ก่อสร้างรถไฟฟ้า สายสีน้ำเงิน
หลังจากที่เราใช้บริการรถไฟฟ้าใต้ดิน
(สถานีรถไฟฟ้าใต้ดิน หัวลำโพง) เป็นสายสีน้ำเงิน หัวลำโพง-บางซื่อ หรืออีกชื่อคือ
รถ MRT มานานกว่า 10 ปี แล้ว แต่เส้นทางนั้นยังไม่เพียงพอต่อความต้องการ
และปริมาณการเดินทางของประชาชนที่ขยายตัวมากขึ้นเรื่อย ๆ
ทางภาครัฐจึงมีความจำเป็นต้องลงทุนสร้างเส้นทางเพิ่มหลายสาย
โดยมีการเพิ่มเส้นทางเป็นการต่อขยายเส้นทางให้เชื่อมต่อกันเพื่อการเดินทางที่รวดเร็ว
และสะดวกมากขึ้น และโครงการส่วนต่อขยายเส้นทางของรถไฟฟ้าสาย สีน้ำเงินก็เป็นสายเป้าหมายอีกเส้นหนึ่ง โครงการรถไฟฟ้าส่วนต่อขยายสายสีน้ำเงิน นี้จะมีช่วงบางซื่อ
- ท่าพระ และหัวลำโพง-บางแค ก็ได้รับการอนุมัติ
และกำลังดำเนินการก่อสร้างอย่างเร่งด่วน และคาดว่าสำเร็จ และสามารถเปิดให้บริการได้
ในปี 2562 เนื่องจากการก่อสร้างมีแนวโน้มที่คืบหน้า เร็วกว่าแผนงานที่ได้กำหนดไว้ นอกจากนั้นก็ยังมี ส่วนต่อขยายของสาย หัวลำโพงถึงท่าพระ
ก็น่าจะเสร็จทัน และน่าจะเปิดใช้ได้ในเดือนกุมภาพันธ์ 2562 และยังคาดว่าทั้งสองเส้นทาง
น่าจะเปิดให้ใช้ได้อย่างสมบูรณ์ ในช่วง เดือนตุคาคม 2562
และที่ผ่านมา
ทางกระทรวงคมนาคม ได้รับความเห็นชอบจาก คณะรัฐมนตรี
(ครม.) ให้ดำเนินการคัดเลือกภาคเอกชน ให้เข้ามาร่วมสัมปทานโครงการรถไฟฟ้าสายสีน้ำเงิน
ในที่สุดก็ได้ว่าจ้างบริษัททางด่วนและรถไฟฟ้ากรุงเทพ
จำกัด (มหาชน) หรือ BEM ที่เคยเป็นผู้เดินรถรายเดิมในโรงการรถไฟฟ้าสายสีน้ำเงิน
บางซื่อ-หัวลำโพง
ให้เข้ามาติดตั้งระบบและบริหารเดินรถไฟฟ้าส่วนต่อขยายสายสีน้ำเงิน
ช่วงหัวลำโพง-บางแค และบางซื่อท่าพระ ต่อไป
และเมื่อ
เดือน พฤศจิกายน 2560 ที่ผ่านมา ได้รับการการเปิดเผยความคืบหน้า และความเคลื่อนไหวในการทำงาน ของกระทรวงคมนาคม
ในโครงการ ต่าง ๆ ที่กำลังดำเนินการ โดยเฉพาะเรื่องการก่อสร้าง รถไฟฟ้า
และระบบขนส่งมวลชน ที่ผ่านมาว่าดำเนินการก่อสร้าง ในโครงการต่าง ๆ ไปถึงขั้นตอนใดบ้างแล้ว
โดย ท่านอาคม เติมพิทยาไพสิฐ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม
นายอาคม เติมพิทยาไพสิฐ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม ได้กล่าวว่า ในระยะรอบปีที่ผ่านมาทางกระทรวงคมนาคมก็จะพยายามเร่งรัดในการทำงานเกี่ยวกับนโยบายเรื่อง
Mega project ให้ปรากฏเป็นรูปธรรมมาโดยเร็ว ซึ่งภาพรวมในนโยบายของรัฐบาล ที่เกี่ยวกับโครงการก่อสร้างรถไฟฟ้าและการก่อสร้างโครงการขั้นพื้นฐานต่าง
ๆ นั้น นับว่าในช่วงนี้ก็ถือว่าเป็นช่วงของการเปลี่ยนแปลง ผมก็อยากจะเรียนก่อนว่าในช่วง
10 ปี ที่ผ่านมา เราไม่ได้มีการพัฒนา เกี่ยวกับโครงสร้างขั้นพื้นฐานของประเทศเลย
แต่จะเห็นเป็นรูปร่างขึ้นมาก็ในช่วง 3 ปีที่ผ่านมานี้เอง ซึ่งสิ่งเหล่านี้ก็เป็นส่วนสำคัญ
ในการทำธุรกิจระหว่างประเทศที่ จะสร้างความเชื่อมั่นให้กับนักลงทุนที่จะเข้ามาลงทุนในประเทศ ซึ่งภารกิจของกระทรวงคมนาคม ก็มีมากมายหลายโครงการ เมื่อเร็ว ๆ นี้ก็เป็น เรื่องของการกำหนดนโยบายอนุมัติใบขับขี่รถ เรื่อง การต่อทะเบียนรถ ซึ่งในเรื่องนี้ผู้ใช้รถจะต้องกระทำกันทุก ๆ ปี
เรื่องนี้ ก็ได้ออกนโยบายการเร่งรัดการต่อภาษี และการต่อทะเบียนรถ นั้น ต้องมีความรวดเร็ว สะดวกและง่ายมากขึ้น
เพราะที่ผ่านมามีขั้นตอนที่ล่าช้า ยุ่งยาก ต้องทำให้เร็วขึ้น
ผมมองว่า การพัฒนาสังคมโครงสร้างพื้นฐานยุคใหม่ ของเราก็น่าจะเริ่มต้น เมื่อ 3 ปีที่ผ่านมา และปัจจุบันก็กำลังมีการขับเคลื่อนอย่างเต็มกำลัง ในเรื่องของโครงสร้างขั้นพื้นฐาน มีการลงทุนก่อสร้างเรื่องเกี่ยวกับรถไฟฟ้า ก่อสร้างเกี่ยวกับสิ่งสาธารณูปโภค มีการพัฒนาการคมนาคมขนส่งให้มีมากขึ้น และมีคุณภาพมากขึ้น
แนวความคิดของกระทรวงคมนาคมก็คือจำเป็นอย่างยิ่งจะต้องมีการกระจายเส้นทางต่าง
ๆ ไปสู่ภูมิภาคมากขึ้น โดยแนวการวางแนวความคิดของคมนาคมก็มีอยู่ 4 เรื่อง
เรื่องที่ หนึ่ง คือ ประสิทธิภาพ เป็นประสิทธิภาพของระบบโครงคมนาคมขนส่ง
ประสิทธิภาพของการคมนาคมขนส่งต้องดี มีประสิทธิภาพ ถ้าพูดถึงเรื่องนี้ แล้วมีคนถามว่าการคมนาคม
ขนส่งนั้นมีทางไหนที่ขนส่งถูกที่สุด และอะไรที่เรายังไม่ได้ทำ ผมเรียนว่า การขนส่งทางน้ำราคาถูกที่สุด ส่วนรองลงมาก็เป็นการขนส่งทางบก
และแพงที่สุดก็คือการขนส่งทางเครื่องบิน แต่บ้านเราจะนิยมขนส่งทางบก
ประมาณ 80 เปอร์เซ็นต์
ดังนั้น การก่อสร้างการคมนาคมขนส่งทางบก มารองรับนั้น
เรายังไม่มีการพัฒนาเท่าที่ควร การพัฒนาระบบขนส่งครั้งนี้ ก็เป็นครั้งแรกที่เรามีการพัฒนา และที่กำลังดำเนินการ คือเรื่องของระบบราง โดยต้องทำให้มากขึ้น โดยเริ่มตั้งแต่ขนส่งมวลชนในกรุงเทพฯ ก่อน
แล้ว พัฒนารถไฟระหว่างเมือง และรถไฟฟ้าความเร็วสูง เรื่องรถไฟฟ้าความเร็วสูง
นี้ยังจะมีการเชื่อมต่อ
การขนส่งระหว่างประเทศขึ้นอีกด้วย เช่น
จากประเทศไทย ไปประเทศลาว และถึงประเทศจีน เพราะฉะนั้นสิ่งที่จะเกิดขึ้นต่อไปนี้
จะเป็นการก่อสร้างเส้นทางรถไฟฟ้าในกรุงเทพฯ และจนดำเนินการต่อเนื่องจนครบทุกเส้น
ตามที่ได้วางแผนไว้ ซึ่งปัจจุบันนี้
ก็เหลือ เส้นที่รอการอนุมัติไม่กี่สาย
สายแรกเป็น สายสีม่วง จากเตาปูนมาถึงราชบูรณะ สายต่อมา เป็นสาย จากศูนย์
วัฒนธรรม ไปตลิ่งชัน
ส่วนสายสีม่วงใต้ สายเตาปูน –
ราชบูรณะ นั้นอนุมัติไปแล้ว
ซึ่งจะดำเนินการประกวด และเข้าแผนงานประมูลราคาได้ ก็จะเกิดขึ้นในปี 2561
ส่วน สายสีส้มด้านตะวันตก เป็นสายที่จากศูนย์วัฒนธรรมไปตลิ่งชันนั้น ปัจจุบันนี้โครงการมีการเตรียมเอกสารเรียบร้อยแล้ว แต่ทางกระทรวงคมนาคม ต้องการจะนำเสนอในรูปแบบของการบริหารจัดการ การเดินรถไปพร้อมๆ กันด้วย และเรื่องนี้กระทรวงการคลังก็ได้แนะนำว่า
อยากจะให้นำเสนอขออนุมัติ 2 โครงการ ไปด้วยกันเลย คือเรื่องของการดำเนินการก่อสร้าง
และเรื่องของการบริหารการจัดการเดินรถ ไปพร้อม ๆ กัน ก็ทำให้ต้องกลับมาแก้ใหม่
เพื่อรอจะเสนอเข้าคณะรัฐมนตรี เพื่อขออนุมัติ
ในครั้งต่อไป
เพราะฉะนั้นในกรุงเทพฯ ปัจจุบัน นั้นก็มีรถไฟ BTS สีน้ำเงิน และสาย สีม่วง เพียงตอนเดียว ยังไม่ได้เชื่อมกับสายใด ตอนนี้สิ่งที่เราทำสำเร็จ
ที่มีการเชื่อมกันเรียบร้อยแล้ว ก็มีสายสีม่วงกับสายสีน้ำเงิน สายนี้เมื่อวันที่ 11 สิงหาคม 2560 ที่ผ่านมาเป็นวันที่เปิดให้ใช้บริการวันแรก ซึ่งจากการประเมินจำนวนผู้โดยสารจนมาถึงวันนี้ มีจำนวนผู้โดยสารที่มาใช้บริการเพิ่มขึ้นเท่าตัว จากหนึ่งวันประมาณ 20,000
ขึ้นมาเป็น 50,000 ราย ในปัจจุบัน ก็แสดงให้เห็นว่าการเชื่อมต่อระหว่างรถไฟฟ้าสายต่าง
ๆ นั้น มีความสำคัญต่อระบบในการขนส่งเป็นอย่างมาก
ที่จะกลายเป็นจุดเปลี่ยน สามารถเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมการเดินทางของประชาชนได้ เพราะฉะนั้นการเชื่อมต่อกันของระบบขนส่ง จะต้องเกิดให้ได้ เช่น การเชื่อมต่อระบบรถไฟฟ้า
เข้ากับระบบรถโดยสาร หรือรถเมล์ประจำเส้นทาง แล้วเชื่อมกับการเดินทางทางน้ำ
โดยเฉพาะท่าเรือใหญ่ ๆ ที่ เรากำหนดไว้ในช่วงแรก คือ จุดเชื่อมต่อรถไฟฟ้า กับ ท่าเรือสาทร
และท่าเรือพระนั่งเกล้า ซึ่งจุดเชื่อมเหล่านั้น
ก็จะมีการบริการเชื่อมต่ออีกคือ บริการ BUS
WAY และเราจะต้องพยายามค่อย ๆ เปลี่ยนพฤติกรรมการเดินทาง ของคนในกรุงเทพให้ได้
ให้เขาเข้าใจในระบบ การเชื่อมต่อการเดินทาง ของแต่ละสถานี และให้มองถึงความสำคัญ ในการเดินทางด้วยระบบรถราง ให้มากขึ้น
นอกจากนั้น ในปี 2561 ถึง 2562 นั้น เราก็จะวางแผน การบริหารจัดการระบบรางให้ ชัดเจนมากขึ้น คือเรื่อง การอำนวยความสะดวกในการเชื่อมต่อในการเดินทาง ของระบบต่าง ๆ ก็คือ เรื่องบัตรเดินทาง หรือการใช้ตั๋วร่วมในการเดินทาง ทุกระบบเข้าด้วยกัน และสิ่งที่ทำไปแล้วคือ บัตรเชื่อมต่อระหว่างการเดินทางด้วยมอเตอร์เวย์ กับทางถนนของการทางพิเศษ และสิ่งที่จะทำต่อในช่วงกลางปี 2561 ประมาณเดือนเมษายน และพฤษภาคม ก็คือ บัตรแมงมุมการด์ จะต้องเกิดขึ้นให้ได้ ซึ่งขณะนี้กำลังเจรจากับผู้เดินรถ แต่สิ่งที่เราจะต้องทำให้ได้ ก็ในส่วนของสายสีม่วงกับสีน้ำเงิน แล้วก็สายแอร์พอร์ตลิงค์ ซึ่งสายเหล่านี้จะต้องใช้ให้ได้ ก่อนในเดือนเมษายนและเดือนพฤษภาคมปี 2561 ซึ่งก็จะสามารถเพิ่มความสะดวกสบาย ความรวดเร็วในการเดินทางของประชาชนได้อีกระดับหนึ่ง
นอกจากนั้น ในปี 2561 ถึง 2562 นั้น เราก็จะวางแผน การบริหารจัดการระบบรางให้ ชัดเจนมากขึ้น คือเรื่อง การอำนวยความสะดวกในการเชื่อมต่อในการเดินทาง ของระบบต่าง ๆ ก็คือ เรื่องบัตรเดินทาง หรือการใช้ตั๋วร่วมในการเดินทาง ทุกระบบเข้าด้วยกัน และสิ่งที่ทำไปแล้วคือ บัตรเชื่อมต่อระหว่างการเดินทางด้วยมอเตอร์เวย์ กับทางถนนของการทางพิเศษ และสิ่งที่จะทำต่อในช่วงกลางปี 2561 ประมาณเดือนเมษายน และพฤษภาคม ก็คือ บัตรแมงมุมการด์ จะต้องเกิดขึ้นให้ได้ ซึ่งขณะนี้กำลังเจรจากับผู้เดินรถ แต่สิ่งที่เราจะต้องทำให้ได้ ก็ในส่วนของสายสีม่วงกับสีน้ำเงิน แล้วก็สายแอร์พอร์ตลิงค์ ซึ่งสายเหล่านี้จะต้องใช้ให้ได้ ก่อนในเดือนเมษายนและเดือนพฤษภาคมปี 2561 ซึ่งก็จะสามารถเพิ่มความสะดวกสบาย ความรวดเร็วในการเดินทางของประชาชนได้อีกระดับหนึ่ง
เรื่องที่สอง ก็คือความเป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม ในเรื่องของความปลอดภัยจริง
ๆ แล้วในเรื่องของระบบคมนาคมขนส่งนั้น
แนวคิด นี้ ประกอบด้วย สามคำ คือ มีความสะดวก รวดเร็ว และก็ปลอดภัย แต่ในประเทศเราก็ควรเพิ่มอีกคำ
คือ การเข้าถึง สะดวก รวดเร็วและปลอดภัย
เรื่องที่ สาม คือต้องเข้าถึง ทุกคนต้องเข้าถึงการคมนาคมขนส่งได้ ทุกระบบของทุกคนใน
เช่น การเข้าถึงของของผู้พิการ และของผู้สูงวัย เพราะว่าในอนาคตนั้นบุคคลที่สูงอายุ
หรือเข้าสู่ยุคของยุคของผู้สูงวัยนั้น ก็จะเกิดขึ้นอย่างแน่นอน
ประการสุดท้าย ก็คือเรื่องของเทคโนโลยีและนวัตกรรม เพราะ ๆ ทุกอย่างทุกเรื่องที่กล่าวมาทั้งหมดนั้น
ก็ไม่สามารถที่จะดำเนินการต่อไม่ได้ ถ้ามามี เรื่องของเทคโนโลยีและนวัตกรรม
สรุป ภาพรวมความคืบหน้า ของกระทรวงคมนาคม ในโครงการรถไฟฟ้าความเร็วสูง ที่อยู่ในระหว่างการดำเนินการ และจะเดินหน้าต่อไปในปี 2561 นั้น ประกอบด้วย เรื่องของการวางแผนของกระทรวงคมนาคม ในการเดินหน้า นั้นเราก็ได้วางแผนมา ตั้งแต่ ปี 2558 - 2559 และปี 2560 มูลค่าของการลงทุนอนุมัติไปแล้ว ถึง 2.39 ล้านล้าน บาท และก็ยังมีโครงการที่อยู่ในระหว่างการดำเนินการยังไม่เรียบร้อย ก็มี เรื่อง รถไฟความเร็วสูงจากกรุงเทพ ฯ ไปจังหวัดเชียงใหม่ และนอกจากนั้นก็ยังมีโครงการที่คณะรัฐมนตรีเห็นชอบ และอนุมัติไปแล้ว ที่ไม่ได้รวมในส่วนของโครงการที่ได้ดำเนินการไปแล้ว เช่นโครงการก่อสร้างถนนมอเตอร์เวย์จากพัทยา ไปมาบตาพุด บางปะอิน ไปนครราชสีมา และจากนครราชสีมา ไปกาญจนบุรี นอกจากนั้นก็มีเรื่องที่อยู่ในระหว่างการดำเนินการก่อสร้าง คือรถไฟฟ้าสายสีเขียวจากหมอชิต ไปคูคต และก็ยังการก่อสร้างสายจากสำโรง ไปสมุทรปราการ และสิ่งที่จะเกิดขึ้นอีกของรถไฟฟ้าในกรุงเทพฯ นั้น ก็ประกอบด้วย รถไฟฟ้าสายสีม่วง และก็เพิ่งผ่านการอนุมัติของคณะรัฐมนตรีเรียบร้อยแล้ว หลังจากนั้นในปี 2561 น่าจะประกวดราคาได้ ส่วนสายสีส้ม ทางฝั่งตะวันตกก็เช่นเดียวกันก็กำลังจะเสนอคณะรัฐมนตรีประมาณปลายปีหรือต้นปีกำลังจะเริ่มก่อสร้างในปีพ. ศ. 2561 ส่วนสายชมพู-เหลือง และสายสีส้มตะวันออก ก็ได้ผู้รับเหมามารับผิดชอบงานเรียบร้อยแล้ว ก็อยู่ระหว่างการส่งมอบพื้นที่ให้ผู้รับจ้างไปดำเนินการต่อ ก็น่าจะดำเนินการได้ภายในต้นปี 2561 เช่นกัน
สรุป ภาพรวมความคืบหน้า ของกระทรวงคมนาคม ในโครงการรถไฟฟ้าความเร็วสูง ที่อยู่ในระหว่างการดำเนินการ และจะเดินหน้าต่อไปในปี 2561 นั้น ประกอบด้วย เรื่องของการวางแผนของกระทรวงคมนาคม ในการเดินหน้า นั้นเราก็ได้วางแผนมา ตั้งแต่ ปี 2558 - 2559 และปี 2560 มูลค่าของการลงทุนอนุมัติไปแล้ว ถึง 2.39 ล้านล้าน บาท และก็ยังมีโครงการที่อยู่ในระหว่างการดำเนินการยังไม่เรียบร้อย ก็มี เรื่อง รถไฟความเร็วสูงจากกรุงเทพ ฯ ไปจังหวัดเชียงใหม่ และนอกจากนั้นก็ยังมีโครงการที่คณะรัฐมนตรีเห็นชอบ และอนุมัติไปแล้ว ที่ไม่ได้รวมในส่วนของโครงการที่ได้ดำเนินการไปแล้ว เช่นโครงการก่อสร้างถนนมอเตอร์เวย์จากพัทยา ไปมาบตาพุด บางปะอิน ไปนครราชสีมา และจากนครราชสีมา ไปกาญจนบุรี นอกจากนั้นก็มีเรื่องที่อยู่ในระหว่างการดำเนินการก่อสร้าง คือรถไฟฟ้าสายสีเขียวจากหมอชิต ไปคูคต และก็ยังการก่อสร้างสายจากสำโรง ไปสมุทรปราการ และสิ่งที่จะเกิดขึ้นอีกของรถไฟฟ้าในกรุงเทพฯ นั้น ก็ประกอบด้วย รถไฟฟ้าสายสีม่วง และก็เพิ่งผ่านการอนุมัติของคณะรัฐมนตรีเรียบร้อยแล้ว หลังจากนั้นในปี 2561 น่าจะประกวดราคาได้ ส่วนสายสีส้ม ทางฝั่งตะวันตกก็เช่นเดียวกันก็กำลังจะเสนอคณะรัฐมนตรีประมาณปลายปีหรือต้นปีกำลังจะเริ่มก่อสร้างในปีพ. ศ. 2561 ส่วนสายชมพู-เหลือง และสายสีส้มตะวันออก ก็ได้ผู้รับเหมามารับผิดชอบงานเรียบร้อยแล้ว ก็อยู่ระหว่างการส่งมอบพื้นที่ให้ผู้รับจ้างไปดำเนินการต่อ ก็น่าจะดำเนินการได้ภายในต้นปี 2561 เช่นกัน
โครงการเพิ่มเติมล่าสุดในปี 2561
โครงการเพิ่มเติมล่าสุดในปี 2561 ก็มีโครงการสร้างทางด่วน พระราม 3 ดาวคะนอง ช่วงนี้ทางกระทรวงคมนาคมก็กำลัง ทำการบันทึกข้อตกลงกับกระทรวงการคลัง นอกจากนั้น ก็มีทางยกระดับพิเศษพิมุขรังสิต - บางปะอิน และทางยกระดับ 35 กรุงเทพมหานคร - มหาชัย ซึ่งเป็นโครงการที่ต่อจากพระราม 3 ดาวคะนอง
สุดท้าย อีกส่วนหนึ่งที่ทางกระทรวงคมนาคม ให้ความสำคัญก็คือ การพัฒนาระบบขนส่งมวลชนในเมือง ซึ่งเป็นจังหวัดหลักที่มีศักยภาพของประเทศ จะประกอบด้วย 4 เมืองที่กำลังทำการศึกษาและได้ออกแบบประกอบด้วยจังหวัดเชียงใหม่ ภูเก็ต นครราชสีมา และจังหวัดขอนแก่น และเรื่องนี้ในปี 2561 ก็จะเร่งขับเคลื่อนก่อน 2 โครงการหลัก คือระบบขนส่งทางรางที่จังหวัดภูเก็ต เพราะได้ออกแบบรายละเอียดไว้เรียบร้อยแล้ว ก็จะมอบหมายให้การทาง รฟม. เป็นผู้ดำเนินการ โครงการต่อมาจะเป็นการพัฒนาจัดระบบขนส่งมวลชนที่จังหวัดขอนแก่น ซึ่งทั้ง 2 โครงการนี้เป็นโครงการใหม่ที่จะเริ่มดำเนินการในปี 2561 ส่วนโครงการต่อไปก็จะเป็นที่จังหวัดนครราชสีมา และจังหวัดเชียงใหม่ ตามลำดับ ซึ่งในส่วนของจังหวัดนครราชสีมานั้นน่าจะดำเนินการได้เร็วกว่า จังหวัดเชียงใหม่เพราะเริ่มมีการศึกษารายละเอียดมาก่อนหน้านี้แล้ว นี้ก็คือโครงการพัฒนาระบบขนส่งมวลชนที่อยู่ในแผนระดับภูมิภาค ของกระทรวงคมนาคม
โครงการเพิ่มเติมล่าสุดในปี 2561 ก็มีโครงการสร้างทางด่วน พระราม 3 ดาวคะนอง ช่วงนี้ทางกระทรวงคมนาคมก็กำลัง ทำการบันทึกข้อตกลงกับกระทรวงการคลัง นอกจากนั้น ก็มีทางยกระดับพิเศษพิมุขรังสิต - บางปะอิน และทางยกระดับ 35 กรุงเทพมหานคร - มหาชัย ซึ่งเป็นโครงการที่ต่อจากพระราม 3 ดาวคะนอง
สุดท้าย อีกส่วนหนึ่งที่ทางกระทรวงคมนาคม ให้ความสำคัญก็คือ การพัฒนาระบบขนส่งมวลชนในเมือง ซึ่งเป็นจังหวัดหลักที่มีศักยภาพของประเทศ จะประกอบด้วย 4 เมืองที่กำลังทำการศึกษาและได้ออกแบบประกอบด้วยจังหวัดเชียงใหม่ ภูเก็ต นครราชสีมา และจังหวัดขอนแก่น และเรื่องนี้ในปี 2561 ก็จะเร่งขับเคลื่อนก่อน 2 โครงการหลัก คือระบบขนส่งทางรางที่จังหวัดภูเก็ต เพราะได้ออกแบบรายละเอียดไว้เรียบร้อยแล้ว ก็จะมอบหมายให้การทาง รฟม. เป็นผู้ดำเนินการ โครงการต่อมาจะเป็นการพัฒนาจัดระบบขนส่งมวลชนที่จังหวัดขอนแก่น ซึ่งทั้ง 2 โครงการนี้เป็นโครงการใหม่ที่จะเริ่มดำเนินการในปี 2561 ส่วนโครงการต่อไปก็จะเป็นที่จังหวัดนครราชสีมา และจังหวัดเชียงใหม่ ตามลำดับ ซึ่งในส่วนของจังหวัดนครราชสีมานั้นน่าจะดำเนินการได้เร็วกว่า จังหวัดเชียงใหม่เพราะเริ่มมีการศึกษารายละเอียดมาก่อนหน้านี้แล้ว นี้ก็คือโครงการพัฒนาระบบขนส่งมวลชนที่อยู่ในแผนระดับภูมิภาค ของกระทรวงคมนาคม
/////////////////////////////////
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น