งานเขียน
งานเขียนเป็นเรื่องของคนชอบ และเป็นเรื่องของอาชีพ
คำว่าการเขียนเป็นอาชีพนั้น
ก็ย้อนกลับมาว่าเขียนเพราะชอบเขียนหรือเขียนเนื่องจากความจำเป็น
โดยเพื่อหารายได้ก็ได้ แต่การเขียนของอย่างหลังนี้อาจจะไม่เป็นการทำทำที่ไม่ยืนนาน
เพราะไม่ชอบในที่สุดก็อาจเลิกเขียนไป
เพราะการที่ทำอะไรไม่ชอบในที่สุดก็ต้องเลิกอย่าแน่นอน แต่คนที่ชอบเขียน
อยู่ที่ไหน ทำอะไรก็เขียน
ยิ่งถ้าเขียนมากก็ยิ่งรักและถนัดในการเขียน เรียกได้ว่าแม้ขณะหลับก็ยังฝันว่าตัวเองได้เขียน
บางท่านถ้าเดินทางไปตามท้องถนนคงได้เห็นสติ๊กเกอร์
ติดท้านรถบางคัน เขียนคำว่า จัยมันรัก ซึ่งคำนี้เป็นภาษาที่เขียนใช้กันในวงการวัยที่เขียนต้องการให้เป็นเอกลักษณ์
เพื่อให้เกิดความโดดเด่น โดนใจหรืออะไรผู้เขียนหรือกำหนดเขียนคำนี้ ต้องมีเป้าหมายในการเขียนแน่นอน
คนที่เขียนเรื่องราวต่าง ๆ
ก็ต้องมีใจรักเช่นกัน ถ้าใจมันไม่ชอบไม่รักแล้ว
ก็คงไม่อยากทำสิ่งนั้นไม่ว่าเรื่องอะไร
งานเขียนเป็นเรื่องของความรัก ความชอบ แล้วก็ทำบ่อย ๆ
เมื่อทำบ่อย ๆ ก็กลายเป็นความถนักหรือเชี่ยวชาญ นั้นเอง เหมือนกับการเรียกชื่อ
ตำแหน่งครูผู้สอนในสถานศึกษา ในระดับการศึกษาขั้นพื้นฐาน
ที่เรียกตำแหน่งผู้ที่เข้ามาทำหน้าที่สอน ในครั้งแรกที่เข้ามาทำหน้าที่ ว่า
ครูผู้ช่วย ต่อมาหลายปีก็เลื่อนตำแหน่ง เรียกว่าครูชำนาญการ เป็นครูผู้เชี่ยวชาญ เป็นต้น
โดยทั่วไปแล้วถ้ามีอะไรบ่อย ๆ ซ้ำ ๆ
ก็จะเกิดความรู้ แตกฉาน จนกลายเป็นผู้เก่ง หร์อเชี่ยวชาญในเรื่องนั้น สำหรับผู้ที่เขียนบ่อย ๆ ในเรื่องใด ๆ ก็ตาม
จะมีความเก่งในเรื่องนั้น ๆ เช่นกัน เหมือนคำโบราณของไทยที่ท่านได้กล่าวไว้ว่า รู้อะไร
รู้กระจ่างทางเดียว แต่ให้เชี่ยวชาญเถิด
จะเกิดผล
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น