ปี
พ.ศ.2559 เป็นปีที่ประเทศไทยได้เข้าสู่กลุ่มความร่วมมือในกลุ่มประเทศอาเซียน
ที่เกรียกว่า สมาคมอาเซียนอย่างสมบูรณ์ และผลจากความร่วมมือกันนี้เองทำให้ชาวต่างชาติในประเทศเพื่อนบ้านของไทยเข้ามาทำงานในประเทศมากขึ้น
ยิ่งนับวัน ชาวพม่า ลาว กัมพูชา และชาวเวียดนามจะเข้ามาทำงานในประเทศไทยมากขึ้น
โดยเฉพาะชาวพม่าและกัมพูชา จะเข้ามาทำงานใช้แรงงานมากที่สุด
สิ่งที่ทำให้ชาติเหล่านี้หลั่งไหลเข้ามาทำงานในประเทศไทยมากขึ้นก็มีความเหมาะสมหลายประการ
ประการแรก
คนไทยในปัจจุบันไม่นิยมทำงานหนัก ประเภทใช้แรงงาน โดยเฉพาะแรงงานก่อสร้าง
คนไทยไม่ชอบทำจึงเป็นช่องว่างให้แรงงานเพื่อนบ้านมีโอกาสได้ทำงานประเภทนี้สูง
ประการต่อมา เป็นเรื่องค่าแรง รายได้ที่ปรับตัวสูงขึ้น
เนื่องจากค่าแรงขั้นต่ำของไทยเพิ่มขึ้นเป็น 300 ต่อวัน
และประการสุดท้ายที่ชาวต่างชาติชอบมากคือ
เรื่องของสุขภาพการรักษาพยาบาลที่ได้คุณภาพ และเชื่อถือได้
สะดวกสบายครบถ้วนมากกว่าบ้านเกิดของเขานั่นเอง ด้วยเหตุนี้ และที่สำคัญ
นายจ้างชาวไทยก็กำลังขาดแรงงานประเภทดังกล่าวเป็นจำนวนมาก
จึงนิยมหาแรงงานต่างชาติให้มาช่วยงาน ซึ่งในอดีต นายจ้างขาดแคลนแรงงานเหล่านี้เป็นจำนวนมาก
จึงจำเป็นต้องหาแรงงานต่างชาติมาทดแทนแรงงานที่ขาดหายได้
ทำอย่างไรก็ได้ที่จะได้แรงงานมาทำงาน
ไม่ว่าแรงงานเหล่านั้นจะถูกกฎหมายหรือไม่ก็ตาม เพราะเจ้าของกิจการดังกล่าวรอไม่ได้
เมื่อแรงงานผิดกฎหมายเข้ามาในประเทศมากๆ ย่อมเกิดปัญหามากมาย ทั้งเสี่ยงต่อชีวิตและทรัพย์สิน
เนื่องจากไม่สามารถทราบได้ว่า รูปร่างหน้าตาเป็นอย่างไร ชื่ออะไร
เพศชายหรือเพศหญิง ทำให้ยากต่อการติดตามตัวมาสอบสวน เมื่อกระทำความผิดหรือมีเหตุการณ์ที่เสี่ยงต่ออันตรายเกิดขึ้น
เพื่อบรรเทาความเดือดร้อนทางด้านแรงงานของผู้ประกอบการและเพื่อความสงบเรียบร้อยในการป้องกันปัญหาจากแรงงานต่างด้าว
อีกทั้งสนองนโยบายของสมาคมอาเซียนที่เข้าสู่ยุค AEC ทางภาครัฐจึงได้ออกมาตรการบริหารแรงงานต่างด้าว
ให้กฎหมายและได้ประกาศกฎระเบียบให้ผู้ประกอบการใช้แรงงานต่างด้าวและแรงานต่างด้าวจะต้องปฏิบัติเพื่อให้เกิดความถูกต้องตามระเบียบการทำงานและความเรียบร้อยของสังคม
ซึ่งในเรื่องแรงงานต่างด้าวนี้ได้มีมติของคณะรัฐมนตรีได้ประกาศเมื่อวันที่ 23
กุมภาพันธ์ พ.ศ.2559 ให้แรงงานในสถานประกอบการต่างๆมาลงทะเบียนแรงงานภายในเวลา 120
วัน โดยกำหนดให้ลงทะเบียนแรงงานตั้งแต่วันที่ 1 เมษายน 2559 จนถึงวันที่ 29
กรกฎาคม 2559 ที่ผ่านมา และเมื่อขึ้นทะเบียนถูกต้องครบถ้วนแล้ว
จะได้รับอนุญาตให้ทำงานในประเทศไทยได้ ตั้งแต่วันที่ 1 เมษายน 2559 จนถึงวันที่ 31
มีนาคม 2561 เป็นเวลา 2 ปี
วันที่
29 กรกฎาคม 2559 เป็นวันสุดท้ายที่เปิดโอกาสให้แรงงานต่างชาติมาลงทะเบียน
ขึ้นทะเบียนสำหรับแรงงานต่างชาติที่ประสงค์จะทำงานในราชอาณาจักรไทย
มาถึงวันนี้ก็เลยกำหนดมาแล้ว แต่ก็ยังมีแรงงานบางส่วนที่ไม่สามารถลงทะเบียนไปลงทะเบียนในวันที่กำหนดดังกล่าวได้
ก็คงจะมีความรู้สึกไม่ค่อยสบายใจกันทั้งนายจ้างและลูกจ้าง ยิ่งทางรัฐบาลประกาศอย่างจริงจังว่า
“ไม่ขยายต่อบัตรต่างด้าว เจอผิดเป็นจับ ปรับเป็นแสน”
แต่ก็พอยังมีความหวังตรงประโยคสุดท้ายที่กล่าวว่า “ต่อบัตรไม่ทันทำ MOU ได้” ก็หมายความว่า ยังพอมีช่องทางให้หวังได้ทำงานต่อ นายจ้างก็โล่งอกว่า
กิจการจะไม่เสียหาย
การต่อบัตรอนุญาตการทำงาน
สำหรับแรงงานที่สมบูรณ์ที่สิ้นสุดไปเมื่อวันที่ 9 กรกฎาคม 2559 ที่ผ่านมา
คงเป็นหลักประกันความสบายใจทั้งผู้ประกอบการว่าการทำงานจะไม่มีปัญหาในระยะเวลาที่กำหนด
ก็ไม่ต้องกังวลกับการถูกตรวจจับของเจ้าหน้าที่ของรัฐอีกต่อไป
ซึ่งจะทำให้สามารถทำงานสร้างผลผลิตเพื่อเพิ่มมูลค่าทางเศรษฐกิจให้กับประเทศได้มากขึ้น
ส่วนแรงงานที่ยังไม่สามารถขึ้นทะเบียนตามเวลาทีกำหนด เนื่องจากเหตุผลนานาประการ
ทั้งนายจ้างและลูกจ้างก็คงต้องรอไปอีกสักระยะ เพราะถึงอย่างไร
ทางภาครัฐก็คงจะเปิดช่องทางให้ลงทะเบียนกันอีกครั้งเนื่องจากเพราะถึงอย่างไร
แรงงานเหล่านี้ก็มีผลต่อการผลิตของเศรษฐกิจระดับชาติที่จำเป็นต้องทำให้ถูกต้องตามกฎหมายเพื่ออนาคตต่อระบบเศรษฐกิจระยะยาว
แต่ก็ต้องรอกันไปก่อน
เพราะทุกอย่างต้องเป็นไปตามระเบียบกฎหมายเพื่อความเรียบร้อยของสังคมนั่นเอง
แต่ที่ชัดคือ มีแรงงานที่ถูกต้องตามกฎหมายเข้ามาสู่ระบบการผลิตจำนวนมาก
เมื่อนายจ้างนำแรงงานต่างด้าวมารายงานตัวขึ้นทะเบียนรับใบอนุญาตในการทำงานอย่างถูกต้องตามกฎหมายเรียบร้อยแล้ว
หลังจากวันครบกำหนดคือ หลังวันที่ 25 กรกฎาคม 2559 เป็นต้นไป
ทางภาครัฐก็จะบังคับใช้กฎหมายกับแรงงานที่ไม่ถูกต้องทันทีตามที่หน่วยงานภาครัฐประกาศว่า
“รัฐระบุชัด...
ไม่ขยาย !!! ต่อบัตรต่างด้าว
เจอผิดเป็นจับ
ปรับเป็นแสน
ต่อบัตรอนุญาตไม่ทัน
29
กรกฎาคม 59 ทำ MOU ได้!”
เมื่อประกาศออกมาอย่างเป็นทางการแล้ว
ทางภาครัฐจะเริ่มจับกุมแรงงานต่างด้าวทันที ส่วนนายจ้างที่ลักลอบจ้างแรงงานต่างด้าวไม่ได้รับใบอนุญาต
จะจ่างแรงงานนั้นไว้ทำงานไม่ได้ มีความผิดตามพระราชบัญญัติการทำงานต่างด้าว
พ.ศ.2557 มีความผิดปรับสูงสุดถึง 100,000 บาท ต่อแรงงานต่างด้าวหนึ่งคน
ส่วนแรงงานที่ลักลอบเข้ามาทำงานโดยไม่ได้รับอนุญาต จำคุกไม่เกิด 5 ปี
และปรับสูงสุดถึง 100,000 บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ ส่วนรายละเอียดต่างๆ
สามารถหาข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ สำนักงานจัดหางานทุกจังหวัด
และสำนักงานจัดหางานในเขตกรุงเทพมหานคร พื้นที่ 1 – 10 ได้ในเวลาราชการ
ดังนั้น
ทางภาครัฐโดยทางกรมการจัดหางานที่มีหน้าที่เกี่ยวข้องกับผู้ทำงาน ผู้ใช้แรงงานโดยตรง
จึงได้ออกกฎระเบียบต่างๆ
ออกมาเพื่อใช้เป็นหลักปฏิบัติงานให้เป็นไปในทางทางเดียวกัน
ทางสำนักบริหารแรงงานต่างด้าวจึงได้ออกเอกสารเพื่อให้นายจ้างและลูกจ้างแรงงานต่างด้าว
สัญชาติ พม่า ลาว และกัมพูชา ได้อ่าน และได้ปฏิบัติตามแนวทางที่ได้กำหนดไว้ ชื่อว่า
“ข้อควรรู้ สำหรับนายจ้างและแรงงานต่างด้าวสัญชาติ พม่า ลาว และกัมพูชา”
ซึ่งประกอบด้วยกัน 3 เล่ม ที่นายจ้างและลูกจ้างต้องอ่าน คือ
ข้อควรรู้สำหรับนายจ้างและแรงงานต่างด้าว ไทย – ลาว, ไทย – พม่า แบะ กัมพูชา
ไว้ให้ได้ศึกษากัน โดยฉบัยนี้ขอเริ่มด้วยข้อควรรู้สำหรับนายจ้างและแรงงานต่างด้าว
พม่า กันก่อน