รอยพุทธะ
แดนหลบภัยยุคสุดท้าย
เรื่องราวของดินแดน
แห่งพระพุทธศาสนาที่อุดม ครั้งเกิดขึ้นเริ่ม ต้นรุ่งเรือง กาลต่อมาถึงยุค
กึ่งพุทธกาล ก็เริ่ม ทรุดโทรม ถอยต่ำทรุด ความดีงามแห่งจารีต เริ่มเสื่อมลงจากจิต
ของมนุษย์มากขึ้น เนื่องเพราะมนุษย์ ยุคนี้ส่วนมาก พวกเขามาจากแดนนรก หลังจากใช้กรรมชั่วหมดสิ้น
ส่วนเทพเมตตาหวังให้มาเกิดเป็นมนุษย์ มาแก้ไข มาพบพุทธศาสนา หวังไม่ให้กลับไป
ยังแดนนรกอีก
แต่พวกจิตนรก
ก็ยังติดในกิจกรรมเลวเช่นเดิม ทั้งพวกเขาได้สิทธิ์ มาเกิดในแดนมนุษย์ มากขึ้น
กลับมีประพฤติ ผิดศีลธรรม เช่นเดิมแห่งตน ยากแก้การแก้ไข ขัดเกลา
พระธรรมที่ดีเลิศจึงเศร้าหมอง กรรมหนักจึงต้องมาล้าง และมนุษย์ต้องสถานีคัดกลอง
คือภัยวิบัติ อันใหญ่หลวงนานา ประการ จึงจะผ่านเข้าสู่แดน รุ่งเรือง ที่เชื่อว่า
เมืองศิวิไล นั้นเอง ดังคำพุทธะว่า
วงเวียนชีวิตของสรรพสิ่ง เกิดขึ้น ดำรงอยู่ เสื่อมโทรม แล้วก็ดับไป เมื่อดับไปแล้ว
ก็เวียนวนกับมาอีก มาเกิดขึ้น ดำรงอยู่
เสื่อมโทรม แล้วก็ดับไป เมื่อดับไปแล้ว ก็เกิดขึ้นอี อย่าง นี้ ดังดินแดน
พระพุทธศาสนา ดังจะกล่าว่า
ตัดฉาก
ย้อนหลังมาครั้ง เริ่มต้น ปฐมแห่งพุทธกาล รอยพระบาทกับพุทธวิสัย รอยพระบาท อันพระพุทธเจ้าทั้งหลาย
ได้ประดิษฐานซ้อนกัน ทับไว้บนภูเขาสูงนั้น เพื่อหมายว่า เมืองในชมพูทวีป นั้นว่าเป็นมงคล
ตั้งแต่ปฐมกัลป์
ในดินแดนลุ่มน้ำโขง แห่งนี้ มิใช่ว่าแค่ จะเป็นมงคลสถานที่ ที่ประดิษฐาน
ของพระพุทธศาสนาของพระพุทธเจ้าองค์ปัจจุบันเท่านั้น แต่ยังเคย เป็นมงคลสถานแห่งพระพุทธเจ้าทุกพระองค์ใน
ภัทรกัป นี้ คือ มีความเป็นมา ตั้งแต่ต้นกัปต่อเนื่องกันไป จวบจนกว่ากัปนี้ จะพินาศ
และก็ยังหมุนเวียน เปลี่ยนไปก่อกำเนิดเป็นกัปใหม่ จึงน่าจะเรียกได้อย่างภาคภูมิใจ ได้ว่าเป็น
สิ่งมหัศจรรย์แห่งกัปกัลป์
เมื่อทรงไว้รอยพระบาท ไกลบ้านเมือง ตามความในตำนานนั้น พระพุทธองค์ทรงแสดง
อย่างแน่ชัดว่า เหตุใดจึง ไว้รอยพระบาทไกล จากบ้านเมือง ดังความตอนหนึ่ง ที่ทรงตรัสว่า
“ดูรามหาราช ที่เป็นบ้านเมือง ตั้งพระพุทธศาสนาอยู่เป็นปกตินั้น แม้มีเหตุควรไว้ พระพุทธเจ้าทั้งหลายก็ไป่(ไม่)ไว้ ด้วยเหตุว่า
เป็นที่หวงแหนแห่งหมู่เทวดา แลพญานาคทั้งหลายและบ้านเมืองก็จักเสื่อมศูนย์...”
“...ที่รอยพระพุทธบาทอันพระพุทธเจ้าได้ประดิษฐานไว้ก็ไป่(ไม่)
ตั้งเป็นเมือง
คนทั้งหลายจึงจะตั้งอยู่เป็นปกติ...”
จากข้อมูลดังกล่าว
อนุชนรุ่นหลังจึงควรพิจารณาสังวรว่าไม่ควรสร้างที่อยู่อาศัยใกล้สถานที่ศักดิ์สิทธิ์ทางศาสนาเกินไป
ความในตำนานระบุ ว่าเมื่อพระพุทธองค์ทรงไว้
รอยพระบาทไกลบ้านเมือง
พระพุทธศาสนาก็จะตั้งอยู่ด้าน ท้ายเมือง และหัวเมือง เมื่อทรงไว้ประทับ รอยพระบาท “ทิศใต้”
หรือ “ทิศเหนือ”
ตามความในตำนานนั้น “หัวเมือง”
จะอยู่ทิศเหนือ “ท้ายเมือง” จะอยู่ทิศใต้ ดังความตอนหนึ่งที่ทรงตรัสว่า
“...เมื่อพระพุทธเจ้าทั้งหลาย ได้ไว้จิตร์แก้ว กล่าวคือประทับ รอยพระบาทที่ท้ายเมืองทิศใต้นั้น พระพุทธศาสนาก็จักตั้งรุ่งเรืองในเมืองนั้นก่อน
แล้วจึงย้าย(แยกเรียงราย)ห่างมาใต้ตามรอยพระบาท
เมื่อไว้จิตร์แก้วก้ำหัวเมือง
พระพุทธศาสนาก็จักตั้งในเมืองนั้นแล้วจึงยาย(แยกเรียงราย)ห่างไปข้างเหนือ..”
แสดงว่าเมื่อทรงประทับไว้ รอยพระบาททางไหน
พระพุทธศาสนาก็จะตั้งรุ่งเรืองในเมืองนั้นก่อนแล้วจึงจะย้ายเรียง
ไปทางรอยพระบาท ทุกสถานที่ไว้ “กงจิตร์แก้ว”
ล้วนมีความหมาย
ในความยาวนานของกาลเวลาที่ล่วงไป ทุกสถานที่ไว้ “กงจิตร์แก้ว” ล้วนมีความหมายในการประดิษฐานพระพุทธศาสนาและสอดคล้องกับครรลองกรรมของชนทั้งหลาย ดังความในแต่ละตอนที่ทรงตรัสไว้ เช่น
รอยพระบาทอันพระพุทธเจ้าทั้งหลาย
ได้ประดิษฐานซ้อนกันไว้บนภูเขาสูงนั้น
เพื่อหมายเมืองในชมพูทวีปว่าเป็นมงคลแต่ปฐมกัลป์
รอยบาทอันตถาคตไว้ที่แผ่นหินในแม่น้ำใหญ่ไป่(ไม่)
เห็นนั้น
พระพุทธศาสนาบ้านเมืองจักรุ่งเรืองด้วยพระสังฆเถรผู้เป็นใหญ่
ตถาคตไว้รอยบาทที่แผ่นหินบนยอดเขาข่มรอยในน้ำนั้น เพื่อให้ไหลไปทางใต้
ให้บ้านเมืองพระพุทธศาสนามีความสุขสำราญรุ่งเรือง โลมเต็ง(ทับ) อสัปปุริสพาล ผู้เป็นบาปและเหล่ามนุษย์ที่เป็นมิจฉาทิฏฐิ
และอลัชชีทั้งหลายเหล่านั้น
แก้วจากรอยพระบาท ตามตำนานเล่าว่า
พระพุทธองค์ได้กระทำพระปาฏิหาริย์ให้เป็นแก้วออกมาจากพระบาททั้ง ๓
(รอยพระบาทพระพุทธเจ้าองค์ก่อน) ที่สถานที่ตรงพระธาตุเชิงชุม
ดังความตอนหนึ่งที่ทรงตรัสว่า
“...ดูรามหาราช สถานที่นี้
เป็นที่ประดิษฐานรอยพระบาทของพระพุทธเจ้าทั้ง ๓ พระองค์ แก้วจึงได้ออกมาจากที่นี้ ๓ ลูก มีรอยพระบาทของ พระกกุสันธ พระโกนาคมน์
และพระกัสสป พระพุทธเจ้าทั้ง ๓
องค์นี้
ได้เสด็จไปรับข้าวบิณฑบาตในเมืองศรีโคตรบองมาฉันที่ภูกำพร้า แล้วประดิษฐานรอยพระบาทไว้ ณ ที่นี้ ส่วนแก้วลูกที่ ๔ นั้น คือตถาคตนี้เอง...”
รอยพระบาท จากมุมเรื่องเล่าของพระป่า หลวงตาทองคำ
ได้บันทึกเรื่องราวเกี่ยวกับรอยพระพุทธบาทที่ได้ยินได้ฟังจาก หลวงปู่มั่น ไว้
ดังความตอนหนึ่งว่า
.....ท่านพระอาจารย์เคยเล่าให้ฟังถึงเรื่อง
รอยพระพุทธบาทที่อยู่จังหวัดสระบุรี ว่า เป็นรอยพระพุทธบาทแท้ ตามตำนานปรัมปราว่า
ประทานแก่ฤาษี หรือนายพราน แต่ท่านพระอาจารย์ว่า ทรงประทานไว้แก่สามเณรเรวตะ
ผู้เป็นน้องชายพระสารีบุตร
ส่วนรอยที่
๒ ชื่อว่า "พระบาทฮังฮุ้ง" (รังเหยี่ยวใหญ่) พระพุทธบาทนี้
ประดิษฐานอยู่ที่โยนกประเทศ รอยพระบาทนี้ ประทานแก่ อชิตฤาษี ซึ่งเป็นพระโพธิสัตว์จะมาตรัสรู้ข้างหน้า
เคยเป็นพระสหาย สงเคราะห์ กันมาหลายภพหลายชาติ ประทานไว้บนแผ่นหิน ความว่า หลังจากเสด็จเยี่ยมฤๅษี
ได้สนทนาร่าเริงกันแล้ว ฤๅษีได้ถวายผลไม้ พร้อมทั้งต้มน้ำกระดูกสัตว์ถวาย
ก่อนเสด็จกลับ ฤๅษีขอรอยพระบาทไว้เป็นที่ระลึก
พระองค์ตรัสถาม
"จะไว้ที่ไหน" ฤๅษี กราบทูลว่า
"บนแผ่นหินมีรังเหยี่ยวใหญ่อาศัยเลี้ยงลูกอยู่"พระองค์ตรัสถาม
"ทำไมจึงให้ประทับไว้ที่นั่น" ฤๅษีกราบทูลว่า
" ในวันฝนตก ไม่ได้ออกไปหาผลไม้ ข้าพระองค์ได้อาศัยเก็บกระดูกสัตว์มาต้มบริโภค
ถ้าพระองค์ประทานรอยไว้ที่นั่น วันที่ขึ้นไปเก็บกระดูกสัตว์ จะได้ทำความสะอาด
และกราบนมัสการด้วย"
ครั้งหนึ่ง หลวงปู่ปาน โสนันโท
ก็ได้พาคณะศิษย์นักปฏิบัติธรรมเดินทางไปนมัสการ พระพุทธบาทสระบุรี
ดังความในบันทึกตอนหนึ่งว่า
เมื่อเข้าถึง พระพุทธบาทแล้ว ต่างก็นมัสการตามปกติ
ของนักบุญ เวลาที่เข้านมัสการไม่ตรงกับเทศกาลนมัสการพระพุทธบาท
ทั้งนี้หลวงพ่อท่านให้ความ เห็นว่า การมานมัสการในงานเทศกาลคนจะแย่งกันไหว้ อารมณ์ตั้งมั่นจะน้อย เรามาไหว้ แบบนี้เงียบสงัด
อารมณ์ก็เยือกเย็น มีปีติโสมนัสดีกว่า มาไหว้ในงานเทศกาลมาก
เวลานั้น
หลวงปู่ปาน โสนันโท ท่านก็คุยเรื่องพระพุทธบาท ให้คณะที่ร่วมทางไปด้วยฟัง
ว่าประวัติ ที่พระพุทธบาท ที่เขาเขียนนั้น แต่จะเขียนว่าอย่างไรอย่าคำนึงถึง
ทุกองค์จงใช้หลักวิชชา
ท่านกล่าว ว่า จงอย่าเชื่อประวัติ
ตามที่ผู้เขียน เขียนไว้ทั้งหมดว่าจริง เพราะคนเขียนประวัติเอาแน่นอนไม่ได้ อาจจะเขียนตามความตนคิด
หรือเข้าใจว่า แล้วท่านก็ ให้ศิษย์ ทดสอบ ว่าให้ใช้ญาณที่มีอยู่พิจารณาตามลำดับ ตามที่ได้อบรมสติกันมาแล้ว
ยังอารมณ์ไว้ ไม่เกาะอุปาทาน ทำใจให้ผ่องใส
ครั้งนั้นท่าน
นั่งสมาธิ บริเวณหน้า รอยพระพุทธบาทนั้น ให้เวลาคนละ ๓ นาที แล้วลืมตา ต่างคนต่างให้เขียนตอบท่านว่ามีอะไรสำคัญ
ที่พบในสมาธิบ้าง ศิษย์ต่างก็หยิบกระดาน ออกมาเขียน ล้วนมีใจความ ตรงกัน ว่า
ดินแดน
รอยพระบาทนี้ ความสำคัญทางพุทธศาสนา นอกจากมี รอยพระพุทธบาทที่ เป็นของจริงเป็นรอยพระพุทธบาท
เก่าแล้ว ยังมีพระบรมสารีริกธาตุ ที่พระอรหันต์
ท่านนำมาบรรจุไว้อีก ๓ องค์ เมื่อศิษย์ ทุกองค์ ส่งหนังสือถวายท่าน ๆ
อ่านแล้วก็ยิ้ม กล่าวว่า พวกเธอพอใช้ได้
ส่วน
หลวงปู่สิม พุทธาจาโร ก็เคยได้กล่าวถึง “พระบาทสี่รอย” เอาไว้ว่า
ในเขตเชียงใหม่นี้ ยังมีพระบาทสี่รอย อยู่ในเขตอำเภอแม่ริม
แต่ว่าลึกเข้าไปในภูเขา หลวงปู่ ได้ไปดูมาแล้ว ไปกราบไปไหว้ รอยนี้อยู่ เป็นก้อนหิน ก้อนขาดใหญ่
เป็นก้อนสี่เหลี่ยมขึ้นไปอยู่ข้างริมแม่น้ำ
เป็นรอย เท้าของพระพุทธเจ้ากกุสันโธ ได้มาตรัสรู้ในโลก
ท่านก็มาเหยียบ
เป็นรอยพระพุทธบาทไว้ในยอดก้อนหินนั้น ยาวขนาด ๑๒ ศอก ในยุคนั้นพระพุทธเจ้ากกุสันโธ
ก็โปรดเวไนยสัตว์ทั้งหลาย นำพระสาวก อุบาสก อุบาสิกาไปสู่นิพพาน ไปแล้ว
เมื่อสิ้น พระศาสนาพระพุทธเจ้ากกุสันโธ
แล้ว ก็เป็นศาสนา ของพระพุทธเจ้าโกนาคมโน ท่านก็มาตรัส มาสอนมารื้อขนสัตว์ไป
แดนนิพพานอีก และก่อนที่ท่าน จะไปก่อนนิพพาน
นั้น ท่านก็มาเหยียบไว้ที่พระบาทแม่ริมนี้ นับเป็นรอยที่สอง ขนาดจะลดลงมา
เมื่อมาถึง สมัย พระพุทธเจ้าโกนาคมโน ท่านก็มา
แล้วก็นิพพานไปพร้อมด้วยสาวก แล้วศาสนาธรรม คำสอนท่าน ก็หมดสิ้นไป ก็มาถึง พระสัมมาสัมพุทธเจ้ากัสสโป
มาตรัสรู้ ท่านก็มาเหยียบไว้ อีกนับได้สามรอย
เมื่อศาสนาพระพุทธเจ้ากัสสโป หมดสิ้นไปแล้ว
เมื่อมาถึงศาสนาพระพุทธเจ้าของเรา ในกาลปัจจุบันนี้ ให้ชื่อว่า
พระพุทธเจ้าโคตมโคตร พระพุทธเจ้าโคดม ท่านมาตรัสรู้ แล้ว ก่อนที่ท่านจะนิพพาน ท่านก็มาเหยียบรอยพระบาทไว้
ในก้อนหินก้อนเดียวกัน ชาวพุทธจึงให้ชื่อว่า “พระพุทธบาทสี่รอย”
ดังนั้น บนโลกนี้ แผ่นดินนี้
ยังเหลืออยู่อีก พระพุทธเจ้าองค์หนึ่ง
ที่เราทุกคนได้ยินได้ฟังกันมาจนชินหูแล้วก็มี ว่ายังมี พระศรีอาริยเมตไตรโย โพธิสัตว์
ท่านจะมาตรัสรู้เป็นองค์สุดท้าย เมื่อท่านตรัสรู้แล้ว และได้โปรดเวไนยสัตว์
เสร็จสิ้น ตามพุทธกิจแล้ว
พระองค์ก็
จะมาเหยียบ รอยพระบาทไว้อีก เหยียบบนก้อนหินใหญ่ ตรงที่เดียวกับ เหยียบเต็มทับกันเลย
เลย คล้าย ๆ กับว่า เหยียบทับปิดเลย ละลายหินก้อนนั้น เพราะว่าเมื่อหมดศาสนาพระศรีอาริย์แล้วยุคต่อมาก็จะไม่มีพุทธะอีกแล้ว
ในกัปนี้ นอกจากกัปอื่น
กัปนี้เมื่อหมดศาสนาพระศรีอริยะแล้ว
ก็ไม่มีศาสดาใดที่จะมาตรัสรู้อีก ยุคนี้จึงเรียกว่า แผ่นดินที่เราเกิดนี้
นับว่าเป็นแผ่นดินที่ร่ำรวย ความดีมากที่สุด แผ่นดินนี้เรียกว่า ภัทรกัป
มีพระสัมมาสัมพุทธเจ้ามาตรัสรู้ได้ถึงห้าพระองค์
พระบาทสี่รอยนี้
เป็นที่พระพุทธเจ้าเสด็จมาเหยียบ รอยพระบาทไว้เองจริงๆ โดยเฉพาะ รอยพระบาทที่จังหวัดสระบุรี
เป็นรอยพระบาทของ พระพุทธเจ้าโคดม เพียงพระองค์เดียว แต่ที่พระบาทสี่รอยนั้น
เป็นรอยพระบาทของพระพุทธเจ้าถึง ๔ พระองค์ ก็ใคร ไปไหว้พระพุทธบาท ทั้งสี่รอย นี้เพียงครั้งเดียว ก็เท่ากับได้ ไหว้พระพุทธเจ้า
รวดเดียวถึง ๔ พระองค์ เลยที่เดียว
นอกจากนั้น หลวงปู่ตื้อ อจลธัมโม ก็ได้กล่าวถึง “พระบาทสี่รอย”
เอาไว้ว่า “พระพุทธบาทสี่รอยนี้ เป็นสัญลักษณ์ แห่งมหาภัทรกัป
ที่มีความสำคัญที่สุดในจักรวาลนี้ ส่วนหลวงพ่ออุตตมะ ได้กล่าวถึง “พระบาทสี่รอย”
เอาไว้ว่า พระพุทธบาทสี่รอยนี้
เราเคยได้ธุดงค์ไปกราบมาแล้ว...
สมัยก่อน
ตอนที่เรายังธุดงค์อยู่ในเขตภาคเหนือนั้น เราเคยได้ยินเขาเล่าลือกันว่า
มีรอยพระพุทธบาทอยู่ที่โยนกนคร หรือนครปุระ เราก็ธุดงค์ไปหาอยู่ สมัยที่เราไปนั้น เป็นราวพ.ศ. ๒๔๙๐
ถนนหนทางยังไม่มี เราต้องธุดงค์ข้ามเขาไปหลายลูก จึงไปถึง พบเป็น ๔ รอยพระบาท...
พระพุทธบาทสี่รอยนี้ ทางเมืองนอก ชาวพม่า
เขาก็รู้ และได้เสาะหาอยู่เหมือนกัน เราคิดและเคยเข้าในกันไปว่าน่า จะอยู่ในเขตพม่า
แต่เอาเข้าจริง ๆ แล้ว ก็มาอยู่ที่เมืองไทยเรานี้เอง พระพุทธบาทสี่รอยนี้ ล้าน เป็นของจริง
ดังคำบันทึก
ของสมเด็จกรม
พระยาดำรงราชานุภาพ พระบิดาแห่งประวัติศาสตร์ไทย ท่านก็ได้ทรงรับรองไว้ครั้งหนึ่งว่า“พระพุทธบาทสี่รอยแห่งนี้
เป็นรอยพระพุทธบาทที่เก่าแก่ที่สุดในประเทศไทย"
ดังนั้นจึงเชื่อ ได้ว่า แผ่นดินโลกยังไม่ถึงกาลอวสาน
โดยเฉพาะ แผ่นดิน อาณาบริเวณ ที่มีรอยพระพุทธบาท ปรากฏอยู่
แม้จะเกิดภัยวิบัตินานาประการ ก็จะไม่รุนแรงเท่าดินแดนอื่น
แต่เมื่อผ่านพ้นภัยวิบัติอันใหญ่หลวงของโลกไปแล้ว ดินแดนแห่งนี้กลับจะ
มีความเจริญรุ่งเรื่องทั้งทางโลกและพระธรรมแห่งองค์พุทธะ แผ่นดิน แถบนี้ จะไม่สูญ ตราบใดที่ยังมีรอยพระพุทธบาทที่ห้า
ปรากฏอยู่
แต่ก็น่าเสียดาย
ที่มนุษย์อายุสั้นเกินไป นับแค่เป็นสิบปี เท่านั้น เพราะสร้างบุญมาน้อยนิดนั้นเอง ชีวิตผู้คนนั้นสั้นเกินกว่าที่
จะมีชีวิตอยู่ เพื่อพิสูจน์ความจรองในเรื่องนี้ได้ จึงไม่สามารถจะอยู่รอดได้ เป็นพันปีของอายุขัย
เพื่อยืนยัน เรื่องราว และสิ่งต่าง ๆ ที่ได้กล่าวไว้ในตำนาน ว่าในตำนานที่กล่าวไว้นั้นเกิดขึ้นแล้ว
ดังนั้น
ความเจริญ เสื่อมลงของอาณาจักร และเมืองต่าง ๆ ก็เป็นไปในลักษณะนั้น เช่น
การย้ายกลับไป กลับมา ของเมืองศรีโคตรบูรณ์ และเมืองหนองหาร เป็นต้น
ดัง กระแสข่าวลือเรื่องโลกแตก และวันอวสานโลก
หลายครั้ง ทำให้ชนชาวโลกต่างตื่นเต้น และอกสั่นขวัญหายไป กันไม่น้อย แต่ก็ยังมี ชาวพุทธจำนวนมาก
ที่ยังศรัทธาและฝังใจในคำโบราณที่ว่า
ถึงโลกจะวิกฤตอย่างไร
ก็ยังไม่น่าจะถึงกาลอวสาน
ได้ เพราะแผ่นดินนี้ เป็นแดนดิน แห่งพระพุทธศาสนา ล้วนมีเทพฝ่ายดีปกป้องอยู่ เพราะที่ “ผารังรุ้ง” พระบาทสี่รอย จ.เชียงใหม่
และ “ภูน้ำลอด พระธาตุเชิงชุม จ.สกลนคร อันเป็นภูมิภาค ลุ่มน้ำโขงแห่งนี้ ยังถูกกำหนดไว้ว่า จะต้องรอเป็นที่ ประทับไว้
ในรอยพระบาท แห่งพระบรมครู ศรีอาริยเมตไตรย สัมมาสัมพุทธเจ้า ในอนาคตหน้า เป็นแน่แท้
ส่วนการตั้งบ้านเรือน
ในสมัยโบราณ จะไม่นิยม ไม่ควรอยู่ใกล้พุทธสถานจนเกินไป แต่การอยู่ใกล้กับสถานที่ศักดิ์สิทธิ์
หรือถาวรวัตถุทางศาสนานั้น ก็ถือว่าเป็นสิ่งที่ดี
แต่คนโบราณท่านเตือนเอาไว้ว่าไม่ควรอาศัยอยู่ใกล้ จนเกินไป อาจจะเป็นการรบกวน
สถานที่ศักดิ์สิทธิ์
ส่วนคน หมู่บ้านที่ตั้ง ที่อาศัยอยู่ ไม่ไกลมากนัก
ย่อมมีโอกาสที่จะไปปกป้อง พิทักษ์รักษา และซ่อมแซมบูรณะได้ง่าย ทั้งยังสะดวก ที่จะปฏิบัติกิจ
อันเป็นบุญกุศล ตลอดจนปรนนิบัติรับใช้พระภิกษุสงฆ์ และผู้ทรงศีลมิให้ขาดตกบกพร่อง อันยังจะทำให้สืบต่ออายุพระศาสนา ให้คงสืบต่อไป
นอกจากนั้น
ก็ยังน้อมนำธรรม ให้เกิดอนุสติ คือระลึกถึงคุณ อันเป็นที่พึ่งทางใจ แม้ในยามทุกข์หนักก็ทำให้ผ่อนคลาย
หรือแม้จวนกระทั่งยามจะสิ้นใจตาย ขอเพียงได้เหลือบไปเห็นยอดพระเจดีย์ ก็ยังเชื่อกันว่า
อาจน้อมนำไปสู่สุคติได้
และในยามที่โลกเกิด
มหันตภัยทางธรรมชาติ ผู้คนทั้งหลายก็ย่อมจะเกิดความตระหนกอกสั่นขวัญหาย ดิ้นรนหาทางรอดชีวิต
ตามสัญชาตญาณ ผู้คนจึงมักจะรู้สึกนึกคิดว่า
การได้อยู่ใกล้กับพุทธสถานจะมีส่วนช่วยเพิ่มกำลังใจ ว่ามีของดีคุ้มครอง ให้อยู่รอดปลอดภัย
จากมหันตภัยโลกได้
ความเชื่อ ในพลังแห่งพุทธสถาน
สถานที่ศักดิ์สิทธิ์นั้น นอกจากจะมีพลังในตัวอยู่แล้ว ก็ยังเป็นมิ่งขวัญและกำลังใจหลักของชาวพุทธ คนที่อยู่ใกล้ย่อมมีความมั่นคง เป็นที่พึ่งทางใจจิต
จิตก็ย่อมสงบเมื่อจิต สติปัญญาก็เกิดได้ง่ายกว่า ในการแก้ไขกับปัญหา ด้วยตนเอง
อีกทั้งยัง
มีอานุภาพ ความเข้มขลังของสิ่งศักดิ์สิทธิ์ และสนามพลังแห่งบุญกุศล จากการประกอบความดี
อยู่ในศีล เป็นอาจิณ
ส่วนความเชื่อในพุทธวิสัย คนพุทธ แต่โบราณ นั้นมักเชื่อว่า
พระพุทธองค์ย่อมทรงล่วงรู้ด้วย เหตุกาลต่าง ๆ ที่เกิดพระญาณของพระองค์เอง เมื่อท่านกล่าวเช่นใด ก็ล้วนเป็นจริงตามนั้น
แต่คงไม่กำหนดวันเวลาที่ เพราะในอนาคตล้วนจะมีปัจจัยที่มา เกี่ยวข้องมากมาย
ช้าหรือเร็วก็อยู่ที่ปัจจัยดังกล่าว
เรื่องเรื่องของการ
จะประดิษฐานศาสนาของพระองค์ไว้ในถิ่นอุดมมงคล
ว่าจะเป็นสถานถิ่นใดในโลก นั้นก็เช่นเดียวกัน พระองค์ทรง ทราบแล้วว่าดินแดนใดจะสถาพร จึงจะมั่นคงอยู่นานเป็นปึกแผ่น
เป็นประโยชน์แก่หมู่สัตว์
จึงเชื่อว่า
ผืนแผ่นทวีปบริเวณแถบนั้น น่าจะมีแนวโน้มที่จะมั่นคง หรือที่คนยุคใหม่ชอบใช้คำว่า
“เสถียร”
หากจะมีภัยพิบัติก็คงเสียหายไม่มาก ไม่ถึงกับล่มจม ยิ่งถ้าเป็นสถานที่ซึ่งได้ทรงพยากรณ์ ไว้แล้วว่าพระพุทธเจ้า
พระองค์ต่อไป จะเสด็จมาก็ยิ่งเป็นที่แน่ใจได้
เพราะสิ่งใดที่พระพุทธองค์ตรัสไว้ย่อมจะเป็นความสัจจริง
ความเชื่อ ดังที่กล่าวมาแล้วนั้น
คนโบราณและนักปฏิบัติท่านก็ไม่ได้แสดงความเห็นไปในทางขัดแย้งแต่อย่างใด
เพียงแต่ท่านกล่าวเตือน ให้ลูกหลานรู้จัก ระมัดระวังเอาไว้บ้าง เมื่อเห็นว่าที่ใด ปลอดภัย ที่สามารถ พักพิงอาศัย
เป็นที่หลบภัยได้ท่านก็แนะนำตามสถานที่นั้นว่าปลอดภัย
คนโบราณเชื่อถือ กันว่า พุทธสถานนั้น นอกจากจะเป็นถิ่นที่รัก
ที่เครพของนุษย์แล้ว พวกเทวดาอารักษ์ในชั้นภูมิต่าง ๆ ก็รักใคร่ หวงแหน เช่นกัน เรื่องนี้ ก็ยังมีนักปฏิบัติ หลายท่านยืนยันตรงกัน และถ้ามีใครไปละเมิด ก็อาจเป็นเหตุให้เกิดวิปริต
และมีอันเป็นไปต่าง ๆ นานา
แต่มนุษย์ยุคนี้
จิตหยาบเสียเป็นส่วนมาก ไม่ทราบ ทั้งไม่สนใจ ทั้งยังเหยียดหยาม ล้วนสร้างกรรมต่ำแห่งตน
หลายครั้ง จึงกลายเป็นการสร้างเหตุ บีบคั้น
ช่วยกันเร่ง ให้เกิดภัยพิบัติ มากวาดล้างครั้งใหญ่หลวงขึ้นมา
ผู้คนมากมายในบางยุคสมัย นั้น อาจล้มตาย โดยการกระทำ แห่งตนที่หลงผิด ไป ตาม ๆ กันแบบที่รู้เท่า
ไม่ถึงการณ์
ดังนั้น
วาจาสุดท้ายที่องค์พุทธะฝาก ชาวพุทธไว้ ด้วยความห่วงใย ว่าท่านทั้งหลาย
อย่าประมาท ชีวิต สังขารล้วนไม่เที่ยง จงยังความไม่ประมาท เถิด
ทุกสรรพสิ่ง
ในโลก ล้วนไม่เที่ยง ย่อมมีการเปลี่ยนแปลงไป เป็นเรื่องธรรมดา ในดินแดนลุ่มน้ำโขง
แห่งนี้ มิใช่ว่าแค่ จะเป็นมงคลสถานที่
ที่ประดิษฐาน ของหลักฐาน พระพุทธศาสนาของพระพุทธเจ้าองค์ปัจจุบันเท่านั้น แต่ยังเคย
เป็นมงคลสถานแห่งพระพุทธเจ้าทุกพระองค์ใน ภัทรกัป นี้ คือ มีความเป็นมา
ตั้งแต่ต้นกัปต่อเนื่องกันไป จวบจนกว่ากัปนี้ จะพินาศ และก็ยังหมุนเวียน เปลี่ยนไป จะก่อกำเนิดเป็น แผ่นดิน แดนกัปใหม่ อันอุดม
ทั้งทางโลก และทางธรรม หลังมหันต์ภัยล้างมนุษย์บาป จบสิ้นไปแล้ว
ก็จะเหลือมนุษย์ศีลธรรม เป็นเชื้อเผ่าพันธุ์ มนุษย์ทรงธรรมในยุคใหม่ ในดินแดนพุทธะ
สุวรรณภูมิ สองฝั่งโขง ถิ่นแดนเหนือ
เชื้อศีลธรรม นับได้ว่าเป็นดินแดนศักดิ์สิทธิ์ เป็นแดนสิ่งมหัศจรรย์ แห่งภัทรกัป นี้
----------------------
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น