วันศุกร์ที่ 25 สิงหาคม พ.ศ. 2560

ต่อสายไฟฟ้าด้วยไวร์นัท (Wire Nut


  การทำงานทุกสาขาอาชีพ ล้วนแต่เป็นองค์ความรู้ทั้งสิ้น องค์ความรู้นั้นตามธรรมชาติแล้วจะได้รับการถ่ายทอดนั้นจะเกิดขึ้นได้ทั้งทางตรงและทางอ้อม ทั้งที่ตั้งใจรับ และไม่ได้ตั้งใจรับ ส่วนการนำความรู้มาใช้ ในเชิงปฏิบัตินั้นจะทำให้เกิดการเรียนรู้ที่เข้าใจลึกซึ้งมากกว่าวิธีอื่น เพราะการทำจริง ปฏิบัติจริงจะพบกับปัญหา และอุปสรรคในการทำงาน และถ้าไม่แก้ปัญหาก็เดินหน้าทำงานต่อไปไม่ได้  ในการทำงานย่อมเกิดปัญหาอยู่ตลอดเวลาที่คนทำงานก็ต้องแก้  การแก้ปัญหาในงานนั้นก็ต้องอาศัยความรู้เดิมที่มีอยู่  และนำวิธีแก้ปัญหาของผู้ปฏิบัติงานก่อนหน้านี้ มาเป็นแนวทางในการแก้ปัญหา บางครั้งก็สำเร็จ และบางครั้งก็ไม่สำเร็จ งานก่อสร้างก็เช่นเดียวกัน ในขณะที่ทำงานตามแบบที่กำหนดมาให้ แต่ในทางปฏิบัติงานจริงนั้น บางจุดบางช่วงของงาน อาจจะไม่ตรงตามที่วางแผนไว้ได้ เช่นกัน  การแก้ปัญหาในงานก่อสร้างนั้นมีมากมาย บางเรื่องก็มีการคิดค้นวิธีแก้ปัญหา ที่สามารถทำให้งานออกมาดีมีคุณภาพ ลดต้นทุนได้มากขึ้นกว่าวิธีเดิมเรามักนิยมเรียกกันว่า  นวัตกรรม  
            สมนึก เอื้อจิระพงษ์พันธ์ และคณะ(2553) ได้ให้ความหมายของ นวัตกรรม หมายถึง สิ่งใหม่ที่เกิดขึ้นจากการใช้ความรู้ ทักษะประสบการณ์ และความคิดสร้างสรรค์ ในการพัฒนาขึ้น ซึ่งอาจจะมีลักษณะเป็นผลิตภัณฑ์ใหม่ บริการใหม่ หรือกระบวนการใหม่ ที่ก่อให้เกิดประโยชน์ในเชิงเศรษฐกิจและสังคม
            ดังนั้น ความหมายของคำว่า   นวัตกรรม  นั้น คนไทยส่วนมากแล้วยังมีความเข้าใจที่คลาดเคลื่อนกันไปมาก เพราะส่วนมากแล้วจะมองไปถึงเครื่องจักรกลขนาดใหญ่  ที่มีระบบอัตโนมัติแบบใหม่ ๆ มีเทคนิคการใช้งานที่ทันสมัยล้ำยุค เป็นการคิดค้นที่มีหนึ่งเดียว ที่เกิดขึ้นในโลก ความเข้าใจเช่นนั้นก็คงถูกต้อง  แต่บางครั้งก็อาจมองข้าม แนวคิด สร้างสรรค์ใหม่ กระบวนการทำงานใหม่ หรือวิธีการทำงานแบบใหม่  ๆ   ที่นำมาสร้างสรรค์งานให้เกิดประโยชน์ และเพิ่มมูลค่าได้ ก็นับเรียกว่าเป็น นวัตกรรม  เช่นเดียวกัน  และในการทำงานก็มีการคิดค้น หรือเรียกว่า กระบวนการใหม่ ที่ก่อให้เกิดประโยชน์ในเชิงเศรษฐกิจและสังคม ที่อยากจะนำเสนอ คือเรื่องของงาน ช่างต่อสายไฟ  ซึ่งก็นับว่าเป็นแนวทางการทำงาน 
การต่อสายไฟ  ซึ่งเป็นกระบวนการทำงานที่ช่างไฟ ที่น่าจะศึกษาและนำองค์ความรู้นี้ไปใช้ในการทำงานได้จริง  เรียกว่า ต่อสายไฟฟ้าด้วยไวร์นัท   เป็นการต่อสายไฟฟ้าในระบบท่อร้อยสายที่ให้ฝังตัวอยู่ในฝ้าเพดาน ซึ่งเรื่องนี้น่าสนใจมาก 


วิธีต่อสายไฟฟ้าด้วยไวร์นัท (Wire nut)
     การต่อสายไฟฟ้าด้วยไวร์นัท (Wire nut) จะต้องใช้วิธีหมุน เพื่อให้ไวร์นัทรัดสายให้แนบชิดกันก่อน เมื่อต่อเสร็จเรียบร้อยแล้ว ไม่ต้องใช้เทปพันตรงสายไฟ เนื่องจากปลอกของไวร์นัทเป็นฉนวนอยู่แล้ว ซึ่งจะทำให้จุดต่อสายไฟดังกล่าวลงกราวด์ได้  ซึ่งการต่อสายไฟฟ้าด้วยไวร์นัทนั้น จะนิยมนำมาต่อในกล่องต่อสาย (Junction box) โดยเฉพาะการเดินสายในท่อร้อยสาย ส่วนการใช้เทปพันสาย ซึ่งเทปพันสายนั้นเป็นวัสดุฉนวนไฟฟ้าที่นิยมใช้ทั่วไปนั้น  จะมีราคาถูก (ควรเลือกเกรดที่ดี)
            ส่วนวิธีการพันปิดทับรอยต่อสายไฟฟ้านั้น จะต้องเริ่มจากพันเอียงไปด้านใดด้านหนึ่ง จนสุดรอยต่อ จากนั้นจึงพันวกกลับมาที่จุดเริ่มต้นเดิมอีกครั้ง  ทำแบบนี้จนแน่ใจว่ามีความปลอดภัย แต่จะต้องไม่หนาจนเกินไป ในขณะที่พันจะต้องดึงเทปพันสายให้ยืดออกเล็กน้อย เพื่อให้เทปรัดรอยต่อกันให้แน่นมากขึ้น เพื่อความปลอดภัย จึงนำเสนอเพื่อเป็นแนวทางประกอบการตรวจสอบเบื้องต้น ตามภาพ ดังนี้




----------------------------------------

            

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น