วันเสาร์ที่ 2 กันยายน พ.ศ. 2560

อาคารเขียว สถาปัตยกรรมเป็นมิตรสิ่งแวดล้อม



เรื่องอาคารเขียวหรืออาคารที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม ในปัจจุบันเริ่มเป็นที่นิยมมากขึ้นเรื่อย ๆ  โดยเริ่มจากการให้ความสำคัญกับสภาพแวดล้อมที่จะมีผลกระทบทางด้านลบกับการดำรงอยู่ของมนุษย์  ซึ่งโลกเริ่มมีอุณหภูมิที่สูงขึ้น อากาศก็เริ่มที่จะไม่สะอาดมากขึ้นและมลภาวะที่เป็นพิษมากขึ้นเรื่อย ๆ จึงทำให้มนุษย์เริ่มหาวิธีและมาตรการหลายอย่าง เพื่อลดภาวะที่เป็นพิษดังกล่าว  ซึ่งการก่อสร้างอาคาร หรือที่อยู่อาศัยที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมก็เป็นเรื่องหนึ่งที่กำลังเป็นที่นิยมกันมากขึ้น  ซึ่งรูปแบบการก่อสร้างอาคารเขียว หรืออาคารที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมจะเป็นที่นิยมมากในประเทศที่พัฒนาแล้ว ถ้าเป็นประเทศในแถบเอเชีย ประเทศสิงคโปร์ นับว่ามีอาคารเขียวมากที่สุด เกือบครบ 100 เปอร์เซนต์ ของอาคารทั้งหมดทั่วประเทศ  แม้แต่ประเทศสหรัฐอเมริกา เองก็มองเรื่องนี้เป็นเรื่องพิเศษเช่นกัน   การออกแบบก่อสร้างอาคารประเภทนี้ได้รับการยอมรับว่าเป็นเรื่องที่มีความรับผิดชอบต่อสังคม อย่างสูง โดยมีหน่วยงานที่ดูแลเรื่องนี้โดยตรง ถ้ามีการก่อสร้างนั้น


จะได้รับการรับรองด้านการออกแบบอาคาร ที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม  ด้วยมาตรฐาน LEED ( The Leadership in Energy and Environmental Design)  จากสถาบันด้านอาคารเขียวของสหรัฐอเมริการ ซึ่งเป็นสถาบันที่มีชื่อเสียง ได้รับการยอมรับในระดับโกลด์  สำนักงานของสถาบันแห่งนี้จะประกอบด้วยพื้นที่สีเขียว ขนาดใหญ่ ในบริเวณด้านหน้าอาคาร และส่วนที่เป็นดาดฟ้า นอกจากนั้นในตัวอาคารเอง จะติดตั้งเทคโนโลยีอนุรักษ์พลังงานที่มีประสิทธิภาพ ซึ่งนับว่าเป็นอาคารเขียว ต้นแบบที่สมบูรณ์แบบที่สุดแห่งหนึ่งของโลก เพื่อเป็นการประหยัดค่าใช้จ่ายและอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมอย่างครบถ้วน


            ส่วนอาคารของ เอไอเอ แคปปิตอล เซ็นเตอร์ สำนักงานใหญ่ ที่ตั้งอยู่บนถนนรัชดาภิเษก กรุงเทพมหานคร ก็เช่นเดียวกันก็มีแนวคิดออกแบบอาคารเน้น การเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมอีกเช่นกัน  จนได้รับการรับรองมาตรฐานอาคาร แบบ LEED Gold ด้วยองค์ประกอบที่ออกแบบมาเพื่อการประหยัด และอนุรักษ์พลังงานที่ทรงประสิทธิภาพได้อย่างลงตัว  ด้วยการจัดแต่งพื้นที่สีเขียวขนาดใหญ่ มีสวนพักผ่อนบนดาดฟ้า กำหนดพื้นที่โล่งปราศจากเสาอยู่ภายในพื้นที่เพื่อเช่า เพื่อการตกแต่งและการใช้งานในพื้นที่ได้อย่างเต็มประสิทธิภาพ  นอกจากนั้นยังติดตั้งระบบลิฟต์แบบอัจฉริยะ มีระบบแสงไฟ และระบบทำความเย็นอัตโนมัติ  ทั้งหมดนี้ได้ถูกออกแบบมาเพื่อการประหยัดพลังงานโดยตรงและอย่างยั่งยืน




มีการจัดการพลังงานที่มีประสิทธิภาพทุกระบบ  ยกตัวอย่างวัสดุที่ใช้เป็นผนังกับโครงสร้างภายนอก ก็เป็นการใช้กระจกคุณภาพสูง ที่อนุรักษ์พลังงานคุณภาพชั้นยอด ที่นำเข้าจากสหรัฐอเมริกา (Insulated Laminated Low-E) ที่มีความหนาถึง 3 ชั้น เป็นกระจกนี้มีคุณสมบัติช่วยลดความร้อนและป้องกันรังสียูวีจากแสงแดดได้ดีแล้ว ยังมีฉนวนป้องกันเสียงจากภายนอกที่จะเข้ามารบกวน เพื่อให้เกิดบรรยากาศการทำงานที่เงียบไร้เสียงรบกวน เพื่อเป็นการยึดมั่นในคำสัญญา ในเรื่องนโยบายอนุรักษ์พลังงาน ที่เอไอเอ แคปปิตอล เซ็นเตอร์ ยึดถือเสมอมา  ขณะเดียวกัน เอไอเอ แคปปิตอล เซ็นเตอร์ ก็พร้อมมอบประโยชน์ให้กับชุมชนในพื้นที่ ด้วยการเปิดพื้นที่สีเขียวเหล่านี้ เป็นพื้นที่สาธารณะ ให้บุคคลทั่วไปสามารถเข้ามาทำกิจกรรม และพักผ่อนหย่อนใจ หรือจัดกิจกรรมพิเศษต่างๆ ได้

รูปทรง พื้นที่ใช้สอย และฮวงจุ้ย
ความคึกคักและไม่เคยหยุดนิ่งของย่านใจกลางเมือง คือ แรงบันดาลใจหลักของการออกแบบอาคาร เอไอเอ แคปปิตอล เซ็นเตอร์ โดยคำนึงถึงรูปทรงและทิศทางของแสง เพื่อสร้างสรรค์ตัวอาคารที่สื่อถึงความไม่หยุดนิ่ง ทำให้ผู้คนมีไฟและมีความกระตือรือร้นในการทำงาน พร้อมออกแบบในลักษณะสี่เหลี่ยมวางซ้อนกัน (Interlocking Cube) เพื่อสร้างลูกเล่นให้กับตัวอาคารอีกด้วย
            การที่  อาคาร เอไอเอ แคปปิตอล เซ็นเตอร์  ได้รับการรับรองว่าเป็นอาคารรักษ์สิ่งแวดล้อมตามมาตรฐาน LEED Gold ถือเป็นหัวใจสำคัญในการออกแบบ  ซึ่งปรัชญาสีเขียวนี้ ได้ถูกถ่ายทอดผ่านทุกองค์ประกอบของการออกแบบ และการก่อสร้างของอาคาร เพื่อให้สอดคล้องกับเจตนารมณ์ของการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมอย่างยั่งยืน
            การออกแบบอาคารและกำหนดให้มีพื้นที่เปิดโล่งนั้น สะท้อนถึงปรัชญาในการดำเนินงานขององค์กร รวมถึงทัศนคติขององค์กรที่มีต่อคนไทย และสิ่งแวดล้อม ด้วยการสร้างสรรค์พื้นที่สีเขียวขนาดใหญ่ด้านนอกเพื่อให้คนทั่วไปสามารถมาใช้ประโยชน์ได้  


            เนื่องจากอาคารของ เอ ไอเอ นั้นตั้งอยู่ ย่านความเจริยบนถนนรัชดาภิเษก เป็นย่านที่มีพลังงานชี่ (Chi) อยู่มาก (เห็นได้จากสถานเอกอัครราชทูตสาธารณรัฐประชาชนจีนเองก็เลือกทำเลที่ตั้งในย่านนี้) ปรมาจารย์ซินแสด้านฮวงจุ้ย จึงแนะนำให้ออกแบบรูปทรงอาคาร (ธาตุดิน) ให้เหมาะสมกับพลังงานที่เคลื่อนไหวทางทิศเหนือ โดยหันหน้าอาคารไปทางทิศตะวันออก (ธาตุไม้) และใช้กระจกเป็นวัสดุหลักของด้านหน้าตัวอาคาร (ธาตุทอง) รวมทั้งควรให้สีของด้านหน้าอาคารเป็นสีฟ้า (ความเกื้อหนุนกันระหว่างธาตุไม้และธาตุทอง) เนื่องจากทิศเหนือเป็นทิศที่เกื้อหนุนการค้าขาย เป็นเหตุผลส่วนหนึ่งของการเลือกตั้งอาคารพื้นที่ย่านนี้  นับว่าเป็นการนำภูมิปัญญาอันชาญฉลาดของโลกตะวันออกโบราณ มาประยุกต์ใช้กับการปรับภูมิทัศน์ที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมสมัยใหม่ ได้อย่างลงตัวทั้งทางจิตใจ ความเชื่อและทางด้านกายภาพ ได้อย่างลงตัว


------------------------------------------------------------------------------------------------------------