กฎหมายก่อสร้าง ตอนที่ 1
ตามกฎหมายการก่อสร้างอาคารจะต้องมีการควบคุมการก่อสร้าง
และการตรวจแบบก่อสร้างก่อนอนุญาตให้ก่อสร้าง โดยเจ้าพนักงานของรัฐตามกฎหมาย
ที่ได้กำหนดหน้าที่ไว้แล้ว ขั้นในการตรวจแบบก็เป็นการควบคุม ดูแลในการก่อสร้างตั้งแต่เริ่มต้น
โดยการควบคุมการก่อสร้างนั้น ผู้มีหน้าที่ในการควบคุมก็จะดูแลตั้งแต่การตรวจแบบว่าแบบที่นำเสนอมาถูกต้องตามกฎหมายหรือไม่
โดยความเป็นจริงแล้วเจ้าหน้าที่ผู้ทำการตรวจสอบอาคารจะต้องศึกษาข้อกฎหมาย ข้อมูล
และขั้นตอนต่างๆ โดยละเอียด ก่อนที่จะเข้ามาดูอย่างชัดเจนอยู่แล้ว เพราะฉะนั้นบุคคลที่เกี่ยวข้องในวงการของการก่อสร้าง
โดยเฉพาะผู้รับเหมารายใหญ่รายย่อยหรือ วิศวกร สถาปนิก ผู้ควบคุมงาน
ที่รับผิดชอบดูแลการก่อสร้างโดยตรง โดยเฉพาะภาคเอกชนก็จะต้องทำการศึกษาและก็ทำความเข้าใจในข้อกฎหมายในการก่อสร้าง
ถ้าผู้รับเหมาก่อสร้างหรือผู้ที่เกี่ยวข้องในการก่อสร้างไม่เข้าใจ ไม่วางระบบให้ถูกต้อง
การเขียนแบบให้ตรงไม่เป็นไปตามข้อกำหนดของกฎหมาย ย่อมเสี่ยงต่อการเกิดปัญหา
เรื่องการตรวจสอบ ผู้ตรวจสอบงานซึ่งเป็นเจ้าหน้าที่ของภาครัฐ
ถ้าพบความผิดปกติไม่ถูกต้อง ก็เกิดปัญหาต้องแก้แบบ หรือต้องมาซ่อมงานเพราะฉะนั้นต้นทุนตรงนี้จะต้องเกิดขึ้น เพื่อทำความเข้าใจให้กับผู้รับเหมาก่อสร้างและผู้ที่บริหารจัดการงานก่อสร้าง
ถ้าการทำงานเป็นไปตามระเบียบที่กำหนดไว้อย่างถูกต้องไว้แล้ว ก็ไม่น่าจะมีปัญหาอะไรพูดง่าย ๆ ว่าถ้ามันเกิดปัญหาขึ้นก็จะต้องมีการแก้ไข
แล้วแก้ไขนี้มันก็จะต้องมีต้นทุน นี้คือสิ่งที่ผู้ดำเนินการก่อสร้างก็จะต้องพิจารณา เพื่อความเข้าใจที่ถูกต้องในทางปฏิบัติ ให้เป็นไปตามกฎหมายควบคุมอาคาร
และนำไปปฏิบัติให้ถูกต้องตามกฎหมายที่ส่วนราชการได้กำหนดไว้
ก่อนที่จะทำการก่อสร้าง ต้องดำเนินการเขียนแบบ
ให้ถูกต้องถูกต้อง แล้วจะต้อง นำแบบก่อสร้างที่เขียนนั้น ไปขออนุญาตกับพนักงานเจ้าหน้าที่ตรวจแบบของภาครัฐ
ในขั้นตอนนี้จะต้องมีรายชื่อผู้ได้รับการแต่งตั้งให้เป็นผู้ควบคุมงานก่อสร้างนั้น
ต่อเจ้าพนักงานท้องถิ่น ในท้องถิ่นที่ควบคุมที่จะทำการก่อสร้าง นั้นด้วย เมื่อเจ้าหน้าที่ของภาครัฐตรวจสอบแล้ว
ว่าแบบนั้นถูกต้อง ก็จะอนุญาตให้ทำการก่อสร้างตามแบบได้ หลังจากนั้นผู้ได้รับอนุญาตการจะดำเนินการก่อสร้างได้ ในขั้นตอนก่อนที่จะลงมือก่อสร้างนั้น
ถ้าผู้รับเหมาก่อสร้างรายใด ยังไม่แจ้งรายชื่อผู้ควบคุมงานก่อสร้างให้เรียบร้อย
ต้องแจ้งรายชื่อนั้นต่อผู้อนุญาตก่อน
ถ้าไม่ดำเนินการให้ครบจะไม่สามารถดำเนินการก่อสร้าง เมื่อเรียบร้อยแล้ว
ซึ่งในขั้นตอนของการก่อสร้างนี้
ก็จะมีผู้ที่เกี่ยวข้องอันดับแรก คือผู้ควบคุมงานก่อสร้าง ซึ่งเรื่องนี้ก็อาจจะมีปัญหาในทางปฏิบัติงานในขณะทำการก่อสร้าง
ส่วนมากแล้วไม่ปรากฏว่ามีผู้ควบคุมอยู่ในไซต์งาน
ซึ่งเรื่องของผู้ควบคุมงานในขณะดำเนินงานก่อสร้างนี้ได้เขียนไว้ในกฎหมาย มาตรา 29 ของกฎหมายว่าด้วยการควบคุมงานก่อสร้าง
ซึ่งกฎหมายมาตรานี้ผู้รับเหมาก่อสร้าง และผู้ประกอบการงานก่อสร้างต้องทำความเข้าใจ
แล้วนำไปปฏิบัติอย่างเคร่งครัด เพราะถ้ามีเจ้าพนักงานผู้ตรวจสอบภาครัฐตรวจสอบพบความว่าการก่อสร้างไม่ตรงตามแบบ
และพบว่าไม่มีผู้ควบคุมงานอยู่บริเวณทำการก่อสร้าง อาจทำให้ผู้ตรวจสอบสั่งระงับการก่อสร้างนั้นได้
ในกรณีที่ ผู้ประกอบการจะต้องส่งรายชื่อผู้ควบคุมงานก่อสร้างนั้น ผู้ควบคุมนั้นจะต้องเป็นวิศวกรหรือสถาปนิก ที่มีใบประกอบวิชาชีพ เท่านั้น นอกจากนั้นในระหว่างการก่อสร้างก็มีกฎหมายได้กำหนดไว้ว่า แบบที่ได้รับการอนุญาตนั้น ได้กำหนดว่าอย่างไรผู้ดำเนินการก่อสร้างจะต้องปฏิบัติตามแบบนั้นอย่างเคร่งครัด ตรงตามที่ผู้ขออนุญาตได้แจ้งไว้ เรื่องนี้เขียนไว้อยู่ในมาตรา 31 ซึ่งในระหว่างก่อสร้างถ้ามีปัญหาอะไร เจ้าพนักงานผู้เข้ามาตรวจสอบจะอ้างอิงในกฎหมายก่อสร้างมาตรา 31 ซึ่งผู้ประกอบการก็สามารถเข้าไปศึกษา ทำความเข้าใจได้ เพื่อไม่ให้การทำงานจริงไม่ขัดกับข้อกำหนดในงานก่อสร้างได้เช่นกัน แต่ในทางปฏิบัติจริง ๆ บางครั้งผู้รับเหมาก่อสร้าง ก็ไม่สามารถปฏิบัติตามเงื่อนไขนั้นได้ ถ้าทำไม่ได้เรื่องใด หรือบางข้อนั้น กฎหมายก็อนุโลม ให้ผู้ประกอบการสามารถไปยื่นเอกสารหลักฐาน รายการที่เปลี่ยนแปลงได้อีกครั้ง กับเจ้าพนักงาน ข้อนี้ก็เขียนไว้ในมาตรา 31 เช่นกัน
ในกรณีที่ ผู้ประกอบการจะต้องส่งรายชื่อผู้ควบคุมงานก่อสร้างนั้น ผู้ควบคุมนั้นจะต้องเป็นวิศวกรหรือสถาปนิก ที่มีใบประกอบวิชาชีพ เท่านั้น นอกจากนั้นในระหว่างการก่อสร้างก็มีกฎหมายได้กำหนดไว้ว่า แบบที่ได้รับการอนุญาตนั้น ได้กำหนดว่าอย่างไรผู้ดำเนินการก่อสร้างจะต้องปฏิบัติตามแบบนั้นอย่างเคร่งครัด ตรงตามที่ผู้ขออนุญาตได้แจ้งไว้ เรื่องนี้เขียนไว้อยู่ในมาตรา 31 ซึ่งในระหว่างก่อสร้างถ้ามีปัญหาอะไร เจ้าพนักงานผู้เข้ามาตรวจสอบจะอ้างอิงในกฎหมายก่อสร้างมาตรา 31 ซึ่งผู้ประกอบการก็สามารถเข้าไปศึกษา ทำความเข้าใจได้ เพื่อไม่ให้การทำงานจริงไม่ขัดกับข้อกำหนดในงานก่อสร้างได้เช่นกัน แต่ในทางปฏิบัติจริง ๆ บางครั้งผู้รับเหมาก่อสร้าง ก็ไม่สามารถปฏิบัติตามเงื่อนไขนั้นได้ ถ้าทำไม่ได้เรื่องใด หรือบางข้อนั้น กฎหมายก็อนุโลม ให้ผู้ประกอบการสามารถไปยื่นเอกสารหลักฐาน รายการที่เปลี่ยนแปลงได้อีกครั้ง กับเจ้าพนักงาน ข้อนี้ก็เขียนไว้ในมาตรา 31 เช่นกัน
แต่ถ้ามีการแก้ไขรายละเอียดเล็กน้อยที่ไม่ส่งผลต่อความเสียหาย อย่างรุนแรง ก็ไม่จำเป็นจะต้องขออนุญาตเพิ่มก็ได้
เช่น กรณีที่แนวการวางผังอาคารในแบบสมมุติว่ายื่นขอไว้ประมาณ
2 เมตร แต่เวลาลงไปทำงานจริง
ๆ แล้ว อาจจะเคลื่อนไปเป็น 2.50 เมตร ลักษณะนี้ถือว่าผิดจากแบบไป
50 เซนติเมตร ก็ถือว่ากฎหมายก็ให้การอนุโลมได้
เรื่องนี้ก็ต้องไปศึกษาในกฎกระทรวงว่าด้วยการก่อสร้างข้อ 12 ว่ามีการอนุโลม มีการยืดหยุ่นได้มากน้อยแค่ไหน
โดยในกฎกระทรวงจะเขียนอธิบายไว้ว่าความคาดเคลื่อนสามารถคาดเคลื่อนได้ไม่เกิน 20% นั้นมีรายละเอียดอย่างไรบ้าง
แต่ถ้าก่อสร้างแล้วเกิดการคาดเคลื่อนผิดพลาดมากกว่านี้ ทางเจ้าของโครงการก็จะต้องทำการยื่นขออนุญาตการก่อสร้าง
ในลักษณะนี้จะต้องมีการยื่นแบบใหม่ก็ ยกตัวอย่าง เคลื่อนย้ายตำแหน่งบันได เคลื่อนย้ายตำแหน่งของห้องน้ำ เป็นต้น
ในลักษณะนี้การทำงานจริง ๆ แล้วต้องมีผู้ควบคุมงาน
แต่ถ้ามีการทำงานที่ผิดไปจากแบบต้องเป็นความรับผิดชอบของผู้ควบคุมงาน สมมุติว่าเจ้าพนักงานเจ้าหน้าที่เข้ามาตรวจสอบว่าอาคารหลังหนึ่งสร้างผิดไปจากแบบตามที่ได้ขออนุญาต
ผู้รับผิดชอบคนแรกคือผู้ควบคุมงาน ผู้รับเหมาจะต้องเข้ามาชี้แจงเหตุผลในการก่อสร้างผิดแบบนั้นก่อนเบื้องต้น
ถ้าผลปรากฏว่าผิดไปจากแบบอย่างชัดเจนก็จะเกี่ยวข้องกับใบอนุญาตของวิศวกร หรือใบอนุญาตการควบคุมงานของผู้ควบคุมงาน และมีผลถึงการสั่งระงับงานก่อสร้างนั้น
กฎหมายข้อนี้ตามมาตรา 31 พนักงานเจ้าหน้าที่ ที่รับได้รับมอบหมายให้เป็นผู้ตรวจสอบ สามารถเข้าไปตรวจสอบแบบก่อสร้าง และการดำเนินการก่อสร้างในขณะที่เจ้าของงานกำลังทำการก่อสร้างได้ ในกรณีนี้ถ้าผู้ตรวจสอบงานก่อสร้าง ยังไม่ได้เข้าไปตรวจสอบในงานก่อสร้างนั้น ขณะเดียวกันผู้ก่อสร้าง ได้ก่อเสา ก่ออาคารไปจนแข็งแรงแล้ว ทั้ง ๆ สร้างผิดแบบ ก็ดำเนินการก่อสร้างที่ไปเรื่อย ๆ จนเกิดปัญหา ส่งผลกระทบต่อสถานที่ข้างเคียง หรือชุมชน จนผู้เสียหานมีการฟ้องร้องกันเกิดขึ้น ลักษณะนี้ จะทำให้ดำเนินการแก้ไขตัวอาคาร ที่ทำการก่อสร้างไปแล้วยากขึ้น กรณีนี้ผู้รับเหมาก่อสร้างควรพิจารณา ถ้าเกิดการฟ้องร้องเรื่องการก่อสร้างที่ผิดแบบ แล้วไปกระทบกับบริเวณใกล้เคียง โดยเจ้าหน้าที่ยังไม่ได้เข้าไปตรวจสอบงานก่อสร้างนั้น นอกจากจะฟ้องร้องกับเจ้าของโครงการ ฟ้องผู้ควบคุมงานก่อสร้างแล้ว เจ้าพนักงานผู้ตรวจแบบและผู้อนุญาตให้ก่อสร้างนั้นอาจได้รับการฟ้องร้องด้วยเช่นกัน
กฎหมายข้อนี้ตามมาตรา 31 พนักงานเจ้าหน้าที่ ที่รับได้รับมอบหมายให้เป็นผู้ตรวจสอบ สามารถเข้าไปตรวจสอบแบบก่อสร้าง และการดำเนินการก่อสร้างในขณะที่เจ้าของงานกำลังทำการก่อสร้างได้ ในกรณีนี้ถ้าผู้ตรวจสอบงานก่อสร้าง ยังไม่ได้เข้าไปตรวจสอบในงานก่อสร้างนั้น ขณะเดียวกันผู้ก่อสร้าง ได้ก่อเสา ก่ออาคารไปจนแข็งแรงแล้ว ทั้ง ๆ สร้างผิดแบบ ก็ดำเนินการก่อสร้างที่ไปเรื่อย ๆ จนเกิดปัญหา ส่งผลกระทบต่อสถานที่ข้างเคียง หรือชุมชน จนผู้เสียหานมีการฟ้องร้องกันเกิดขึ้น ลักษณะนี้ จะทำให้ดำเนินการแก้ไขตัวอาคาร ที่ทำการก่อสร้างไปแล้วยากขึ้น กรณีนี้ผู้รับเหมาก่อสร้างควรพิจารณา ถ้าเกิดการฟ้องร้องเรื่องการก่อสร้างที่ผิดแบบ แล้วไปกระทบกับบริเวณใกล้เคียง โดยเจ้าหน้าที่ยังไม่ได้เข้าไปตรวจสอบงานก่อสร้างนั้น นอกจากจะฟ้องร้องกับเจ้าของโครงการ ฟ้องผู้ควบคุมงานก่อสร้างแล้ว เจ้าพนักงานผู้ตรวจแบบและผู้อนุญาตให้ก่อสร้างนั้นอาจได้รับการฟ้องร้องด้วยเช่นกัน
เพราะโดยหน้าที่ของผู้ตรวจสอบงานก่อสร้างของภาครัฐนั้น
จะต้องเข้าไปตรวจสอบในขณะก่อสร้างอาคาร
หรือสิ่งก่อสร้างที่ได้รับอนุญาตนั้นเป็นระยะ ๆ ถ้าผู้รับเหมาก่อสร้างสร้างผิดแบบจะได้ทราบ และทำการยับยั้งแก้ไขได้ทันที ในเรื่องนี้ยกตังอย่างทางกรุงเทพมหานคร ก็มีการออกระเบียบบังคับในเรื่องระหว่างการก่อสร้าง
ของสิ่งก่อสร้างไว้ว่าเป็นนายช่าง และนายตรวจควบคุมงานก่อสร้างนี้จะต้องออกตรวจงานระหว่างก่อสร้างทุก
15 วัน แล้วก็จะทำเรื่องรายงานผลผู้บังคับ
ต่อบัญชาว่าตรวจสอบแล้ว พบว่ามีรายละเอียดอะไรบ้าง ผู้รับเหมาก่อสร้างทำตามแบบหรือไม่
ถ้าผิดแบบมีลักษณะอย่างไรบ้าง และถ้าพบการก่อสร้างที่ไม่ตรงแบบผู้รับผิดชอบ
ได้ดำเนินการอย่างไร เป็นต้น
และเรื่องสำคัญในข้อกฎหมายอีกเรื่องที่มีความสำคัญที่ผู้ประกอบการงานก่อสร้าง ไม่ควรละเลยคือเรื่อง
ที่จะต้องมีผู้ควบคุมงานอยู่ในหน้างานก่อสร้างตลอดเวลา เพราะเจ้าพนักงานหรือเจ้าหน้าที่ของรัฐที่มีอำนาจ
สามารถเข้ามาตรวจสอบในหน้างานได้ตลอดเวลา ซึ่งการเข้ามาตรวจสอบขณะทำการก่อสร้าง อันดับแรกก็ต้องดูว่ามีผู้ควบคุมงานก่อสร้างหรือไม่ เพราะผู้ควบคุมงานก่อสร้างจะต้องอยู่ในไซต์งานตลอดเวลา
เรื่องได้กำหนดไว้ในกฎหมายว่าทุก 150 ตารางเมตรของการก่อสร้างจะต้องมี
ผู้ควบคุมงานก่อสร้าง หนึ่งคน คอยควบคุม อาจจะสถาปนิก วิศวกร หรือผู้ที่ได้รับมอบหมายหรือแต่งตั้งก็ได้
ซึ่งเรื่องนี้จะเข้าข่ายใบประกอบวิชาชีพ
โดยตรง ของวิศวกร และสถาปนิก จากการสอบถามผู้ที่เข้าไปตรวจงานก่อสร้างที่ผ่านมาพบว่า
ผู้ควบคุมงานก่อสร้างที่น่าเป็นห่วงคือ
สถาปนิก เพราะเวลาเข้าไปตรวจงาน
ผู้ควบคุมงานที่เป็นสถาปนิกมีแต่รายมือลงชื่อเป็นผู้ควบคุมงาน แต่ไม่เคยปรากฏตัว
อาจจะเป็นเพราะการสาขาอาชีพกำลังขาดแคลน
เรื่องนี้ก็ต้องแก้ไขในส่วนของผู้ที่เกี่ยวข้องต่อไป เมื่อเกิดปัญหาลักษณะนี้ขึ้นผู้ประกอบการงานก่อสร้างก็จะต้องดำเนินการแก้ไขด้วยตนเอง
เพื่อให้งานนั้นบรรลุเป้าหมายให้ได้
ในกรณีที่การก่อสร้างกลังดำเนินอยู่นั้น ผู้รับเหมาก่อสร้าง รวมทั้งทีมวิศวกร
ผู้ควบคุมงาน ก็ควรทราบว่า
นายช่างหรือผู้มีอำนาจในการตรวจสอบจะเข้ามาตรวจได้ตลอดเวลา ถ้าปรากฏมี ไมพบผู้ควบคุมงานในหน้างานก่อสร้าง
ตามกฎหมายถือว่าผิด
ผู้ตรวจสอบสามารถระงับการก่อสร้างได้ทันที โดยวิธีการเขียนรายงานเสนอ ตามขั้นตอนไปให้ผู้บังคับบัญชาที่มีอำนาจในการสั่งระงับ
เพื่อพิจารณาสั่งระงับการก่อสร้างนั้นได้ทันที
แต่ที่ทางปฏิบัติทั่วไปเรื่องของผู้ควบคุมงานก่อสร้าง ถ้าผู้ควบคุมงานก่อสร้างที่ได้รับอนุญาตโดยตรงไม่อยู่ในพื้น
ก็สามารถที่จะแต่งตั้งให้ผู้อื่นทำหน้าที่แทนตัวเองได้ แต่ต้องเข้ามาตรวจหรือควบคุมงานเองเป็นระยะระยะ
เพราะยังถือว่าไม่ได้ขาดความรับผิดชอบ
แม้จะแต่งตั้งผู้ดูแลแทนก็ตาม แต่ถ้าก่อสร้างผิดแบบของงานก่อสร้าง ก็ต้องยังรับผิดชอบโดยตรงเช่นเดิม
ซึ่งการแต่งตั้งผู้แทนลักษณะนี้ก็ ต้องเป็นลายลักษณ์อักษรที่ชัดเจน อาจจะเป็นโฟร์แมน
และหัวหน้างาน ก็ได้ เมื่อแต่งตั้งแล้ว ก็ไม่จำเป็นจะต้องดูที่หน้างานตลอดเวลาก็ได้
แต่จะต้องเข้ามาตรวจงานก่อสร้างเป็นช่วง
ๆ แต่ถ้าไม่เข้ามาเลยถือว่าผิดจรรยาบรรณในการประกอบวิชาชีพ
เพราะถ้าเกิดเหตุการณ์ เสียหาย ตึกถล่ม
อาคารทรุด เกิดขึ้นวิศวกรนั้น ก็ต้องมารับผิดชอบโดยตรง ไม่ใช่ผู้ได้รับแต่งตั้งเป็นคนรับผิดชอบ
ประการต่อมาที่ผู้ประกอบการรับเหมาก่อสร้าง
ควรทำความเข้าใจ คือสิ่งที่ผู้เข้ามาตรวจสอบอาคารขณะก่อสร้างนั้น จะตรวจเองความปลอดภัยในขณะทำงานก่อสร้าง เรื่องนี้ผู้ประกอบการจะต้องจัดหา เครื่องมือ
อุปกรณ์ และมาตรการป้องกัน
และให้ความรู้เกี่ยวกับการป้องกันความปลอดภัยในขณะที่คนงานกำลังทำงานก่อสร้าง โดยเฉพาะเรื่อง เศษวัสดุหล่น ฝุ่นละออง
อุปกรณ์ใช้งานที่อยู่ในสภาพดีพร้อมใช้งาน
ไม่ใช้อุปกรณ์ก่อสร้างที่ชำรุด หรือเสื่อมคุณภาพ ตลอดจนขณะก่อสร้างบริเวณข้างเคียง หมู่บ้าน
ชุมชนไม่ได้รับความเสียหาย หรือผลกระทบในทางรบกวนความสงบ
และเสี่ยงต่อการเกิดอันตราย และเกิดความเสียหายอื่น ๆ
บริเวณรอบข้างของโครงการหรือไม่ นี้คือความรับผิดชอบของผู้ดำเนินการก่อสร้าง
และทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้องกับงานก่อสร้างจำเป็นต้องศึกษาและทำความเข้าใจให้ชัดเจน
เพื่อนำไปประยุกต์ใช้งานในการบริหารจัดการงานก่อสร้างของกิจการของตน เพื่อไม่ให้ขัดกับข้อบังคับของกฎหมาย อีกทั้งยังจะได้ทราบว่าข้อไหนทำได้
ข้อไหนทำไปแล้วอาจเกิดปัญหา เพราะถ้าเกิดปัญหาก็ต้องเสียเวลากลับมาแก้ไขงานกันอีก
งานที่จะเดินหน้าก็ต้องมาหยุดชะงัก
ตรงนี้ปัญหาจะตามมามากมาย
ทั้งเรื่องแรงงาน และปัจจัยอื่นเกิดขึ้นตามมา ทำให้ต้นทุนเพิ่มขึ้นเรื่อย ๆ
กำไรก็ต้องลดลงเรื่อย ๆ เช่นกัน ซึ่งเรื่องนี้ผู้ประกอบการที่เก่ง ที่ชาญฉลาด ปรับตัวเก่ง
และเป็นมืออาชีพจะไม่ยอมให้ปัญหานี้เกิดขึ้นอย่างแน่นอน
--------------------------------------------------------