทศ
 จะประกอบด้วย 4 เมืองที่กำลังทำการศึกษาและได้ออกแบบประกอบด้วยจังหวัดเชียงใหม่ ภูเก็ต นครราชสีมา และจังหวัดขอนแก่น และเรื่องนี้ในปี 2561 ก็จะเร่งขับเคลื่อนก่อน 2 โครงการหลัก คือระบบขนส่งทางรางที่จังหวัดภูเก็ต เพราะได้ออกแบบรายละเอียดไว้เรียบร้อยแล้ว ก็จะมอบหมายให้การทาง รฟม. เป็นผู้ดำเนินการ  โครงการต่อมาจะเป็นการพัฒนาจัดระบบขนส่งมวลชนที่จังหวัดขอนแก่น  ซึ่งทั้ง 2 โครงการนี้เป็นโครงการใหม่ที่จะเริ่มดำเนินการในปี 2561   ส่วนโครงการต่อไปก็จะเป็นที่จังหวัดนครราชสีมา  และจังหวัดเชียงใหม่ ตามลำดับ ซึ่งในส่วนของจังหวัดนครราชสีมานั้นน่าจะดำเนินการได้เร็วกว่า จังหวัดเชียงใหม่เพราะเริ่มมีการศึกษารายละเอียดมาก่อนหน้านี้แล้ว นี้ก็คือโครงการพัฒนาระบบขนส่งมวลชนที่อยู่ในแผนระดับภูมิภาค ของกระทรวงคมนาคม
/////////////////////////////////